Tag Archive | เด็ก

อ๋อยจี้คุรุสภา-กคศ.ประเมินใหม่ผลสัมฤทธิ์ต่ำ

ที่มา  :  www.moe.go.th

โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2556 เรื่อง “การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ” และกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อนโยบายการพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555

กล่าวว่า การส่งเสริม สนับสนุน ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพครู เป็นบทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของคุรุสภาในฐานะสภาวิชาชีพครู ซึ่งงานในวันนี้เป็นงานที่คุรุสภาจัดขึ้น เพื่อเป็นกำลังใจแก่ครูที่มุ่งมั่น คิดค้น พัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมสถานศึกษา อันจะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาถึง 9 ปีแล้ว จึงเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ครูได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และการวิจัยและนวัตกรรมเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนการสอนที่สำคัญ

การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งเป็นหัวข้อใหญ่ของการประชุมทางวิชาการของคุรุสภาในปีนี้ เป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากเรายังต้องการการวิจัยและใช้ผลการวิจัยและการพัฒนามาเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา การจะวางนโยบายและแผนได้ดี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการวิจัยเป็นฐานรองรับ เพราะฉะนั้น การประชุมในหัวข้อดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ความตั้งใจที่จะสร้างฐานที่มั่นคงแข็งแรง และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำไปพัฒนาเพิ่มคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู

การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา จะต้องมีการพัฒนากันอีกมาก สิ่งที่ยังขาดอยู่ คือ องค์กรที่จะทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ได้มีนโยบายจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาจะมีองค์กรในลักษณะนี้อยู่ เพื่อจะได้รู้ว่าหลักสูตรที่กำหนดออกมาเป็นอย่างไร เด็กเรียนรู้ได้ดีไหม วิชาที่เรียนสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนหรือไม่ และวิธีการสอนของครูเป็นอย่างไร เป็นต้น จึงเป็นเรื่องดีที่คุรุสภามีการส่งเสริมให้เกิดการวิจัย

การพัฒนาวิชาชีพครู มิใช่ทำเพื่อความมั่นคงของอาชีพครูหรือเพื่อความก้าวหน้าของผู้ที่เป็นครูเท่านั้น แต่เป็นการจัดการศึกษาได้ดีขึ้น เพื่อทำให้เด็กมีการพัฒนาที่ดีและเพื่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นการพัฒนาวิชาชีพครู จึงต้องโยงกับการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งการยกระดับคุณภาพการศึกษา เริ่มจากการที่ประเทศกำลังต้องการการพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันที่กำลังผันผวนครั้งใหญ่จากวิกฤตของเศรษฐกิจโลกและการปรับตัวของประเทศต่างๆ ซึ่งถือเป็นความจำเป็นในการพัฒนาคน

ขณะเดียวกัน โลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการพัฒนาทุกด้าน รวมทั้งการพัฒนาคนและการเรียนการสอน ครูจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการปฏิรูปหรือยกระดับคุณภาพการศึกษา คุณลักษณะของคนอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจากที่ได้มีการหารือมาระยะหนึ่งแล้ว คือ ต้องการให้ผู้เรียนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้จักเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแก้ปัญหา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กไปสู่คุณลักษณะดังกล่าว การทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาต่างๆ ดีกว่าที่เป็นอยู่ โดยอาศัยการทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐานและเชื่อมโยงกับหลักสูตร ดังที่ได้มอบนโยบายไว้ว่า จะต้องปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนและให้เชื่อมโยงกับการทดสอบวัดผลประเมินผลอย่างเป็นระบบ ทั้งระบบเชื่อมโยงกัน ในการเรียนหลายระดับชั้นยังไม่มีการทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐาน ในวิชาภาษาไทย ก็ไม่มีการทดสอบวัดผลที่ถูกต้องตามหลักวิชาที่จะวัดสมรรถนะทางภาษาเหมือนอย่างที่ประเทศต่างๆ ใช้วัดสมรรถนะทางภาษา จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐานหรือการทดสอบกลาง

ในส่วนของการให้ผู้เรียนเรียนรู้ในยุค ICT ที่กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนในยุคนี้ก็ต้องเปลี่ยน เนื่องจากผู้เรียนสามารถหาความรู้ได้เองอย่างไม่จำกัด หากมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก ซึ่งต้องมาดูที่หลักสูตรว่าผู้เรียนควรรู้และเรียนอะไรบ้าง ขณะเดียวกันเมื่อผู้เรียนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้สะดวก การเรียนการสอนแบบเดิมจะไม่สอดคล้องกัน เพราะผู้เรียนอาจจะหาคำตอบจากคำถามของครูได้ แต่อาจจะไม่เข้าใจหรือคิดไม่ได้ว่าคำตอบที่ได้มาต้องการสื่อถึงอะไร การเรียนการสอนในโลกยุคอินเทอร์เน็ตจะต้องเปลี่ยนแปลง และมีวิธีการสอนอีกมากมายที่เกิดจากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือแอพลิเคชั่น ซึ่งก็ได้มีครูในโรงเรียนบางแห่งเริ่มใช้เพื่อพัฒนาในการเรียนการสอนแล้ว

แนวคิดอีกอย่างที่ได้มีการรวบรวมกันมา คือ การอบรมพัฒนาครูโดยอาศัย ICT ซึ่งต้องคำนึงว่าจะทำได้ผลมากแค่ไหน ต้องมีการช่วยกันคิด ครูสามารถเรียนรู้จากวีดิทัศน์ที่บันทึกไว้ใน YouTube หรือแอพลิเคชั่นบางอย่าง เมื่อมีใครต้องการจะศึกษาก็สามารถเข้าไปดูได้ หรืออาจจะทำเป็นระบบปิด เช่น ระบบที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ แยกเป็นรายวิชาเพื่อใช้สำหรับการเรียนวิชาต่างๆ นอกจากนี้ อาจจะจัดการเรียนแบบใหม่ เรียกว่า “Flip the Classroom”คือ การนำเรื่องที่เด็กต้องทำเป็นการบ้าน มาทำในห้องเรียน แล้วนำเรื่องที่เคยทำในห้องเรียนกลับไปทำที่บ้าน หมายความว่าให้เด็กไปดูวีดิทัศน์ อ่านหนังสือ หรือเข้าอินเทอร์เน็ต ดูเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่ได้มาจากบ้าน เมื่อถึงห้องเรียน ครูก็ตั้งคำถามและให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การเรียนการสอนดังกล่าว มีคนถ่ายวีดิทัศน์ แล้วนำลงอินเทอร์เน็ต อาจจะเชิญชวนครูให้มาดูพร้อมๆ กัน ดังนั้น การพัฒนาครูในเรื่องเทคนิคการเรียนการสอน หากใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย จะทำให้เราสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาครูเพื่อยกระดับการศึกษาของผู้เรียน จึงเป็นการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย

คุรุสภา ในฐานะสภาวิชาชีพ ก็ต้องดูแลรักษาคุณภาพมาตรฐาน จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู แต่ที่ต้องการจะฝาก คือ การพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษา สิ่งที่ต้องช่วยกันแก้ไข คือ จะทำอย่างไรให้การพัฒนาวิชาชีพครูมีการคำนึงเรื่องครูขาดแคลน ซึ่งได้มอบหมายให้ ก.ค.ศ.ไปดูว่าจะเกลี่ยอย่างไร ในเรื่องของการผลิตและการรับครู พร้อมทั้งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งต้องให้คุรุสภามีส่วนช่วยแก้ปัญหาด้วย นอกจากนี้การกำหนดกติกาในการพัฒนาวิชาชีพ หากเคร่งครัดเกินไป ก็จะกลายเป็นปิดกั้นโอกาสที่จะหาครูมาสอน เพราะในปัจจุบันครูอาชีวศึกษาขาดแคลนอย่างมาก ขณะนี้มีการจ้างครูอัตราจ้างมากกว่าครูที่เป็นข้าราชการ หากสถานศึกษาไม่สามารถจ้างวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญมาสอนได้ เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู หากผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่มีความรู้ทางด้านนั้นน้อยมาก ก็ไม่สามารถสอนคนให้เป็นช่างที่มีความสามารถได้ จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย

นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และจะมีผู้สนใจจะสอนภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่ระบบของอาชีพครูเป็นระบบปิด คือ มีการวางระบบเหมือนจะปกป้องอาชีพนี้ไม่ให้ผู้อื่นมาเป็นได้ง่าย เพื่อความมั่นคงของวิชาชีพ แต่กลายเป็นไปว่าเราต้องช่วยกันแก้ปัญหาให้ประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยต้องมีครูและเป็นครูด้านที่ขาดแคลน

ก.ค.ศ.กับคุรุสภามีหลักเกณฑ์ที่ลักลั่นกันอยู่ ก.ค.ศ.อนุญาตให้ทำได้ แต่ติดหลักเกณฑ์ของคุรุสภา ทำให้ไม่สามารถทำได้ หน่วยงานทั้งสองจึงจำเป็นจะต้องมีการพูดคุยกัน โดยเฉพาะการประเมินวิทยฐานะหรือการพัฒนาวิชาชีพที่โยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและโรงเรียน จากการสำรวจพบว่ามีความเชื่อมโยงกันน้อยมาก และพบว่า   ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาหลายแห่งมีความก้าวหน้าขึ้น   มีวิทยฐานะ เงินเดือน  รายได้สูงขึ้น  แต่ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษานั้นแย่มาก  จึงมอบหมายให้ ก.ค.ศ.และคุรุสภาช่วยกันคิดวิธีประเมินวิทยฐานะที่เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วย

รมว.ศธ.ย้ำว่า การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยเป็นหัวข้อที่ดี เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการร่วมกันคิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู โดยอาศัยการวิจัยต่างๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้ดี ก้าวหน้าและมั่นคงขึ้นไป อย่างน้อยแล้ว ต้องถือว่าจุดมุ่งหมายอันดับแรกในการพัฒนาวิชาชีพครู คือ เพื่อพัฒนาคน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และจะได้พัฒนากำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งจะเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูที่มีความหมายที่สุด

โอกาสนี้ รมว.ศธ.ได้มอบรางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา “ผลงานวิจัยระดับภูมิภาค” และชมนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการสารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติฯ, นิทรรศการผลงาน หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม จำนวน 80 ผลงาน, นิทรรศการผลงานวิจัยภาคแผ่นป้ายนิทรรศการ จำนวน 30 ผลงาน, ร้านค้าสวัสดิการคุรุสภา เป็นต้น

เด็ก “นอนดึก” เสี่ยงสมองทึบ!!

ที่มา  :  มติชนออนไลนวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 20:00:33 น.

ผลการวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า เด็กที่เข้านอนดึกหรือไม่ได้เข้านอนในเวลาที่สม่ำเสมอ จะส่งผลให้ความสามารถในการอ่านและการคิดคำนวณอยู่ในระดับต่ำหากเทียบกับเด็กที่เข้านอนเร็วและเข้านอนเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอทีมวิจัยนำโดยศาสตราจารย์อแมนดา แซกเกอร์ ทำการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารระบาดวิทยาและอนามัยชุมชน ทำการเก็บข้อมูลจากเด็กอายุ 7 ขวบ จำนวนมากกว่า 11,000 คน เพื่อศึกษาว่าการนอนหลับจะมีผลกระทบกับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ และพบว่าโดยภาพรวมเด็กที่ไม่เคยมีเวลาเข้านอนอย่างสม่ำเสมอ หรือไม่เคยเข้านอนก่อนเวลา 21.00 น. มีคะแนนในการทดสอบความสามารถในการอ่าน การคิดคำนวณ และความเข้าใจในมิติสัมพันธ์ที่ต่ำกว่าเด็กที่มีพฤติกรรมการเข้านอนเร็วกว่า 21.00 น. อย่างสม่ำเสมอ และผลดังกล่าวจะชัดเจนมากในเด็กผู้หญิงด้วยนางอแมนดาหัวหน้าทีมวิจัยระบุว่า การเข้านอนไม่เป็นเวลานั้นอาจเป็นผลสะท้อนมาจากสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่ยุ่งเหยิง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ส่งผลมากกว่าการนอนหลับที่ถูกรบกวน โดยจากกลุ่มตัวอย่าง เด็กที่เข้านอนดึกและไม่เป็นเวลานั้นมาจากข้อด้อยด้านพื้นฐานทางสังคม ได้อ่านหนังสือน้อยในแต่ละคืน และโดยทั่วไปมักจะใช้เวลาก่อนนอนไปกับการดูทีวีเสียเป็นส่วนใหญ่

หน้า 9 มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556

พงศ์เทพลดการบ้าน รร.ดังคุณภาพไม่หย่อน

ที่มา  :  สยามรัฐ    30/01/2013 – 18:07

k5

เมื่อวันที่ 30 ม.ค.56  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ  เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  มีนโยบายลดการบ้านนักเรียนทุกระดับชั้น เริ่มภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556  ว่า  เรื่องนี้ต้องมองภาพรวมเพราะนักเรียนแต่ละวัย แต่ละระดับชั้นไม่เหมือนกัน เช่น  ระดับประถมไม่ควรจะต้องมีการเรียนอะไรมากและไม่ควรมีการบ้านเยอะ แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่จะต้องทุ่มเทเพื่อการสอบเข้าเรียนต่อ จะมีความแตกต่างจากระดับอื่น  ดังนั้นจะลดการบ้านเหมือนกันทั้งหมดไม่ได้  นอกจากนี้ควรกำหนดว่า  ลักษณะของการบ้าน  เพราะบางอย่างเด็กไม่รู้สึกว่าเป็นการบ้าน เช่น ครูให้นักเรียนอ่านหนังสือสัปดาห์ละสองเล่ม  แบบนี้ถือเป็นการบ้านหรือไม่  จึงต้องแยกแยะให้ชัดเจน 

     นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า  สพฐ.ได้วิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อครูทั้ง 8 กลุ่มสาระให้การบ้านพร้อมกัน เด็กจะมีการบ้านมหาศาล   แต่หากครูมีการพูดคุยกันก่อนว่าภาคการศึกษานี้จะสอนเรื่องอะไรบ้าง  รวมถึงการบ้านที่ให้นักเรียนไปค้นคว้าจะมีกี่เรื่อง  ก็ทำให้ครูแต่ละกลุ่มสาระสามารถประเมินนักเรียนได้อย่างเพียงพอ  เช่น  การบ้านที่จะให้จาก 8 ส่วน  ต่อไปก็อาจลดเหลือ 3 ส่วน หรือ 4 ส่วน 

     “ผมเชื่อว่าเมื่อเปิดภาคการศึกษาที่ 1/2556 ในเดือน พ.ค.เด็กจะมีความสุขมากขึ้น ในแง่ทำการบ้านเท่าที่จำเป็น ไม่ซ้ำซ้อน เพราะครูแต่ละวิชาต้องมาคุยและวางแผนกันก่อนในการให้การบ้าน   ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการบูรณาการครบวงจรทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอน   ทั้งนี้   จุดสมดุลของการให้การบ้านจะอยู่ที่โรงเรียนเป็นผู้กำหนด สพฐ.ไม่ได้บอกว่าให้ลดเท่านั้นเท่านี้เพียงจะบอกแนวทางเพื่อเป็นนโยบายไว้ก่อน”เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

     ด้านนายปรเมษฐ์ โมลี ผอ.โรงเรียนเทพศิรินทร์ กล่าวว่า   การจะลดการบ้านนักเรียนต้องให้อิสระกับครูผู้สอนเป็นหลัก  เพราะครูผู้สอนจะรู้จักนักเรียนแต่ละคนดี  และอาจจะต้องมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การลดการบ้านลงไม่ได้หมายความว่าคุณภาพของผู้เรียนจะหย่อนลงไปด้วย

     นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์ ผอ.โรงเรียนสตรีวิทยา  กล่าวว่า  ที่ผ่านมาทางโรงเรียนเน้นย้ำกับครูมาตลอดว่า  จะต้องลดภาระงานของเด็ก และบูรณาการในแต่ละรายวิชาเข้าด้วยกัน  แต่อย่างไรก็ตาม  ส่วนตัวแล้วมองว่าการบ้านยังเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งบางวิชาจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะ และฝึกทำบ่อยๆ ดังนั้นครูก็ยังคงให้การบ้านได้ แต่ต้องไม่เป็นภาระมากเกินไป 

ครูเกือบ100%สอนวิชาเด็กขาดทักษะผู้นำ

ที่มา  :  สยามรัฐ  17  มกราคม 2556

t44

เปิด 6 อุปสรรคการทำงานครูไทย เมื่อการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ไม่เหมือนเดิม พบปัญหา  ครูถูกเบียดเวลาสอน   จำนวนครูไม่เพียงพอ  ขาดทักษะไอที  ขณะที่ปัจจัยส่งเสริมการทำงาน 39%  ต้องการยกระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศิษย์  พร้อมเสนอ 7 วิธีพัฒนาทักษะครูไทยสู่ศตวรรษที่ 21 “รู้จักตั้งคำถาม-สอนให้เด็กคิดเป็น”  

      ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ นักวิชาการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน กล่าวว่า  เนื่องในวันครูแห่งชาติ ปี 2556  สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ได้สำรวจความเห็นของครูสอนดี  จำนวน 210 คน  โดยกลุ่มตัวอย่างกระจายใน 4 ภูมิภาคของประเทศ  เพื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูและแนวทางการส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพบ  6  ปัญหาสำคัญที่กลายเป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครู ประกอบด้วย 

     1)   ภาระหนักนอกเหนือจากการสอน  22.93% 

     2)   จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ  18.57% 

     3)   ขาดทักษะด้านไอซีที  16.8% 

     4)   ครูรุ่นใหม่ขาดจิตวิญญาณ  ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว  16.49% 

     5)   ครูสอนหนัก ส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น  14.33% 

     6)   ขาดอิสระในการจัดการเรียนการสอน  10.88% 

     ดร.รุ่งนภา กล่าวว่า  สำหรับปัจจัยส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น  พบว่า

         การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  19.32%

         การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที  19%,

         การเพิ่มฝ่ายธุรการ  18.01%

         ปรับการประเมินวิทยฐานะ  17.12%

         การลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและการเรียนของเด็ก 13.42%

         การปลดล็อคโรงเรียนขนาดเล็ก  13.13%

         จะเห็นได้ว่า  ปัจจัยฉุดรั้งการทำงานของครูไทย  มีทั้งปัจจัยที่มาจากครูผู้สอน และปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบ   อย่างไรก็ตาม   ปัจจัยส่งเสริมที่ครูต้องการ  พบว่า   39% เป็นปัจจัยเพื่อการพัฒนากระบวนการสอน  เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  จึงสะท้อนให้ถึงจิตวิญญาณของความเป็นครู

     นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าวว่า การสอนของครูในปัจจุบันพบว่า ครูเกือบ 100% ยังถ่ายทอดความรู้แบบสอนวิชา ส่งผลให้เด็กมีคุณสมบัติที่น่ากลัวที่สุด คือ ขาดภาวะผู้นำ เด็กจะมีทักษะความเป็นผู้นำได้ก็ต่อเมื่อมีความมั่นใจในตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง วิธีการเรียนรู้ของเด็กในยุคใหม่จึงต้องเรียนโดยลงมือทำ ฝึกให้ปฏิบัติจริงและมีการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น แต่ไม่ควรปล่อยให้เด็กเรียนเอง ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก  สามารถประเมินลูกศิษย์แต่ละคนได้ว่ามีพื้นความรู้เพียงใด เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มเป็น

     ด้าน ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงบทบาทครูไทยยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ว่า ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความรู้ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนาทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนในยุคสมัยใหม่ ครูไทยจำนวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งนี้แนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะ 7 ด้าน ได้แก่ 

     1.ทักษะในการตั้งคำถาม เพื่อช่วยให้ศิษย์กำหนดรู้เป้าหมายและคิดได้ด้วยตนเอง

     2.ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ

     3.ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง

     4.ทักษะในการสร้างความรู้ ใช้เกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อทำให้ศิษย์เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง

     5.ทักษะให้ศิษย์คิดเป็น หรือตกผลึกทางความคิด

     6.ทักษะในการประยุกต์ใช้ และ

     7.ทักษะในการประเมินผล

ซึ่งครูยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะทั้ง 7 ด้านในการเป็นผู้อำนวยความรู้ให้เด็ก แทนที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน

โพลวันครูชี้นร.อยากครูดีใจดีมีเวลาตั้งใจสอน

ที่มา  :  มติชนออนไลน์   วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 22:27:49 น.

cosline1

เนื่องใน “วันครู” ที่กำลังจะมาถึง การให้ความสำคัญและระลึกถึงพระคุณครู ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นกำลังสำคัญต่อไปในอนาคต  อีกทั้งผู้ปกครองต่างก็ฝากความหวังและไว้วางใจครูในการอบรมสั่งสอนดูแลให้ลูกหลานเป็นคนดี “วิชาชีพครู” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ  เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นรับฟังเสียงสะท้อนของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อครู “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  จึงได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองทั่วประเทศ  จำนวน 2,259 คน (นร. 1,104 คน 48.87%  ผู้ปกครอง 1,155 51.13% คน) ระหว่างวันที่ 8-14 มกราคม 2556  สรุปผลดังนี้

 “ผู้ปกครอง”  มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?

1. “จุดเด่น/ข้อดี” ของ “ครู” ณ วันนี้

อันดับ 1 เป็นผู้ให้ความรู้ ให้การอบรมสั่งสอนที่ดีกับเด็ก /ช่วยดูแลเด็กแทนผู้ปกครอง 47.30%
อันดับ 2 มีทักษะความรู้มากขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน 28.91%
อันดับ 3 การแต่งกาย บุคลิกภาพดี /เป็นแบบอย่างที่ดี 23.79%

 2. “จุดด้อย/ข้อไม่ดี” ของ “ครู” ณ วันนี้
อันดับ 1 มีเวลาให้กับเด็กน้อย มีงานมาก /ทำให้สอนเด็กหรือดูแลเด็กได้ไม่เต็มที่  54.24%
อันดับ 2 การควบคุมอารมณ์ เมื่อโมโหมักจะทำโทษเด็กโดยไม่ฟังเหตุผล 24.53%
อันดับ 3 ความรัก ความทุ่มเทในวิชาชีพของครูในปัจจุบันมีน้อยลง ไม่เหมือนครูสมัยก่อน 21.23%

3. “ผู้ปกครอง” อยากได้ “ครู” แบบใด? มาสอนลูกหลานของท่าน

อันดับ 1 เก่ง มีความรู้ความสามารถ มีเทคนิคในการสอนที่ดี สอนเข้าใจง่าย 40.17%
อันดับ 2 มีเวลาให้กับเด็ก ให้ความรักดูแลเอาใจใส่และเข้าใจเด็ก /เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำที่ดี 31.02%
อันดับ 3 ใจดี มีกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 28.81%

4. สิ่งที่ “ผู้ปกครอง” อยากบอกกับ “ครู” ณ วันนี้ คือ

อันดับ 1 ครูคือบุคคลสำคัญ เป็นแม่พิมพ์ของชาติ เป็นผู้ที่เสียสละ อดทน 57.51%
อันดับ 2 อยากให้มีจิตวิญญาณในความเป็นครู เป็นครูที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก 21.65%
อันดับ 3 อยากขอบคุณ คุณครูทุกท่านที่เสียสละ ดูแลให้ความรักและอบรมสั่งสอนเด็กๆ 20.84%

“นักเรียน”  มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร? 

1. สิ่งที่ “นักเรียน” “ประทับใจ” “ครู” มากที่สุด คือ

อันดับ 1 ครูใจดี พูดเพราะ ให้ความรักความห่วงใย 69.36%
อันดับ 2 ครูจะคอยสอนคอยเตือน ดูแลอบรมให้เป็นคนดี  ให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือ 20.47%
อันดับ 3 ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครู เช่น เข้าค่าย แข่งกีฬา กีฬาสี ทัศนศึกษา ฯลฯ 10.17%

2. สิ่งที่ “นักเรียน” “อยากลืม” สิ่งที่ “ครู” เคยทำกับเรามากที่สุด คือ

อันดับ 1 ถูกทำโทษ โดยการดุด่า ว่ากล่าว ตี  /ให้การบ้านหรือให้งานมาทำเยอะๆ 70.08%
อันดับ 2 ไม่ยอมฟังเหตุผล ใช้แต่อารมณ์ ใช้คำพูดรุนแรง ฟังความข้างเดียว 18.55%
อันดับ 3 ไม่ยุติธรรมในการให้คะแนน/ให้เกรดวิชาเรียน 11.37%

3.  “นักเรียน” “ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?

อันดับ 1 ใจดี รักและเข้าใจเด็ก พูดคุยสนุกสนาน เป็นกันเอง 65.41%
อันดับ 2 เก่ง มีวิธีการสอนหรือเทคนิคในการสอนที่สนุก เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ 21.83%
อันดับ 3 มีบุคลิกภาพดี แต่งกายดี มารยาทดี  12.76%

4.  “นักเรียน” “ไม่ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?

อันดับ 1 ดุ โมโหง่าย ใช้ไม้เรียวทำโทษ /มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพกับเด็ก 61.73%
อันดับ 2 ไม่มีเวลาให้กับเด็ก ขาดสอนบ่อย ไม่สนใจเด็ก ปล่อยปละละเลยเด็ก  19.94%
อันดับ 3 ไม่รับฟังความคิดเห็นของเด็ก ไม่ยุติธรรม 18.33%

5. สิ่งที่ “นักเรียน” อยากฝากบอก “ครู” ณ วันนี้ คือ

อันดับ 1 อยากให้ครูเป็นครูที่ดี ใจดี /มีเวลา มีความทุ่มเทตั้งใจสอนเด็กอย่างเต็มที่ 56.94%
อันดับ 2 หนู /ผมจะเป็นเด็กดี ไม่ทำให้ครูผิดหวัง /รักครู ขอบคุณครูที่ให้การอบรมสั่งสอน 22.17%
อันดับ 3 อยากให้ครูเข้าใจเด็ก เข้าใจยุคสมัย สังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดกับความคิดแบบเดิมๆ 20.89%

 

กลอนวันเด็ก

v58

เด็ก

ที่มา  :  TLC กลอน

 …….วันเวลา เรียงร้อย สร้อยดอกฝัน

สิ่งละอัน พันละนิด คิดเติมต่อ

จากเศษ เสี้ยว ความฝัน หากหมั่นทอ

สู่สายสร้อย งามละออ ฝันเด็กไทย

…..เมื่อ ยามเด็ก ดุจผ้า ขาวสะอาด

ใช้ความฝัน มาวาด สร้างสิ่งใหม่

อนาคต ของชาติ วันต่อไป

ขอฝากใน มือน้อย ของพวกเธอ

เด็ก

เด็กคือผู้ สดใส วัยน่ารัก
ต้องรู้จัก รักดี ที่สร้างสรรค์
เคารพพ่อ บูชาแม่ ซึ่งสำคัญ
เชื่อฟังท่าน หมั่นทำดี เป็นศรีวงศ์

อีกครูบา อาจารย์ ท่านสั่งสอน
อย่านิ่งนอน จดจำไว้ อย่าได้หลง
สิ่งดีดี มีไว้ ให้มั่นคง
เด็กเด็กจง ปฏิบัติ อย่าขัดเลย

ความพากเพียร เรียนหนังสือ คือชีวิต
ขอจงคิด ถึงวันหน้า อย่านิ่งเฉย
ขยันเอา เข้าไว้ ไม่ยากเลย
ก.ไก่เอย ข.ไข่ เรียนให้ดี

ทำตามหลัก 10อย่าง ดังเคยรู้
ให้มันอยู่ เป็นนิสัย อย่าได้หนี
อนาคต สดใส ไม่รอรี
เป็นเด็กดี ของสังคม แสนร่มเย็น

เด็ก

วันเด็กแห่งชาติ ห้ามพลาด การเที่ยว

หนึ่งปีมีวันเดียว อยากจะเที่ยว ให้บอกมา

ผู้ใหญ่ให้ ความสำคัญ? ก็เพราะวันเด็กแหละหนา

เสาร์ที่ สองมกรา เด็กเฮฮา อยากมีหลายวั

เด็ก

กลอน1 กลอนเด็ก2 กลอนเด็ก5 กลอนวันเด็ก3 กลอนวันเด็ก4

เด็ก

ที่มา  :  Kapook.com 

สวัสดีในวันเด็ก 
เจ้าตัวเล็กแสนซุกซน
ไอแพดหนูไว้ค้น
หาเกมส์เล่นเป็นเพลิดเพลิน      
ขอขอบคุณ กลอนวันเด็ก จาก :  โดยคุณ แก้วประภัสสร

 เด็ก

เด็กโข่งไทยยุคใหม่
คือผู้ใหญ่ใหญ่แต่ตัว
กินข้าวทุกวันกลัว
ว่าจะแก่เพราะเกิดนาน
 
เด็กโข่งร่างกายยักษ์
ถือดีนักมานมนาน
ความคิดการจัดการ
จะคับแคบแบบเดิมเดิม
 
เด็กโข่งแสนยึดมั่น
ทุกวี่วันรั้นฮึกเหิม
ตนเองถูกประเดิม
ผู้อื่นผิดประดิษฐ์คำ
 
เด็กโข่งวางบทบาท
มักชี้ขาดอำนาจนำ
ข่มเหงรังแกทำ
กำลังกร่างวางกล้ามกู
 
เด็กโข่งใต้กะลา
คือคนบ้าล้าหลังดู
ผมหงอกกี่เส้นชู
ไม่ช่วยเสริมเติมปัญญา
 
ความเป็นผู้ใหญ่ต่ำ
เด็กโข่งย้ำอยู่ต่ำตา
ตำแหน่งยศศักดา
ก็ไม่ดึงให้สูงตาม
 
ในวันเด็กแห่งชาติ
เด็กฉลาดอย่าพลาดถาม
เด็กโข่งต้องนิยาม
ความนิยมคมคำขวัญ
 
เด็กโข่งลองทบทวน
นึกคิดหวนใคร่ครวญกัน
เด็กเอ่ย เด็กดีนั้น
หนูต้องทำตัวอย่างไร
 
เด็กโข่งต้องหัดคิด
รื้อถูกผิดตั้งจิตใจ
ภาวะต้องสมวัย
มีเมตตาภาษาธรรม
 
สิบข้อเด็กโข่งท่อง
ท่วงทำนองลองน้อมนำ
เมื่อเติบใหญ่ไปย้ำ
โปรดอย่าแก่เพราะเกิดนาน      
 ขอขอบคุณ กลอนวันเด็ก จาก  :  โดยคุณ เชษฐภัทร วิสัยจร

เด็ก

ที่มา  :  Sanook.com

เด็กคือผู้ สดใส วัยน่ารัก
ต้องรู้จัก รักดี ที่สร้างสรรค์
เคารพพ่อ บูชาแม่ ซึ่งสำคัญ
เชื่อฟังท่าน หมั่นทำดี เป็นศรีวงศ์

อีกครูบา อาจารย์ ท่านสั่งสอน
อย่านิ่งนอน จดจำไว้ อย่าได้หลง
สิ่งดีดี มีไว้ ให้มั่นคง
เด็กเด็กจง ปฏิบัติ อย่าขัดเลย

ความพากเพียร เรียนหนังสือ คือชีวิต
ขอจงคิด ถึงวันหน้า อย่านิ่งเฉย
ขยันเอา เข้าไว้ ไม่ยากเลย
ก.ไก่เอย ข.ไข่ เรียนให้ดี

ทำตามหลัก 10อย่าง ดังเคยรู้
ให้มันอยู่ เป็นนิสัย อย่าได้หนี
อนาคต สดใส ไม่รอรี
เป็นเด็กดี ของสังคม แสนร่มเย็น

เด็ก

เด็กเอ๋ยเด็กน้อย                           ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา 
เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา                     เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน 
ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน    จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล 
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน                       เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย ฯ

เด็ก

โพลเด็กอยากได้มือถือ-คอมพ์ของขวัญที่สุด

ที่มา  :   มติชนออนไลน์  วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:50:52 น.   ,

              คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 11-01-2556 

               เรียบเรียงโดย  Kapook.com  

โพลสำรวจความคิดเห็นเด็ก เผย เด็กอยากไ ด้ มือถือ-คอมพิวเตอร์  เป็นของขวัญวันเด็กมากสุด  ขณะที่ชื่นชอบคำขวัญวันเด็กปี 2516 เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ ของจอมพลถนอมมากสุด 

          วันที่ 10 มกราคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อาชีวะโพล ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กไทยที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,214 คน ระหว่างวันที่ 4-10 มกราคม 2556 ถึงประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของเด็ก ๆ ผู้ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติก่อนเข้าสู่วันเด็กแห่งชาติในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ โดยสรุปผลได้ดังต่อไปนี้
 1.  ของขวัญวันเด็กที่อยากได้ในปีนี้

           อันดับ 1 โทรศัพท์มือถือ /คอมพิวเตอร์ /เครื่องเล่นเกม แผ่นเกม 40.18 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 เงิน /ทุนการศึกษา 31.46 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 ของเล่น เลโก้ /หนังสืออ่านเล่น /เครื่องเขียน 28.36 เปอร์เซ็นต์

 2. เพลงที่ชอบ

           อันดับ 1 กังนัมสไตล์ 59.47 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 สไมล์ 20.61 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 เจ็บจุงเบย 19.92 เปอร์เซ็นต์

 3. ดาราชายที่ชอบ

           อันดับ 1 ณเดช คูกิมิยะ 61.07 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 หมาก ปริญ 20.19 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 บี้ เดอะสตาร์ 18.74 เปอร์เซ็นต์

 4. ดาราหญิงที่ชอบ

           อันดับ 1 ญาญ่า อุรัสยา 58.38 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 คิมเบอร์ลี 22.62 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 อั้ม พัชราภา 19.00 เปอร์เซ็นต์

 5. ผู้ใหญ่ใจดีที่ชอบ

           อันดับ 1 พ่อแม่ /ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว 72.44 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 คุณครู 19.91 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 นายกรัฐมนตรี 7.65 เปอร์เซ็นต์

 6. สิ่งที่เด็กอยากบอกกับพ่อ

           อันดับ 1 รักพ่อ /จะเป็นเด็กดีของพ่อ 63.80 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 ขอให้พ่อมีความสุข สุขภาพแข็งแรง /อย่าทำงานหนัก 25.78 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 อยากให้พ่อเลิกกินเหล้า เลิกสูบบุหรี่ 10.42 เปอร์เซ็นต์

 7. สิ่งที่เด็กอยากบอกกับแม่

           อันดับ 1 รักแม่ /ขอบคุณแม่ที่ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเรามา 64.59 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 จะเป็นเด็กดี ตั้งใจเรียน ไม่ดื้อไม่ซน 18.61 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 ขอให้แม่มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืน 16.80 เปอร์เซ็นต์

 8. สิ่งที่เด็กอยากบอกกับครู

           อันดับ 1 รักครูค่ะ/ครับ จะตั้งใจเรียนหนังสือ เชื่อฟังครู 40.30 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 อยากให้ครูเข้าใจเด็ก ไม่ดุ /ใจดี 33.21 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 ขอการบ้านน้อยๆ อย่าให้งานกลับมาบ้านเยอะ 26.49 เปอร์เซ็นต์

 9. สิ่งที่เด็กอยากบอกกับคนทำโทรทัศน์

           อันดับ 1 อยากให้ทำรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับเด็กเยอะ ๆ มีให้ดูทุกวัน 54.27 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 ทำรายการสนุก ๆ ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง 30.34 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 อยากให้มีการ์ตูนเยอะ ๆ 15.39 เปอร์เซ็นต์

 10. สิ่งที่เด็กอยากบอกกับนายกรัฐมนตรี

           อันดับ 1 อยากให้นายกฯ ให้ความสำคัญกับเด็กและการศึกษาไทย 48.16 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 2 ในวันเด็กอยากได้ของขวัญจากนายกฯ อยากเจอนายกฯ  26.77 เปอร์เซ็นต์
           อันดับ 3 ขอให้นายกฯสู้ๆ ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า 25.07 เปอร์เซ็นต์

          ขณะเดียวกัน ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  ก็ได้เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ  เรื่อง  “เด็ก ๆ ชื่นชอบคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรีคนใดมากที่สุด”  โดยนำคำขวัญวันเด็กตั้งแต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2499 จนถึงยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ในปี 2556 มาให้เลือก โดยไม่มีการระบุชื่อว่าเป็นคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรีท่านใด ศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนอายุ 10-15 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,368 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3–9 มกราคม 2556 ผลปรากฏว่า

 ร้อยละ 89.6 เลือกคำขวัญวันเด็กในปี 2516 ของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ระบุว่า “เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ”

 ร้อยละ 88.9 เลือกคำขวัญวันเด็กในปี 2556 ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ระบุว่า “รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน”

 ร้อยละ 88.0 เลือกคำขวัญวันเด็กในปี 2555 ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ระบุว่า“สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”

รองลงมาคำขวัญวันเด็กในปี 2539 ของนายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ว่า “มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด” และคำขวัญวันเด็กในปี 2520 ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่ระบุว่า “รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย” ตามลำดับ

เมื่อถามว่า รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้แก้ปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่องหรือไม่ พบว่า

 ร้อยละ 56.0 ระบุว่ารัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง และไม่ต่อเนื่อง
 ร้อยละ 44.0 ระบุว่ารัฐบาลได้แก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่องแล้ว

นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังได้ระบุสิ่งที่อยากขอจากผู้ใหญ่ในประเทศในโอกาสวันเด็กที่จะมาถึงนี้ ซึ่งตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า

 ร้อยละ 60.0 ระบุทำดีให้เด็กดูก่อน อย่าโทษแต่เด็ก
 ร้อยละ 57.9 ระบุขอให้ผู้ใหญ่มีความซื่อสัตย์ เลิกคดโกง
 ร้อยละ 56.2 ระบุช่วยกันพัฒนาประเทศ ไม่แบ่งฝ่าย ไม่แตกแยก
 ร้อยละ 56.0 ระบุช่วยกันทำให้สังคมไทยสงบสุข
 ร้อยละ 55.2 ขอให้รับฟังและเข้าใจเด็กมากขึ้น
 ร้อยละ 54.4 อยากให้ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน เลิกใช้ความรุนแรง

 ทั้งนี้ ดร.นพดล  ระบุด้วยว่า  สำหรับคำขวัญวันเด็กของจอมพลถนอม  ที่ได้รับความชื่นชอบมากที่สุด  เพราะมีความหมายลึกซึ้ง ทั้งความรู้ คุณธรรม และให้ความสำคัญต่อชาติมาเป็นอันดับแรก ซึ่งมักจะขาดไปในจิตใจของคนไทยจำนวนมาก ที่มักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ดังนั้น รัฐบาลน่าจะรณรงค์เข้มข้นและหามาตรการส่งเสริมพฤติกรรมของประชาชนว่า ถึงแม้ตัวเองและครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ แต่ประเทศชาติต้องมาก่อนชุมชนและองค์กรบริษัททั้งหลาย จึงเสนอให้รัฐบาลทำโครงการทำดีให้เด็กดู ทั้งระดับครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องซื่อสัตย์ต่อกันก่อนที่จะรณรงค์ให้ คนในชาติซื่อสัตย์สุจริต ผู้ใหญ่ในชุมชนและสังคมน่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองหันมาให้ความเมตตากรุณา รู้จักให้อภัยรู้จักยับยั้งชั่งใจ หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ที่รุนแรงต่อเด็ก ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และระดับชาติ

ครูระอาโทรศัพท์มือถือเด็กเล่นเพลง/เกม

ที่มา  :    ไทยรัฐ  วันที่ 11 มกราคม  2556

บรรดา​ครู​ใน​ประเทศ​อิสราเอล  บ่น​ว่า  เด็ก​นักเรียน​โรงเรียน​ระดับ​มัธยม  ต่าง​พา​กัน​พก​โทรศัพท์​มือ​ถือเข้าไป​เล่น​ส่ง​โซ​เ​ซี​ยลมีเดีย​ถึง​กันและกัน  หรือ​ไม่​ก็​ท่อง​เน็ต  ฟัง​เพลง  ถ่ายรูป  เล่น​เกม  หรือ​ไม่​ก็​ส่ง​ข้อความ​สั้น  กินเวลา​เกือบ​ร้อย​ละ 60 ของ​ชั่วโมง​การ​เรียน

นัก​วิจัย​มหาวิทยาลัย​ไฮฟา ซึ่ง​​พบ​ใน​การ​ศึกษา​กล่าว​ว่า  ไม่​ต้อง​สงสัย​เลย​ว่า  พฤติกรรม​เหล่า​นี้จะ​ต้อง​กระทบ​กับ​การ​ศึกษา​เล่าเรียน ซึ่ง​ทำให้​ครู​รู้สึก​อิดหนาระอาใจ​กัน​มาก

ทั้ง​ทาง​โรงเรียน​และ​ผู้​ปกครอง  ต่าง​ก็​กำลัง​พิจารณา​หา​ทาง​กัน​อยู่  ตั้งแต่​การ​จำกัด​เวลา​ให้​ใช้​โทรศัพท์  แต่​ก็​ยัง​เห็น​ว่า​ไม่​มี​วิธี​ที่​ดี​ที่สุด เพราะ​นักเรียน​วัยรุ่น​อาจจะ​ต่อต้าน  ซ้ำ​ยัง​เคย​พบ​มา​แล้ว​ว่า  ใน​ชั่วโมง​ที่​ครู​ผ่อนปรน  การ​ใช้​โทรศัพท์​มือ​ถือ​ใน​ห้อง​กลับ​น้อย​ลง 

แต่​ชั่วโมง​ที่​ครู​เข้มงวด​กลับ​หนักข้อ​ขึ้น  และ​เห็น​พ้อง​กัน​ว่า การ​บำบัด​ทาง​พฤติกรรม และ​วิธี​ทาง​จิตวิทยา จะ​ช่วย​แก้ไข​การ​หมกมุ่น​กับ​อินเตอร์เน็ต​ได้​ดี​กว่า.

 

 

ศธ.ทำพิจารณ์เลิกเกรียนเด็กดีใจทิ้งไดโนเสาร์

ที่มา  :  ไทยโพสต์  11 January 2556 – 00:00

 เลิกหัวเกรียนยังไม่มีผลทันที ศธ.เตรียมทำประชาพิจารณ์เพื่อยกร่างกฎกระทรวงใหม่ ชี้อาจเพิ่มเติมข้อกำหนดเรื่องสีผม นักเรียนดี๊ด๊า ปลดล็อกเรื่องทรงผมเสียที เชื่อไม่มีผลกระทบการเรียน

เด็กไทยว่าไง? เมื่อกฎเหล็ก หัวเกรียน-สั้นเสมอติ่งหู ปิดฉากลง

border_070

“พงศ์เทพ” ยันไม่ได้เอาใจเด็ก  ส่วนผู้บริหารโรงเรียน “อาจารย์สมพงษ์” เชียร์เต็มที่เลิกเสียทีกฎไดโนเสาร์ ผบ.นรด.ฮึ่ม นศ.วิชาทหารผมยังต้องสั้นเกรียนเหมือนเดิม  ด้านครูฝ่ายปกครองยกแม่น้ำทั้งห้า  อ้างจะทำให้นักเรียนขาดวินัยและควบคุมยาก ชี้กฎสั่งห้ามตีเด็ก ทำให้เด็กสมัยนี้ดื้อมาก
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เล็งทำหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนในสังกัด ประกาศยกเลิกทรงผมนักเรียนชาย-หญิง จากเดิมที่ตัดเกรียนและสั้นเสมอหู มาเป็นตัดรองทรงและให้เลือกผมสั่นหรือผมยาวได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2518 นั้น
วันที่ 10 มกราคม 2556  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ  เปิดเผยว่า  ขณะนี้เรื่องดังกล่าวกำลังอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขกฎกระทรวงอยู่  แต่ระหว่างนี้ต้องทำความเข้าใจกับบรรดาผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศว่า จะให้นักเรียนชายไว้ผมได้ยาวไม่เกินตีนผม ซึ่งไม่ใช่บังคับให้ไถข้างเกรียน  ส่วนนักเรียนหญิงจะกำหนดให้เป็นทางเลือกเหมือนกัน ว่า  จะให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้   แต่ถ้าไว้ผมยาวก็ต้องรวบให้เรียบร้อยตามกฎกระทรวง  อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังให้ทำหนังสือเวียนแจ้งโรงเรียนว่าให้ถือตามแนวทางนี้  ส่วนการแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนนั้น  ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการยกร่าง ซึ่งจะมีการเพิ่มเติมบางเรื่อง อย่างเรื่องการทำสีผมที่สมัยนั้นไม่มี  แต่สมัยนี้มี  ดังนั้นในกฎกระทรวงใหม่ที่ออกมาคงต้องมีการพูดเรื่องนี้ด้วย  ส่วนจะเป็นอย่างไรคงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นก่อน  อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าว  ไม่ได้เป็นการเอาใจนักเรียน แต่เป็นการดำเนินการตามที่ร้องเรียนมา
ด้านนายปรเมษฐ์ โมลี ผอ.โรงเรียนเทพศิรินทร์  กล่าวว่า  เห็นด้วยและขอชื่นชมนโยบายของนายพงศ์เทพ  เพราะถือเป็นการให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเด็ก  ซึ่งหลังจากนี้ทางโรงเรียนก็จะนำนโยบายนี้ไปเป็นแนวปฏิบัติทันที  อย่างไรก็ตาม เมื่อปล่อยให้เด็กเป็นอิสระในเรื่องทรงผมแล้ว  คิดว่า  เด็กคงไม่ทำผมทรงฮิปปี้  รุงรัง  ไม่เรียบร้อยอย่างแน่ เพราะเด็กทุกคนมีความรับผิดชอบ ซึ่งทางโรงเรียนก็มีการปลูกฝังในเรื่องความมีระเบียบวินัยอยู่แล้ว
น.ส.ชลดา สุขจิตต์มาลี นักเรียนชั้น ม.5  โรงเรียนสตรีวิทยา  กล่าวว่า  เห็นด้วยและดีใจที่จะได้ไว้ผมยาว  เพราะทุกวันนี้ถึงแม้ว่าจะอยู่ชั้นมัธยมปลาย  แต่โรงเรียนก็บังคับให้ไว้ผมสั้น  ขณะที่การปลดล็อกทรงผม  ทำให้ตนเองรู้สึกอิสระและดูแลตัวเองได้  โดยหลังจากนี้ตนก็จะไว้ผมยาว แต่ตนก็จะรวบผมให้เรียบร้อยตามระเบียบใหม่อย่างแน่นอน
ด.ช.เกียรติศักดิ์ ชูอินทร์ นักเรียนชั้น ม.1  โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์  กล่าวว่า  ตนเองและกลุ่มเพื่อนทราบข่าวดังกล่าวแล้ว ซึ่งทุกคนรู้สึกดีใจ  เพราะต่อไปจะไม่ต้องตัดผมสั้นเกรียนทุกเดือน  ซึ่งตัดมาตั้งแต่สมัยประถมศึกษา  แต่ทั้งนี้คิดว่าการจะไว้ผมสั่นหรือผมยาวนั้นคงไม่น่าเกี่ยวข้องกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนหรือความประพฤติของนักเรียนให้ดีขึ้นได้
ขณะที่ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ  อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า  เห็นด้วยกับการปลดล็อกกฎไดโนเสาร์ เพราะกฎเกณฑ์ที่ผ่านมามันขัดกับวิถีชีวิตวัยรุ่นในปัจจุบัน และเป็นการจำกัดเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กรู้สึกต่อต้าน ซึ่งการปลดล็อกทรงผมในครั้งนี้จะทำให้เด็กมีอิสระในชีวิตมากขึ้ น ไม่อยู่ในกรอบที่ตึงเกินไป  แต่ทั้งนี้ โรงเรียนเองก็ควรส่งเสริมให้เด็กมีวินัย รู้จักดูแล ควบคุมตนเอง ตลอดจนใช้วิจารณญานด้วยว่าการเข้าไปอยู่ในโรงเรียนควรจะมีทรงผมแบบใด ไม่ใช่ทำทรงผมแบบแฟชั่นมาเลยก็จะไม่เหมาะสม
พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ  ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) กล่าวว่า  ทางหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนยืนยันจะไม่มีการปรับกฎระเบียบตาม ศธ.แต่อย่างใด เนื่องจากกฎระเบียบที่ยึดใช้ปัจจุบัน ที่กำหนดตัดผมสั้นเกรียน หรือรองทรงสูง เป็นการฝึกระเบียบวินัยให้กับนักศึกษาวิชาทหาร  ดังนั้น  ทุกคนที่สมัครเข้าเรียนต้องอยู่ในกฎระเบียบของทหาร ขณะเดียวกันทหารในทุกประเทศก็ไม่มีการอนุญาตให้ไว้ผมยาวอยู่แล้ว  ดังนั้นส่วนตัวคิดว่า  เรื่องดังกล่าวไม่น่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด
ด้านนายอลงกรณ์ นิยะกิจ  รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครองโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์  และในฐานะหนึ่งในคณะทำงานพิจารณาข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแบบทรงผมของนักเรียนนักศึกษา  กล่าวว่า  ตนเห็นด้วยกับการรับฟังความคิดเห็น หรือทำประชาพิจารณ์ก่อนทำกฎกระทรวงดังกล่าว  ขณะที่การทำประชาพิจารณ์ต้องสอบถามให้ครบคนทุกกลุ่ม  ได้แก่  ประชาชนทั่วไป นักเรียน ผู้ปกครอง และครู ซึ่งจะชัดเจนว่าคนทุกกลุ่มต้องการเห็นนักเรียนในรูปแบบใด   ทั้งนี้  สำหรับเรื่องการควบคุมทรงผมและเครื่องแบบการแต่งกายนักเรียนนักศึกษา  ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะแยกแยะระหว่างนักเรียนกับประชาชนทั่วไปได้  ขณะเดียวกันจะทำให้นักเรียนอยู่ในกฎระเบียบและควบคุมได้ง่ายขึ้น
ครูฝ่ายปกครองกล่าวอีกว่า  ส่วนตัวคิดว่า  กฎระเบียบที่ยึดใช้ดีอยู่แล้ว  เพราะสามารถควบคุมนักเรียนได้ง่าย  หรือหากจะมีการปรับก็อยากให้ปรับแก้บางรายละเอียดให้สอดคล้องกับสภาวะสังคมก็พอ  ทั้งนี้  หากเรายังเข้มข้นในกฎระเบียบอยู่ นักเรียนก็จะมีวินัย ทำให้ครูสามารถควบคุมดูแลได้ แต่หากผ่อนคลายกฎระเบียบมากเกินไป  นักเรียนก็จะขาดวินัย  ขณะที่ครูก็จะควบคุมได้ยาก และยิ่งมีเรื่องการห้ามตีนักเรียนอีก  ยิ่งทำให้ในอนาคตต่อไปครูไม่กล้าสั่งสอนนักเรียนได้  ดังนั้นเรื่องสิทธิและหน้าที่ต้องแยกแยะให้ชัดเจน ซึ่งนักเรียนมีหน้าเรียนก็ต้องตั้งใจเรียน ส่วนสิทธิคงเป็นเรื่องสำคัญรองลงมา
“เคยมีกรณีก่อนหน้าที่นักเรียนหญิงถูกฉุดไปข่มขืน  แต่ด้วยมีเครื่องแบบนักเรียนและทรงผมปรากฏชัด  ทำให้โจรชะงักและเปลี่ยนใจไป  เนื่องจากโทษที่กระทำต่อเด็กและเยาวชนจะร้ายแรงกว่าคนทั่วไป  ดังนั้นต่อไปหากมีการผ่อนคลายเรื่องทรงผมหรือเครื่องแบบนักเรียน  ก็อาจทำให้แยกแยะได้ยาก  ซึ่งเรื่องนี้ควรต้องตระหนัก อย่างไรก็ตาม  ผมเป็นครูฝ่ายปกครองมา 30 ปี  พบว่าระยะหลังๆ ตั้งแต่มีการห้ามลงโทษนักเรียนด้วยการตี  นักเรียนปัจจุบันดื้อและควบคุมได้ยากขึ้น  แต่จริงๆ แล้วในมุมมองครู  การลงโทษเป็นการสั่งสอนที่ดีเพื่อให้นักเรียนหลาบจำ ซึ่งเกิดจากความหวังดี ไม่ใช่อคติ” นายอลงกรณ์กล่าว
ครูฝ่ายปกครองกล่าวต่อว่า  เรื่องดังกล่าวเกิดจากเกิดจากนักเรียนเพียงคนเดียว จากกรณีปัญหาของโรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงเรียนหญิงล้วน  แต่เมื่อปรับเปลี่ยนมารับนักเรียนชายด้วย  ปรากฏว่านักเรียนชายกลับไว้ผมยาวตามนักเรียนหญิง จึงถูกครูตัดผม  ซึ่งนักเรียนชายดังกล่าวไม่พอใจ  จึงส่งเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ     ขณะที่คณะกรรมการสิทธิฯ ได้พิจารณาแล้วว่า  อำนาจการกำหนดทรงผมอยู่ที่โรงเรียน  แต่นักเรียนดังกล่าวยังได้ร้องเรียนต่อไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องจึงมาถึง ศธ.  ดังนั้นอยากให้พิจารณาในภาพรวมด้วยว่า  เรื่องดังกล่าวเกิดจากความต้องการของนักเรียนไม่กี่คน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างนักเรียนบางกลุ่มกับครูฝ่ายปกครอง ในการต่อรองไว้ผมยาวตามคำให้สัมภาษณ์ของ รมว.ศึกษาธิการที่พูดไปแล้ว
  นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กล่าวต่อว่า  สำหรับเรื่องทรงผมนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาคงไม่มีปัญหาอะไร   เพราะที่ผ่านมา สอศ.ก็ผ่อนปรนเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว  และเพื่อให้เป็นไปตามธรรมชาติของสาขาที่เรียน  อาทิ  นักเรียนที่เรียนสาขาช่างมักจะตัดผมสั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติงานกับเครื่องจักร  ส่วนสาขาศิลปะผ่อนปรนให้นักเรียนชายไว้ผมยาวหน่อยได้  ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละวิทยาลัย ดังนั้นการยึดกฎกระทรวงใหม่ดังกล่าวไม่น่ามีปัญหา.

 

สอบNTทุกชั้นเพิ่มภาระผลักเด็กกวดวิชา

ที่มา  :  ASTVผู้จัดการออนไลน์  วันที่  18 ตุลาคม 2555 เวลา  17:15 น.

นายชินภัทร ภูมิรัตน

       สพฐ.ระดมความเห็นสอบ NT ทุกชั้นปี หวั่นนโยบายนี้เพิ่มภาระการสอบให้เด็กกดดันเด็กสู่ ร.ร.กวดวิชามากขึ้น “ชินภัทร” เผยหาจุดลงตัวเพื่อไม่ให้เด็กต้องกดดันจากการสอบ ผุดไอเดียพยายามทำให้ข้อสอบปลายภาคและข้อสอบ NT เป็นฉบับเดียวกัน

       วันนี้ (18 ต.ค.) ที่โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดเสนาแนวทางการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT) เพื่อเชิญผู้เกี่ยวข้องมาสะท้อนความเห็นกรณีที่ สพฐ.เตรียมให้นักเรียน ป.1 ถึง ป.5 และ ม.1-2 ในสังกัดทุกคน เข้าสอบ NT เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเบื้องต้นกำหนดกรอบไว้ว่า ระดับประถมศึกษาต้น จะประเมินใน 3 ด้าน คือ 1.การอ่านออกเขียนได้ 2.การคิดเลข และ 3.ความสามารถด้านการคิดและการให้เหตุผล ส่วน ป.4 และ ป.5 สอบ 5 วิชา คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ ส่วน ม.1 และ ม.2 สอบ 8 สาระวิชา คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ การงานพื้นฐานะอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา และ วิชาศิลปะ

       นายสุรัช ดวงชาทม ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต 1 กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายของ สพฐ.ที่จะให้มีการสอบ NT ทุกชั้นปี เพราะจะได้รับรู้ถึงผลการพัฒนาผู้เรียนได้ทันท่วงที หากไปรอการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET ) ตอน ป.6 ม.3 และ ม.6 อาจช้าเกินไป ทำให้เสียโอกาส เสียเวลาในการพัฒนาผู้เรียน อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะต้องพิจารณาให้รอบครอบถึงวิธีการจัดสอบและผู้คุมสอบ ทั้งนี้ เพราะ สพฐ.วางแผนนำผลการสอบ NT มาเชื่อมโยงกับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะครู และผู้บริหารสถานศึกษา ตรงนี้อาจทำให้การคุมสอบเกิดความไม่ตรงไปตรงมา ลำเอียง เพราะฉะนั้น ต้องวางระบบการจัดสอบให้ดี และคิดให้รอบคอบ ว่า ใครจะเป็นผู้คุมสอบ

       “ที่สำคัญ จะต้องสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนตั้งใจสอบด้วย มิฉะนั้น ผลทดสอบ NT ที่ได้ จะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาผู้เรียนได้จริง อย่างกรณีที่คะแนนสอบ O-Net ต่ำมาตลอด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประเมินดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ถูกประเมินยกเว้น นร.ม.6 ที่ต้องนำคะแนน O-NET ไปใช้ในการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ส่งผลให้เด็กไม่ตั้งใจทำข้อสอบ แม้แต่ลูก ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ยังต้องขอร้องให้มาสอบ แต่ในอนาคตคะแนนคะ O-Net จะดีขึ้น เพราะสพฐ.มีนโยบายให้นำผลการสอบ O-Net มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินจบช่วงชั้น และใช้ในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ เพราะฉะนั้น สพฐ.ต้องมองในภาพเพื่อให้การประเมิน NT นั้น ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน ถ้าผลการสอบ NT ที่ออกมา นำสู่การปรับหลักสูตรและการปรับการเรียนการสอน การสอนของครู ก็จะต้องดำเนินการตามความจำเป็นนั้นๆ” นายสุรัช กล่าว

       

       นางอุดมลักษณ์ กูลศรีโรจน์ ครูภาษาอังกฤษชั้น ม.6 ของ ร.ร.สาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นครู ม.6 ได้เห็นว่า นักเรียนไทยรับภาระการสอบมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอยากให้การสอบ NT ประเมินในสิ่งที่จำเป็นที่สุด มิฉะนั้นแล้ว การสอบที่มากเกินไปจะนำเด็กไปสู่การติว ไม่สนใจการเรียนในห้องเรียน สำหรับนักเรียนชั้น ป.1-ป.3 นั้น เห็นด้วยที่จะไม่ประเมินเป็นรายวิชา เพราะอาจเกิดความผิดพลาด ออกข้อสอบไม่ตรงเป้าได้ เช่น ข้อสอบวิชาภาษาไทย อาจไปออกเรื่องวรรณคดี ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินอ่านออกเขียนได้ ส่วนการประเมินช่วงชั้นอื่นๆ ซึ่งต้องสอบถึง 5 วิชา และ 8 วิชานั้น อาจมากเกินไปที่จะให้เด็กสอบ 5 วิชาทุกชั้นปีแล้วก็ต้องไปสอบ O-Net อีก 5 วิชาอีก เพราะฉะนั้น น่าจะมีเฉลี่ยสอบเพื่อไม่ให้เด็กสอบมากเกินไป มิฉะนั้น แล้วจะทำให้เด็กกดดัน 

       

       ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ยังไม่สรุปแน่นอนลงไปว่าแต่ละระดับชั้นจะสอบ NT ในวิชาใดบ้าง ส่วนที่มีความกังวลว่า การสอบ NT ทุกชั้นปี จะทำให้เด็กกดดันนั้น สพฐ.พยายามจุดที่ลงตัวอยู่ เพื่อไม่ให้เด็กมีความเครียดเกินไป แนวทางหนึ่ง สพฐ.พยายามทำให้ข้อสอบปลายภาค และข้อสอบ NT เป็นข้อสอบเดียวกัน เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึก ว่า ต้องรับภาระการสอบเพิ่มขึ้น แต่แนวคิดนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้

ใช้ศิลปะเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กลดปัญหา

ที่มา  :  เดลินิวส์  วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2555 เวลา 14:55 น.

วันนี้ (15 ต.ค.) นายชาย นครชัย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ตนได้หารือกับสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแก่เด็กและเยาวชน เนื่องจากในปี 2556 สศร.มีนโยบายเน้นส่งเสริมความรู้แก่เด็กและเยาวชน ตามนโยบายของนางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม และรัฐบาล ทางสมาคมฯเห็นว่าเป็นสิ่งดีที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กที่สนใจงานด้านนี้ ได้ต่อยอดพัฒนาตนเองในการเป็นศิลปิน หรือผลิตผลงานออกไปแข่งขันในระดับนานาชาติ ที่สำคัญจะเป็นการปูพื้นฐานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของงานศิลปะเพิ่มมากขึ้นด้วย

นายชาย กล่าวต่อว่า สศร.ได้เสนอแนะทางสมาคมฯว่า ให้แต่ละโรงเรียนดูความถนัดว่าจะส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแนวไหน อาทิ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ วิจิตรศิลป์ เพื่อที่ทางสศร.จะได้จัดกิจกรรมไปให้เหมาะสมกับพื้นที่และแต่ละโรงเรียน โดยสศร.จะกำหนดกิจกรรมไว้ให้เบื้องต้น 20 กิจกรรม ทางโรงเรียนเป็นผู้เลือกกิจกรรมตามความเหมาะสม สศร.จะนำศิลปินศิลปาธร หรือนักเรียน นักศึกษาที่ผ่านการอบรมค่ายทัศนศิลป์ หรือค่ายต่างๆที่สศร.จัดขึ้น ไปร่วมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนตามภูมิต่างๆอีกด้วย

นอกจากนี้สศร.จะขยายเครือข่ายโรงเรียน ภาคเอกชน อาทิ ในระดับมัธยาศึกษา และอุดมศึกษา ที่สนใจส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ให้เด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

“แม้ว่าเราจะได้งบประมาณมาจัดโครงการนี้ เพียงประมาณ 5 ล้านบาท แต่เราก็นำร่องจัดไปแล้ว 3 แห่งในกรุงเทพฯ และจะเริ่มทั่วประเทศตั้งแต่เดือนนี้ ที่แรกในปีงบประมาณนี้จะจัดที่หัวหิน อาจจะเป็นที่โรงเรียนวังไกลกังวล และเครือข่ายโรงเรียนใกล้เคียง สศร.จะทำให้สำนักงบประมาณเห็นว่า งานศิลปะ ทำให้เด็กและเยาวชน เปลี่ยนพฤติกรรมได้ ลดปัญหาสังคมได้ด้วย ที่สำคัญหากเขาได้รับการพัฒนาต่อยอดที่ตรงศักยภาพจะทำให้เด็กและเยาวชนสร้างผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้ สร้างรายได้ให้คนกลุ่มนี้อย่างมหาศาล และอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจงานที่ส่งเสริมด้านจิตใจจะไม่เห็นวันเห็นผลในวันเดียว ต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร หากเราไม่ทำต่อไป คนไทยในอนาคตก็จะไม่รู้จักงานศิลปะ ไม่รู้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรม”ผอ.สศร.กล่าว.

สทศ.รับแกตแพตผิดยกประโยชน์นร.

รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากที่สทศ. จัดทดสอบความถนัดทั่วไป หรือแกต และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือแพต ครั้งที่ 1/256 วันที่ 6-9  ต.ค.นี้   ในภาพรวมการจัดสอบ  3 วันที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่ได้รับรายงานการทุจริต เนื่องจากมีนักเรียนเข้าสอบจำนวนมาก ส่วนเรื่องพายุแกมีที่เข้าประเทศไทยตนได้โทรสอบถามไปยังศูนย์สอบต่าง ๆแล้วทราบว่าพายุแกมีไม่ได้มีผลกระทบกับการมาสอบของนักเรียน เพราะนักเรียนส่วนใหญ่เดินทางมาสอบตามปกติ และเบื้องต้นทราบว่าจำนวนนักเรียนที่ขาดสอบมีเพียง 6% จากผู้เข้าสอบทั้งหมด ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
 

ต่อข้อถามมีนักเรียนจำนวนมากโพสต์ข้อความผ่านทางเว็บไซต์ว่าข้อสอบแพต2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ และแพต 5 ความถนัดวิทางชาชีพครู  มีปัญหา เนื่องจากคำถามไม่ชัดเจน บางข้อไม่มีคำตอบ และเห็นว่าสทศ.จะต้องให้คะแนนฟรีแน่นอน  รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวว่า ตนยอมรับว่าข้อสอบแกตและแพต ค่อนข้างยากเพราะเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกคน ดังนั้นจะต้องคัดเด็กให้ได้ตรงตามความสามารถจริง ๆ และหลังจากสอบเสร็จทุกวิชาสทศ.จะนำข้อสอบที่เห็นว่ามีปัญหาส่งให้คณะกรรมการออกข้อสอบแต่ละวิชาไปวิเคราะห์หาค่าความยากง่ายของข้อสอบอีกครั้ง และดูว่ามีปัญหาจริงอย่างที่นักเรียนกล่าวหรือไม่  ทั้งนี้ในการดำเนินการสอบนั้นสทศ.จะยึดหลักการทางวิชาการ ความเป็นธรรมและประโยชน์กับนักเรียนมาทกี่สุด ดังนั้นหากพบว่าข้อสอบผิดพลาดจริงต้องยกประโยชน์ให้กับนักเรียนไป

ละครเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กไม่เคารพครู

ที่มา : เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม 2555 เวลา 10:08 น.

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. นายพฤหัส พหลกุลบุตร หัวหน้าโครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง กลุ่มมะขามป้อม มูลนิธิสื่อชาวบ้าน กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 นี้ โครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  จะเน้นกิจกรรมส่งเสริมความรู้ของครูทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เกี่ยวกับการใช้ละครเป็นสื่อการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครู อาจารย์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมให้ครูลดบทบาทจากการเป็นผู้ออกคำสั่ง หรือลงโทษมาเป็นผู้แนะแนวทางแทน เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาเด็กไม่เคารพ ไม่ฟังและไม่กล้าที่จะปรึกษาครู ส่วนหนึ่งมาจากเด็กมองว่าครูเป็นผู้ออกคำสั่ง ทำให้เด็กไม่กล้าคิด หรือแสดงความเห็น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างครูกับนักเรียนได้

นายพฤหัส กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมอีกส่วนจะเน้นการพัฒนาเครือข่ายผู้นำกิจกรรมในแต่ละภูมิภาคเพื่อให้เป็นแกนหลักขับเคลื่อนกิจกรรมในการใช้ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน และสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สำคัญกลุ่มมะขามป้อมและสสส. ยังเร่งผลักดันแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมละครฯ เช่น การใช้ชีวิตในโลกโซเชียลมีเดียปัญหาสื่อลามก ปัญหายาเสพติด ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม เพราะในอนาคตสังคมจะมากด้วยข้อมูล การเติบโตของเยาวชนต้องมีทักษะในการคิด ตัดสินใจ และต้องรู้จักเลือกรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง ดังนั้น บทบาทของครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันโลกทันเด็ก เพื่อทำหน้าที่ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้เท่าทันสังคมและสื่อต่างๆด้วย

“ช่วงที่ผ่านมาโครงการฯได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ความสำคัญกับเครือข่ายท้องถิ่นและร่วมพัฒนาครูให้กลายเป็นที่ปรึกษาของเด็กและเยาวชน เพื่อลดปัญหาสังคม โดยในเร็วๆนี้ ทางโครงการฯก็จะมีกิจกรรมใหญ่ๆอีกหลายงาน อาทิ กิจกรรมการอบรมครูที่มีอยู่ต่อเนื่องในแต่ละภูมิภาค มหกรรม Asian Circus Festival หรืองานแลกเปลี่ยนทักษะด้านละครเพื่อการเรียนรู้กับนานาชาติในวันที่ 14ต.ค.นี้ ที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหาด้านสังคมจากนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีงานสัมมนาวิชาการด้านละครกับการทำงานเยาวชน ในวันที่ 25ต.ค.ที่ ลานสานฝันทีเค พาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย”หัวหน้าโครงการละครฯกล่าว

ครูต้องเข้มแข็งไม่ท้อ:ครูดีครูเด่น

ที่มา : เดลินิวส์  วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2555  เวลา 00:00 น. (อรุณี วิทิพย์รอด)

และผู้หนึ่งที่อุทิศทั้งจิตวิญญาณ ทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ และ สติปัญญาให้กับโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา  มายาวนานเท่าอายุการรับราชการ คือ อาจารย์ยินดี วรรณมณี ครูต้นแบบ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ผู้ซึ่งได้รับรางวัลเข็มคุรุสภาสดุดี ประจำปี 2554 จากนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่สมควรได้รับการยกย่อง นอกจากนั้น อาจารย์ยินดี ยังมีรางวัลเป็นหลักประกันความสามารถมากมาย อาทิ ครูต้นแบบ ครูเกียรติยศ ครูแกนนำ และเป็นครูต้นแบบปฎิรูปการศึกษา เป็นต้น

ผลงานที่โดดเด่นของ อาจารย์ยินดี  คือ การสร้างรูปแบบการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ คือ ให้เด็กรู้จักคิด วางแผน ออกแบบ ตรวจสอบ แก้ไข และรายงานผล  มีกระบวนการสอนแบบประสบการณ์ที่เน้นปฎิบัติ ทำให้เด็กนักเรียนที่นี่ทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสถานที่จริง วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์จริง  เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนให้ดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้  โดยการปรับปรุงการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต  นำความรู้และนวัฒนกรรมใหม่ ๆ มาใช้กับการเรียนการสอน  รูปแบบการสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริงและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถาวร

อาจารย์ยินดี เล่าว่า  ส่วนตัวอยากเป็นครูมาตั้งแต่เด็กๆ จึงตั้งใจสอบเข้าเรียนครู แม้ในระดับต้นของการศึกษาจะจบสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง จากวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช  แต่ก็ได้เบนเข็มเข้าสู่รั้ววิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช  จนกระทั่งสอบบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ระดับ 1 ที่โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาเมื่อปี 2526  ทำหน้าที่สอนวิชาเกษตร ด้วยความที่เป็นผู้อยู่ในชนบท  มองเห็นว่า  นักเรียนที่จบออกไปหากไม่สามารถเดินต่อด้วยการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจะทำอย่างไรกับชีวิตต่อไป จึงเกิดแรงบันดาลใจที่อยากทำให้เด็กเหล่านี้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเรียน การใช้ชีวิต และหน้าที่การงาน จึงเริ่มต้นพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง  รวมถึงลงมือปฎิบัติตามแนวคิด  ทั้งพัฒนารูปแบบการสอน  จนเมื่อเห็นว่าน่าจะเป็นรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียนแล้ว จึงได้ยึดแนวทางมาโดยตลอดพร้อมกับปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงฯ

“ การได้รับรางวัลเป็นเพียงการเชิดชูและประกาศเกียรติเราเท่านั้น  แต่หลักของคนที่ยึดอาชีพครูต้องคำนึงตลอดเวลาคือ  การพัฒนาความรู้ในทุก ๆ ด้าน  มองว่า  เด็กคืออนาคตและความหวังของชาติ  ถ้าเรามุ่งมั่นปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น ต้องเข้มแข็งและต่อสู้ในตัวของตัวเอง ไม่ท้อไปกับการเปลี่ยนแปลง  ไม่หลงระเริงกับรางวัลที่ได้รับ  ผมเชื่อว่าการศึกษาของประเทศไทยจะรุดหน้าไปได้มาก” อ.ยินดี กล่าวฝาก

เด็กไทยอ่านหนังสือ2-5เล่ม/ปี

ภาพจาก :  google.com

ที่มา  :  คมชัดลึก  วันที่  3  ตุลาคม  2555

เผยเด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 2-5 เล่มต่อปี โดย กทม. อ่านมากที่สุด ร้อยละ 89.3 และที่อ่านหนังสือน้อยสุดคือภาคอีสา 

วันนี้ (2 ตุลาคม) นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงานแถลงข่าว มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 17 (Book Expo Thailand 2012) ว่า จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องการอ่านหนังสือของประชากรในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2554 จาก 53,000 ครัวเรือน พบว่า คนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนและนอกเวลาทำงาน ร้อยละ 68.8 โดยผู้ชายจะอ่านหนังสือร้อยละ 69.3 ผู้หญิงร้อยละ 68.3 และกรุงเทพมหานครจะมีผู้อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ร้อยละ 89.3 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) มีอัตราการอ่านหนังสือต่ำที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 62.8 

โดยประเภทของหนังสือที่คนนิยมอ่านคือ หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 63.4) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบสถิติของปี พ.ศ. 2554 กับ ปี พ.ศ. 2551 จะพบว่ามีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่เวลาในการอ่านหนังสือต่อวันลดลง เพราะหันไปสนใจกิจกรรมใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตหรือเกมมากขึ้น 

นอกจากนี้ นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้เปิดเผยว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 2-5 เล่มต่อปี ต่างจากสิงคโปร์ที่เฉลี่ยแล้วอ่านหนังสือ 50-60 เล่มต่อปี ดังนั้นจึงควรเพิ่มพฤติกรรมการอ่านหนังสือ และส่งเสริมการอ่านในกลุ่มคนด้อยการศึกษาและยากจน ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ

ผลโลโก้วันเด็กแห่งชาติ56

ประกาศผลการประกวดโลโก้วันเด็กแห่งชาติ

ที่มา  :  www.ops.moe.go.th  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ   วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2012  เวลา 16:39 น.

      ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดตราสัญลักษณ์(โลโก้) วันเด็กแห่งชาติ โดยมีนางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ  รองปลัดกระทรวงศึกษาการ  พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมในพิธี ณ ห้องรับรองจันทรเกษม ชั้น ๑ อาคาราชวัลลภ

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในโอกาสนี้ว่า การจัดประกวดในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อจะนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ จึงเน้นไปที่เด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการออกแบบตราสัญลักษณ์เชิงสร้างสรรค์และเป็นไปตามคำเชิญชวนขององค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ที่กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของเด็กและเยาวชนของชาติ

การประกวดครั้งนี้ทำให้ได้เห็นถึงความรู้ความสามารถของนักเรียน นักศึกษาที่ส่งผลงานเข้าประกวดจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคณะกรรมการ และได้รับการคัดเลือกในที่สุด สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ  ก็ขอให้ฝึกทักษะให้แกร่งยิ่งๆ ขึ้นไปอีก สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชยก็ไม่ต้องเสียใจกลับไปฝึกฝนทักษะให้มากขึ้นโอกาสหน้ายังมี และขอขอบคุณคณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่เสียสละเวลามาร่วมคัดเลือกผลงานจนได้ผู้ชนะเลิศในวันนี้

สำหรับ รางวัลชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้แก่ นางสาวธัญญ์ฐิตา ศนีสังศักดิ์ธนา จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้รับประกาศเกียรติคุณบัตรและเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาทรางวัลชนะเลิศ อันดับ ๒ได้แก่ นายภูวดล พรหมภักดี จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้รับประกาศเกียรติคุณบัตรและเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท รางวัลชนะเลิศ อันดับ ๓ ได้แก่ นางสาวนรี พ่วงความสุข จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์   ได้รับประกาศเกียรติคุณบัตรและเงินรางวัล ๖,๐๐๐ บาทรางวัลชมเชย ได้แก่ นายขจรศักดิ์ จ้อยศรีเกตุ จากวิทยาลัยเพาะช่าง  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  และ นางสาวมุขระวี  อ้นทอง และนางสาวนภคปภา  ปัญญา  จากหมาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับประกาศเกียรติคุณบัตรและเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท

ชินภัทรชี้แท็บเล็ตเว็บโป๊ที่จิตสำนึก

ที่มา : เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2555 เวลา 14:48 น.

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้นำคอมพิวเตอร์พกพา หรือแท็บเล็ต ที่รัฐบาลแจกให้แก่นักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศ  ตามโครงการแท็บเล็ต เพื่อการศึกษาไทย (One Tablet per Child) ไปทดสอบการเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ปรากฏว่า สามารถเข้าเว็บไซต์ลามกอนาจารได้  ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้มีการระบุว่า แท็บเล็ตทุกเครื่องได้มีการบล็อกการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมไว้แล้ว  ว่า  ที่ผ่านมาได้มีการจัดทำโปรแกรมที่บล็อกไม่ให้เด็กเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ถึงประสงค์ไว้กับเซิร์ฟเวอร์อยู่แล้ว  เพียงแต่ตัวโปรแกรมที่บล็อกนั้น เป็นโปรแกรมที่ไม่ได้อยู่ในตัวเครื่อง แต่หากนักเรียนใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียนจะมีเซิร์ฟเวอร์ช่วยป้องกันไว้อย่างดี แต่หากนำไปเล่นที่บ้านจะไม่มีการป้องกันการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน  ดังนั้น  จึงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ปกคอรงในการช่วยสอดส่องดูแลอีกทางหนึ่ง

ต่อข้อถามถึงกรณีที่โรงเรียนให้เด็กนำแท็บเล็ตกลับบ้านได้ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า ตามกฎระเบียบแล้วโรงเรียนสามารถให้เด็กนำแท็บเล็ตกลับบ้านได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูที่จะพิจารณาว่านักเรียนของตนเองมีความพร้อมที่จะรักษาเครื่องได้หรือไม่ รวมไปถึงความรับผิดชอบในการใช้อย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้มองว่าควรจะต้องมาจากจิตสำนึกในการป้องกัน และการใช้อย่างถูกวิธี เพราะไม่ว่าจะบล็อกกี่ชั้นคงเป็นเรื่องยากในการดูแล ดังนั้น เรื่องนี้จะต้องเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ใหญ่ที่จะต้องดูแลเด็กให้ใกล้ชิดมากขึ้น ส่วนกรณีที่โรงเรียนที่ได้รับแท็บเล็ตไปแล้ว แต่ไม่มีไฟฟ้าใช้นั้น ขอให้ทางเขตพื้นที่การศึกษารวบรวมข้อมูลเสนอมาและทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะได้จัดสรรเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เช่น แผงโซลาเซลล์ เป็นต้น

ครูสอบวัดผลผ่านไม่ถึงครึ่งแห่ซ่อม

ที่มา  :  เดลินิวส์  วันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2555  เวลา 17:22 น.

วันนี้ (7ส.ค.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากที่ สทศ.เปิดรับสมัครทดสอบสมรรถนะครูทางด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 วันที่  18 ส.ค.นี้ มีผู้สมัคร   8,528 คน ผู้สมัครเพิ่มขึ้นมากจากสมัครสอบครั้งที่ 1 ที่มีเพียง  2,302 คน  ดังนั้น สทศ.เปิดสนามสอบเพิ่มขึ้นในจังหวัดที่มีผู้สมัครสอบมากกว่า 300 คน  จากเดิมมีสนามสอบ 4 จังหวัดหลัก คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และกรุงเทพมหานคร  เพิ่มอีก 8 จังหวัด นครสวรรค์ นครพนม มุกดาหาร นครราชสีมา สระแก้ว  ฉะเชิงเทรา  หนองคายและบุรีรัมย์  เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าสอบมากที่สุด

รศ.ดร.สัมพันธ์  กล่าวต่อไปว่า  จากจำนวนครูที่เข้าสอบมากขึ้น  แสดงว่าครูให้ความสนใจในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน  รวมทั้งยังรองรับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในการนำคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษา จะต้องทำให้การวัดและประเมินการเรียนของนักเรียนมีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วประเทศด้วย 

สำหรับผลการทดสอบสมรรถนะครูทางด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 1พบว่ามีครูที่ทำคะแนนผ่านเกณฑ์เกินร้อยละ  60 จำนวน 743 คน หรือแค่ 30 % จากผู้เข้าสอบ  2,055 คน   ขณะที่ช่วงคะแนนสอบที่ครูทำได้มากที่สุดคือ30.01-40.00 จำนวน   1,185  คน  หรือร้อยละ  57.66  ของผู้เข้าสอบ ดังนั้นครูจะต้องปรับการวัดและประเมินผลการเรียน โดยนำผลสอบโอเน็ตของนักเรียนมาช่วยปรับปรุงจุดเด่นจุดด้อยการเรียนการสอนด้วย  เพื่อให้การวัดและประเมินผลการเรียนมีมาตรฐานมากขึ้น.

โรคมือเท้าปากเปื่อย

โรคมือเท้าปากเปื่อย  (ขอบคุณข้อมูลจาก  clinicdek.com)

Hand foot mouth syndrome  (ขอบคุณข้อมูลอาก  siamhealth.net)

โรคมือ เท้า ปาก Hand, Foot and Mouth Disease  (ขอบคุณข้อมูลจาก  health.kapook.com)