Tag Archive | 2

โนเกียเปิด WhatsApp Phone 2,100บ.

ที่มา  :   slashgear.com

โนเกียเปิดตัวโทรศัพท์แบบ QWERTY รุ่นใหม่ โดยเป็นโทรศัพท์ราคาถูกตระกูล Asha โทรศัพท์รุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อรุ่นว่า Asha 210 เป็นมือถือสไตล์แคนดี้บาร์ มีจุดเด่นที่สามารถเล่น WhatsApp ได้ฟรี (ไม่เสียค่าแอพฯ แต่เสียค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตนะ) โดย Asha 210 จะมี 2 รุ่นคือแบบ 1 ซิม และ 2 ซิม

Nokia-Asha-210-Yellow_DualSIM_Whatsapp-580x489Nokia-Asha-210_Yellow_SingleSIM_Self_Portrait-566x500

จุดเด่นของโทรศัพท์รุ่นนี้คือ  มีปุ่ม WhatsApp ให้มาบนเครื่องเลย กดเพื่อแชทได้ตลอดเวลา และผนวก WhatsApp เข้าไปในสมุดโทรศัพท์ของ Asha 210 เอาไว้ให้ด้วย

อย่างอื่นที่น่าสนใจก็มี Wi-Fi,  กล้องหลัง 2MP  ไม่มีกล้องหน้า  ไม่รองรับ 3G  ใช้งานได้แค่ GPRS/EDGE  มีแอพฯอย่าง Facebook, Twitter, Gmail และ Youtube มาให้ด้วย     

โนเกียจะวางขายในไตรมาศ 2 ปีนี้ ในราคา $72 คิดเป็นเงินไทยก็เกือบๆ 2,100 บาท

อ.มหา’ลัยเซ็งครูแซงงด.สพฐ.2เด้ง

ที่มา  :  ไทยโพสต์   3 January 2556 – 00:00

gnat07

    สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยฯ ถกเครียดเงินเดือนครูโรงเรียน สพฐ.แซงหน้า หลังรัฐบาลเอาใจครู ขึ้นเงินเดือนเบิ้ล 2 ครั้ง แถมปรับค่าวิทยฐานะด้วย จี้ สกอ.ดูแลสิทธิด่วน เพราะเป็นปัญหามา 2 ปีแล้ว ด้าน “กำจร” เผยชงเรื่องเลื่อนเงินตำแหน่งทางวิชาการเข้า ครม.แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา ยันไม่มีอาจารย์มหา’ลัยลาออกไปเป็นครู รร.แน่ เล็งรื้อระบบขอตำแหน่ง ผศ., รศ., ศ. ใหม่ทั้งหมด หลังหลักเกณฑ์ปัจจุบันไม่เวิร์ก
    ต่อเนื่องจากที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีประเด็นการแสดงความกังวลของเหล่าคณาจารย์มหาวิทยาลัยสมาชิก ต่อปัญหาค่าตอบแทน สวัสดิการ สวัสดิภาพอาจารย์มหาวิทยาลัย และการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการนั้น
    รศ.ดร.สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวนำเสนอข้อมูลค่าตอบแทนอาจารย์มหาวิทยาลัยเทียบกับครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยมีค่าตอบแทนน้อยกว่าครูโรงเรียนสังกัด สพฐ.เป็นหลักพันบาทมากว่า 2 ปีแล้ว ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนลาออกไปสมัครเป็นข้าราชการครู โรงเรียนสังกัด สพฐ.บ้างแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเนื่องจากตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ที่ผ่านมา เฉพาะข้าราชการครูได้ปรับขึ้นเงินเดือน 8% ต่อมาในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน รัฐบาลสั่งปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนทั่วไป 5% ซึ่งแค่ในปีเดียวครูก็มีเงินเดือนแซงหน้าอาจารย์มหาวิทยาลัย จนมาในช่วงปลายปี 2555 ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เห็นชอบการเลื่อนไหลเงินประจำตำแหน่งผู้มีวิทยฐานะ อาทิ วิทยฐานะ คศ.2 เงินเดือนเต็มขั้นไปรับเงินเดือน คศ.3 เช่นเดียวกับ คศ.3 เต็มขั้นไปรับเงินเดือน คศ.4 และ คศ.4 ไปรับ คศ.5
    อาจารย์ ม.รามคำแหง กล่าวอีกว่า ขณะที่อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการต่างๆ ไม่มีสิทธิเลื่อนไหลไปรับเงินเดือนตำแหน่งทางวิชาการที่สูงกว่า อาทิ ตำแหน่งอาจารย์เงินเดือนเต็มขั้นจะไปรับเงินเดือนตำแหน่ง ผศ.ไม่ได้ เช่นเดียวกับ ผศ.เงินเดือนเต็มขั้นจะไปรับเงินเดือนตำแหน่ง รศ.ก็ไม่ได้ รศ.เต็มขั้นจะไปรับเงินเดือน ศ.ไม่ได้เช่นกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบ และเป็นสิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานพิทักษ์สิทธิอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่จะต้องไปดูแลและแก้ไข รวมถึงปัญหาความเท่าเทียมกันระหว่างอาจารย์ข้าราชการและอาจารย์พนักงาน มหาวิทยาลัยด้วย
    รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า สกอ.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ก็ไม่อยากให้นำประเด็นอัตราค่าตอบแทนระหว่างครูและอาจารย์มาเปรียบเทียบ กัน เพราะทั้งคู่มีบริบทที่ต่างกัน อย่างครูหากโดนสั่งโยกย้ายก็ต้องไป ขณะที่อาจารย์ไม่ต้องไปก็ได้ ครูต้องสอนอยู่ในห้องเรียน ขณะที่อาจารย์ไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียนก็ได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นการขึ้นเงินเดือน เพราะมีการหวังผลทางการเมืองหรือไม่ ก็ให้ไปคิดเอาเอง ส่วนเรื่องการขอเลื่อนไหลเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการนั้น ที่ผ่านมา สกอ.ก็เสนอเรื่องดังกล่าวไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณาแล้ว ที่ขณะนี้ก็ยังค้างพิจารณาอยู่ ซึ่งจะเป็นอย่างไรต้องติดตาม
    “กรณีกระแสข่าวอาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปเป็นครูโรงเรียนสังกัด สพฐ. ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นความจริง เพราะขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ว่าอาจารย์คนนั้นเป็นใคร อยู่ที่ไหน ย้ายไปแล้วได้รับเงินเดือนเท่าไหร่ ขณะเดียวกันเรื่องดังกล่าวก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะการเป็นครู สพฐ.ได้นั้นต้องผ่านการสอบบรรจุครูผู้ช่วย และต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่มี เว้นแต่เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่เดิมเคยเป็นวิทยาลัยครูมาก่อน ก็อาจมีพื้นฐานการเป็นครู มีใบอนุญาตฯ สามารถไปปฏิบัติการสอนได้ ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ว่าอยากจะเลือกเป็นอาจารย์หรือครู” รศ.นพ.กำจรกล่าว
    รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาอาจารย์พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าอาจารย์ข้า ราชการนั้น เรื่องดังกล่าวเนื่องจากสำนักงบประมาณไม่มีบัญชีพนักงานมหาวิทยาลัย ทำให้ขึ้นแต่อาจารย์ ข้าราชการ ซึ่งที่ผ่านมาก็สั่งให้มหาวิทยาลัยไปทำบัญชีพนักงานแล้ว แต่ก็มีการขยับตลอดบัญชีไม่นิ่ง จน สกอ.ต้องเสนอให้จัดสรรงบฯ เป็นก้อนให้มหาวิทยาลัยไปบริหารจัดการเอาเอง อย่างไรก็ตาม เรื่องทำให้สิทธิอาจารย์ที่เป็นพนักงานให้เท่าเทียมข้าราชการที่ผ่านมา สกอ.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีการดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ.บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ…. ซึ่งขณะนี้ก็คืบหน้าไปมาก
    รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวอีกว่า สำหรับข้อห่วงใยเรื่องการแก้หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของที่ ประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่เห็นชอบให้แก้หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ. โดยกำหนดให้ทำงานวิจัย “หรือ” ตำรา จากเดิมที่กำหนดทำทั้งงานวิจัย “และ” ตำรานั้น ขณะนี้มีเสียงบ่นจากคณาจารย์ว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวช่วงแรกหวังให้แก้ เพราะจะทำให้ขอตำแหน่ง ผศ.ได้ง่ายขึ้นนั้น แท้จริงแล้วกลับยากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะประกาศใช้ไปแล้ว ดังนั้นคงถึงเวลาที่จะต้องมีการรื้อเรื่องการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ เสียทั้งหมด
    รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวอีกว่า ปัจจุบันหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ., รศ. และ ศ. พ.ศ.2555 มีสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยหลายข้อ อาทิ การรอเวลาหลังจบการศึกษา เพื่อทำผลงานขอตำแหน่ง ผศ. อย่าง ป.ตรีต้องใช้เวลา 9 ปี ป.โทต้องใช้เวลา 5 ปี ซึ่งทำไมต้องรอเวลา ขณะที่การทำผลงานเพื่อขอขึ้นตำแหน่งก็มีปัญหาไม่มีผู้อ่านผลงาน เพราะอ้างค่าตอบแทนต่ำ กลัวปัญหาฟ้องร้อง อย่างไรก็ตาม ในเป้าหมายที่จะรื้อ ต่อไปการขอ ผศ.ต้องเร็วขึ้น หากจบการศึกษาแล้วอยากขอก็ทำผลงานเสนอเลย หากไม่ขอในระยะ 9 ปีก็ให้เลย แต่ต้องอยู่สาขาอาชีพที่กำหนด ขณะที่ ผศ.ขึ้น รศ.ก็ดูที่ผลงาน และ รศ.ขึ้น ศ.ดูที่ผลงาน และดูประวัติว่าเคยเป็นผู้อ่านผลงานผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการระดับล่างกว่ามา หรือไม่ อย่างไรก็ดี การรื้อคงต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะต้องทำความเข้าใจหลายฝ่าย
    ผศ.ดร.ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้อาจารย์วัยรุ่นของจุฬาฯ กำลังเกิดความสับสน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปลี่ยนหลักเกณฑ์การขอ ผศ.ให้ทำงานวิจัย “หรือ” ตำรา แต่ที่จุฬาฯ ทางนายกสภาฯ ได้ยืนยันใช้หลักเกณฑ์เดิม คือทำทั้งงานวิจัย “และ” ตำรา จึงเป็นสิ่งที่ทำให้สับสนอย่างมาก ขณะเดียวกันก็มีการสอบถามจุฬาฯ มาว่า สามารถเป็นอิสระไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ของ ศธ.ทั้งหมดเลยหรือ แล้ว ม.นอกระบบอื่นๆ สามารถทำได้หรือไม่.

สถานศึกษาประเมินรอบ3 ระยะ1-2

รายชื่อสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 (ช่วงการประเมินระยะที่ 1 และระยะที่ 2)
(รวมรายชื่อสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ประเภทโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 101 แห่ง และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 14 แห่ง)

 

เด็กไทยอ่านหนังสือ2-5เล่ม/ปี

ภาพจาก :  google.com

ที่มา  :  คมชัดลึก  วันที่  3  ตุลาคม  2555

เผยเด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 2-5 เล่มต่อปี โดย กทม. อ่านมากที่สุด ร้อยละ 89.3 และที่อ่านหนังสือน้อยสุดคือภาคอีสา 

วันนี้ (2 ตุลาคม) นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงานแถลงข่าว มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 17 (Book Expo Thailand 2012) ว่า จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องการอ่านหนังสือของประชากรในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2554 จาก 53,000 ครัวเรือน พบว่า คนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนและนอกเวลาทำงาน ร้อยละ 68.8 โดยผู้ชายจะอ่านหนังสือร้อยละ 69.3 ผู้หญิงร้อยละ 68.3 และกรุงเทพมหานครจะมีผู้อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ร้อยละ 89.3 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) มีอัตราการอ่านหนังสือต่ำที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 62.8 

โดยประเภทของหนังสือที่คนนิยมอ่านคือ หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 63.4) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบสถิติของปี พ.ศ. 2554 กับ ปี พ.ศ. 2551 จะพบว่ามีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่เวลาในการอ่านหนังสือต่อวันลดลง เพราะหันไปสนใจกิจกรรมใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตหรือเกมมากขึ้น 

นอกจากนี้ นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้เปิดเผยว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 2-5 เล่มต่อปี ต่างจากสิงคโปร์ที่เฉลี่ยแล้วอ่านหนังสือ 50-60 เล่มต่อปี ดังนั้นจึงควรเพิ่มพฤติกรรมการอ่านหนังสือ และส่งเสริมการอ่านในกลุ่มคนด้อยการศึกษาและยากจน ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ