คลังเก็บ

อ๋อยจี้คุรุสภา-กคศ.ประเมินใหม่ผลสัมฤทธิ์ต่ำ

ที่มา  :  www.moe.go.th

โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2556 เรื่อง “การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ” และกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อนโยบายการพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555

กล่าวว่า การส่งเสริม สนับสนุน ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพครู เป็นบทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของคุรุสภาในฐานะสภาวิชาชีพครู ซึ่งงานในวันนี้เป็นงานที่คุรุสภาจัดขึ้น เพื่อเป็นกำลังใจแก่ครูที่มุ่งมั่น คิดค้น พัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมสถานศึกษา อันจะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาถึง 9 ปีแล้ว จึงเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ครูได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และการวิจัยและนวัตกรรมเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนการสอนที่สำคัญ

การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งเป็นหัวข้อใหญ่ของการประชุมทางวิชาการของคุรุสภาในปีนี้ เป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากเรายังต้องการการวิจัยและใช้ผลการวิจัยและการพัฒนามาเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา การจะวางนโยบายและแผนได้ดี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการวิจัยเป็นฐานรองรับ เพราะฉะนั้น การประชุมในหัวข้อดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ความตั้งใจที่จะสร้างฐานที่มั่นคงแข็งแรง และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำไปพัฒนาเพิ่มคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู

การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา จะต้องมีการพัฒนากันอีกมาก สิ่งที่ยังขาดอยู่ คือ องค์กรที่จะทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ได้มีนโยบายจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาจะมีองค์กรในลักษณะนี้อยู่ เพื่อจะได้รู้ว่าหลักสูตรที่กำหนดออกมาเป็นอย่างไร เด็กเรียนรู้ได้ดีไหม วิชาที่เรียนสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนหรือไม่ และวิธีการสอนของครูเป็นอย่างไร เป็นต้น จึงเป็นเรื่องดีที่คุรุสภามีการส่งเสริมให้เกิดการวิจัย

การพัฒนาวิชาชีพครู มิใช่ทำเพื่อความมั่นคงของอาชีพครูหรือเพื่อความก้าวหน้าของผู้ที่เป็นครูเท่านั้น แต่เป็นการจัดการศึกษาได้ดีขึ้น เพื่อทำให้เด็กมีการพัฒนาที่ดีและเพื่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นการพัฒนาวิชาชีพครู จึงต้องโยงกับการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งการยกระดับคุณภาพการศึกษา เริ่มจากการที่ประเทศกำลังต้องการการพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันที่กำลังผันผวนครั้งใหญ่จากวิกฤตของเศรษฐกิจโลกและการปรับตัวของประเทศต่างๆ ซึ่งถือเป็นความจำเป็นในการพัฒนาคน

ขณะเดียวกัน โลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการพัฒนาทุกด้าน รวมทั้งการพัฒนาคนและการเรียนการสอน ครูจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการปฏิรูปหรือยกระดับคุณภาพการศึกษา คุณลักษณะของคนอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจากที่ได้มีการหารือมาระยะหนึ่งแล้ว คือ ต้องการให้ผู้เรียนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้จักเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแก้ปัญหา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กไปสู่คุณลักษณะดังกล่าว การทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาต่างๆ ดีกว่าที่เป็นอยู่ โดยอาศัยการทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐานและเชื่อมโยงกับหลักสูตร ดังที่ได้มอบนโยบายไว้ว่า จะต้องปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนและให้เชื่อมโยงกับการทดสอบวัดผลประเมินผลอย่างเป็นระบบ ทั้งระบบเชื่อมโยงกัน ในการเรียนหลายระดับชั้นยังไม่มีการทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐาน ในวิชาภาษาไทย ก็ไม่มีการทดสอบวัดผลที่ถูกต้องตามหลักวิชาที่จะวัดสมรรถนะทางภาษาเหมือนอย่างที่ประเทศต่างๆ ใช้วัดสมรรถนะทางภาษา จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐานหรือการทดสอบกลาง

ในส่วนของการให้ผู้เรียนเรียนรู้ในยุค ICT ที่กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนในยุคนี้ก็ต้องเปลี่ยน เนื่องจากผู้เรียนสามารถหาความรู้ได้เองอย่างไม่จำกัด หากมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก ซึ่งต้องมาดูที่หลักสูตรว่าผู้เรียนควรรู้และเรียนอะไรบ้าง ขณะเดียวกันเมื่อผู้เรียนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้สะดวก การเรียนการสอนแบบเดิมจะไม่สอดคล้องกัน เพราะผู้เรียนอาจจะหาคำตอบจากคำถามของครูได้ แต่อาจจะไม่เข้าใจหรือคิดไม่ได้ว่าคำตอบที่ได้มาต้องการสื่อถึงอะไร การเรียนการสอนในโลกยุคอินเทอร์เน็ตจะต้องเปลี่ยนแปลง และมีวิธีการสอนอีกมากมายที่เกิดจากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือแอพลิเคชั่น ซึ่งก็ได้มีครูในโรงเรียนบางแห่งเริ่มใช้เพื่อพัฒนาในการเรียนการสอนแล้ว

แนวคิดอีกอย่างที่ได้มีการรวบรวมกันมา คือ การอบรมพัฒนาครูโดยอาศัย ICT ซึ่งต้องคำนึงว่าจะทำได้ผลมากแค่ไหน ต้องมีการช่วยกันคิด ครูสามารถเรียนรู้จากวีดิทัศน์ที่บันทึกไว้ใน YouTube หรือแอพลิเคชั่นบางอย่าง เมื่อมีใครต้องการจะศึกษาก็สามารถเข้าไปดูได้ หรืออาจจะทำเป็นระบบปิด เช่น ระบบที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ แยกเป็นรายวิชาเพื่อใช้สำหรับการเรียนวิชาต่างๆ นอกจากนี้ อาจจะจัดการเรียนแบบใหม่ เรียกว่า “Flip the Classroom”คือ การนำเรื่องที่เด็กต้องทำเป็นการบ้าน มาทำในห้องเรียน แล้วนำเรื่องที่เคยทำในห้องเรียนกลับไปทำที่บ้าน หมายความว่าให้เด็กไปดูวีดิทัศน์ อ่านหนังสือ หรือเข้าอินเทอร์เน็ต ดูเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่ได้มาจากบ้าน เมื่อถึงห้องเรียน ครูก็ตั้งคำถามและให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การเรียนการสอนดังกล่าว มีคนถ่ายวีดิทัศน์ แล้วนำลงอินเทอร์เน็ต อาจจะเชิญชวนครูให้มาดูพร้อมๆ กัน ดังนั้น การพัฒนาครูในเรื่องเทคนิคการเรียนการสอน หากใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย จะทำให้เราสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาครูเพื่อยกระดับการศึกษาของผู้เรียน จึงเป็นการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย

คุรุสภา ในฐานะสภาวิชาชีพ ก็ต้องดูแลรักษาคุณภาพมาตรฐาน จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู แต่ที่ต้องการจะฝาก คือ การพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษา สิ่งที่ต้องช่วยกันแก้ไข คือ จะทำอย่างไรให้การพัฒนาวิชาชีพครูมีการคำนึงเรื่องครูขาดแคลน ซึ่งได้มอบหมายให้ ก.ค.ศ.ไปดูว่าจะเกลี่ยอย่างไร ในเรื่องของการผลิตและการรับครู พร้อมทั้งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งต้องให้คุรุสภามีส่วนช่วยแก้ปัญหาด้วย นอกจากนี้การกำหนดกติกาในการพัฒนาวิชาชีพ หากเคร่งครัดเกินไป ก็จะกลายเป็นปิดกั้นโอกาสที่จะหาครูมาสอน เพราะในปัจจุบันครูอาชีวศึกษาขาดแคลนอย่างมาก ขณะนี้มีการจ้างครูอัตราจ้างมากกว่าครูที่เป็นข้าราชการ หากสถานศึกษาไม่สามารถจ้างวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญมาสอนได้ เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู หากผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่มีความรู้ทางด้านนั้นน้อยมาก ก็ไม่สามารถสอนคนให้เป็นช่างที่มีความสามารถได้ จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย

นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และจะมีผู้สนใจจะสอนภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่ระบบของอาชีพครูเป็นระบบปิด คือ มีการวางระบบเหมือนจะปกป้องอาชีพนี้ไม่ให้ผู้อื่นมาเป็นได้ง่าย เพื่อความมั่นคงของวิชาชีพ แต่กลายเป็นไปว่าเราต้องช่วยกันแก้ปัญหาให้ประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยต้องมีครูและเป็นครูด้านที่ขาดแคลน

ก.ค.ศ.กับคุรุสภามีหลักเกณฑ์ที่ลักลั่นกันอยู่ ก.ค.ศ.อนุญาตให้ทำได้ แต่ติดหลักเกณฑ์ของคุรุสภา ทำให้ไม่สามารถทำได้ หน่วยงานทั้งสองจึงจำเป็นจะต้องมีการพูดคุยกัน โดยเฉพาะการประเมินวิทยฐานะหรือการพัฒนาวิชาชีพที่โยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและโรงเรียน จากการสำรวจพบว่ามีความเชื่อมโยงกันน้อยมาก และพบว่า   ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาหลายแห่งมีความก้าวหน้าขึ้น   มีวิทยฐานะ เงินเดือน  รายได้สูงขึ้น  แต่ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษานั้นแย่มาก  จึงมอบหมายให้ ก.ค.ศ.และคุรุสภาช่วยกันคิดวิธีประเมินวิทยฐานะที่เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วย

รมว.ศธ.ย้ำว่า การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยเป็นหัวข้อที่ดี เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการร่วมกันคิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู โดยอาศัยการวิจัยต่างๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้ดี ก้าวหน้าและมั่นคงขึ้นไป อย่างน้อยแล้ว ต้องถือว่าจุดมุ่งหมายอันดับแรกในการพัฒนาวิชาชีพครู คือ เพื่อพัฒนาคน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และจะได้พัฒนากำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งจะเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูที่มีความหมายที่สุด

โอกาสนี้ รมว.ศธ.ได้มอบรางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา “ผลงานวิจัยระดับภูมิภาค” และชมนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการสารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติฯ, นิทรรศการผลงาน หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม จำนวน 80 ผลงาน, นิทรรศการผลงานวิจัยภาคแผ่นป้ายนิทรรศการ จำนวน 30 ผลงาน, ร้านค้าสวัสดิการคุรุสภา เป็นต้น

สพฐ.แจงครูอบรมธรรมกายพัฒนาอีคิว

ที่มา  :   ข่าวสด   ฉบับวันที่ 27 ส.ค. 2556 (กรอบบ่าย)

             นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวชี้แจงกรณีข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร้องเรียนกับมูลนิธิแห่งหนึ่งว่า  ได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งให้เข้าร่วมกิจกรรม  “การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรม โครงการโรงเรียนในฝัน รุ่นครูทั้งโรงเรียน”      ซึ่งเป็นการอบรมจริยธรรมกับเครือข่าย วัดพระธรรมกาย ว่า  โครงการนี้สพฐ.จัดร่วมกับพระสังฆาธิการทั่วประเทศ  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ  และมูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อศีลธรรม  จึงไม่ใช่การจัดร่วมกับวัดใดวัดหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการอบรมปฏิบัติธรรมที่วัด สำนัก หรือศูนย์ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 52 แห่ง

        ส่วนวัตถุประสงค์หลักนั้น  เนื่องจากสพฐ.ต้องการเปลี่ยนแนวคิด จากเดิมที่โรงเรียนหนึ่งมีครูแค่ 1 คนรับผิดชอบ เป็นเน้นให้ครูทุกคนมีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรม 

          เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า  ที่ผ่านมา ได้รับเสียงตอบรับจากผู้เข้ารับการอบรมว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ฉะนั้นก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์อะไร  ควรเข้าร่วมกิจกรรมก่อน  แล้วค่อยนำข้อเท็จจริงจากผลการอบรมมาวิจารณ์  ถึงจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากกว่านี้   ส่วนประเด็นที่บอกว่า มีการสั่งการให้ปิดการเรียนการสอนเพื่อให้ครูมาเข้าร่วมโครงการนั้น ขอชี้แจงว่า  เป็นเรื่องที่ทางโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)  ต้องหารือถึงความเหมาะสม แต่หากพบปัญหาติดขัด ก็ต้องไปปรับเพื่อไม่ให้กระทบต่อการเรียนการสอน 

“ยืนยันว่าโครงการนี้ เน้นพัฒนาให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีอีคิว  ตลอดจนพฤติกรรมความประพฤติที่พึงประสง ค์ แต่ที่ผ่านมา เรามักจะโยน ความรับผิดชอบให้ครูเพียงคนเดียว  ซึ่งสุดท้ายแล้วจึงไม่มีพลังที่จะแก้ไขปัญหา  แต่หากเป็นครูทั้งโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงที่สพฐ.คาดหวังคงเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก”  นายชินภัทรกล่าว

หลักเกณฑ์ใหม่สอบครูผู้ช่วย ว12

ที่มา  :  เดลินิวส์  

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ได้ลงนามในหนังสือหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือ มีเหตุพิเศษ หรือ ว12 ใหม่ โดยกำหนดให้ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.แต่งตั้งเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกครูผู้ช่วย ว12 แทนการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นผู้ดำเนินการ 

แหล่งข่าว แจ้งด้วยว่า หลักเกณฑ์การตัดสิน ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนนแต่ละภาค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และหากพบว่าการดำเนินการคัดเลือก มีการทุจริตหรือส่อไปในทางไม่สุจริต หรือดำเนินการผิดพลาดอันอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ให้ผู้ดำเนินการคัดเลือกพิจารณาแก้ไขหรือยกเลิกการ คัดเลือกในครั้งนั้นได้ ทั้งนี้ การสอบคัดเลือกจะแบ่งเป็น ภาค ก ความรอบรู้ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัย คุณธรรม จริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คะแนนเต็ม 150 คะแนน ให้คัดเลือกด้วยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม 150 คะแนน ให้คัดเลือกด้วยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย และภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ คะแนนเต็ม 50 คะแนน ให้ประเมินด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบเอกสาร หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม 

ด้านนางรัตนา กล่าวว่า การปรับหลักเกณฑ์ใหม่นี้ เพื่อให้อำนาจ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯในการสอบ แต่การสอบจะต้องสอบพร้อมกัน โดยให้ สพฐ.กำหนดปฏิทินเพื่อรับสมัครและสอบพร้อมกันทั่วประเทศ โดยหลักเกณฑ์นี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา. 

โครงการ”ตามรอยเกียรติยศครูฯ”8/2557

ที่มา  :  www.obec.go.th

โครงการตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู

ครั้งที่ 8 พ.ศ.2557

สพฐ.ปฏิรูปผลิตแม่พิมพ์มืออาชีพแผน5ปี

ที่มา  :  ข่าวสด  ฉบับวันที่ 16 ก.ค. 2556 (กรอบบ่าย)

นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า ตามที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู โดยให้ความสำคัญกับจำนวนการผลิต ต้องสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง ครูใหม่ต้องมีความรู้ สามารถจัดการเรียนการสอนในโลกยุคใหม่ได้ 

ตลอดจนสภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) และคุรุสภา เสนอให้สถาบันฝ่ายผลิตควบคุมจำนวนการรับนักศึกษาเข้าใหม่ระดับปริญญาตรี โดยคุรุสภาเตรียมบังคับใช้มาตรการจำกัดจำนวนรับ และเกณฑ์ควบคุมคุณภาพ ในปีการศึกษา 2557 นั้น ส่วนตัวเห็นด้วยเป็นอย่างมาก เพราะปัญหาการผลิตครูล้นต่อความต้องการนั้น ถือเป็นปัญหาที่สะสมมานาน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแผนยุทธศาสตร์การผลิตครูร่วมกันอย่างน้อย 5 ปี เพื่อให้สถาบันฝ่ายผลิตได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ 

รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ที่สำคัญคือนำโครงการครูมืออาชีพมาพิจารณาดำเนินการใหม่ ให้สอดคล้องกับแผนความต้องการและแผนการผลิตครู เนื่องจากโครงการนี้สามารถสร้างครูดีมายกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนได้ ดังนั้นในอนาคต คนที่จะมาเป็นครู สพฐ. สมควรต้องผ่านการคัดเลือกจากโครงการนี้ โดยจะต้องปรับจำนวนให้สอดรับกับอัตราส่วนหนึ่งที่กันไว้สำหรับพนักงานราชการและอัตราจ้าง ตลอดจนกลุ่มที่เข้าสอบแข่งขันบรรจุทั่วไป ดังนั้นแผนยุทธศาสตร์นี้จะต้องบริหารอัตรา โดยวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้กระบวนการทั้งหลายลงตัว ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องร่วมกันทำทั้งหมด 

“เราต้องพูดกับมหาวิทยาลัยเรื่องหลักสูตรการผลิตครูด้วย เนื่องจากความต้องการครูในประเทศมีความหลากหลาย เช่น โรงเรียนขนาดเล็กของ สพฐ. คงไม่ต้องการครูวิชาเอก และสอนได้หลายช่วงชั้น ขณะที่ระดับมัธยมปลาย คงต้องผลิตครูเพื่อสอนวิชาเฉพาะ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ การวางแผนร่วมกันจึงสำคัญมากๆ” นายพิษณุกล่าว 

 

DSIแนะศธ.ถอนครูผู้ช่วย 344รายทุจริตชัด

ที่มา   :  ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2556

“ธาริต”ส่งหนังสือถึงสพฐ.สั่งให้เพิกถอนการบรรจุ 344 คน ทุจริตสอบครูผู้ช่วย แนะให้รีบเข้าพบพนักงานสอบสวนด่วน ด้าน “พงศ์เทพ” หารือ ก.ค.ศ. หาข้อสรุปโทษทางวินัย 17 พ.ค.นี้

นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผอ.ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดีเอสไอ กล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนคดีทุจริตสอบครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า วันนี้ (15 พ.ค.) นายอำพร ทวรรณกุล ผอ.โรงเรียนเสมาอุปถัมภ์ จ.นครราชสีมา และนายสุเชาว์ ยะถีโล ครูผู้ช่วยโรงเรียนกงรถราษฎร์สามัคคี จ.นครราชสีมา เข้ารับทราบข้อกล่าวหา สำหรับนายอำพรได้แจ้งข้อหากระทำผิดตามมาตรา 188 กรณีเอาเอกสารข้อสอบไปจำหน่ายและเผยแพร่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ สพฐ. ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยนายอำพรยังให้การปฏิเสธและได้ให้ถ้อยคำเพิ่มเติมบางส่วน ทั้งนี้แม้จะแจ้งข้อกล่าวหาแล้วแต่เนื่องจากนายอำพรเป็นข้าราชการพนักงานสอบสวนจึงให้ปล่อยตัว ซึ่งหลังจากนี้จะรวบรวมสำนวนส่งฟ้องอัยการต่อไป

อย่างไรก็ตามดีเอสไอยืนยันว่าขณะนี้มีพยานหลักฐานชัดเจนว่านายอำพรมีส่วนเกี่ยวข้องในการนำข้อสอบออกมาขาย โดยพบว่ามีรายชื่อผู้สอบได้คะแนนสูงในพื้นที่จ.นครราชสีมา จำนวนมากถึง 48 ราย ในจำนวนนี้ 7-8 ราย ให้การยืนยันว่าซื้อข้อสอบมาจากนายอำพร ดังนั้น ดีเอสไอจะเรียกผู้เข้าสอบทั้ง 48 คนที่ได้คะแนนสูงในพื้นที่นครราชสีมาเข้าให้ปากคำ

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ดีเอสไอมีหนังสือถึงคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 119 เขต เพื่อให้พิจารณาดำเนินการยกเลิกการบรรจุบุคคล จำนวน 344 ราย โดยเห็นว่าบุคคลดังกล่าวกระทำการเข้าข่ายทุจริตในการสอบ โดยทำข้อสอบผิดในข้อเดียวกัน และมีคะแนนสอบที่สูงผิดปกติ ทั้งนี้ดีเอสไอจะได้เร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อมีความเห็นทางคดี

นอกจากนี้ จะได้มีหนังสือเรียกผู้ที่เข้าสอบ จำนวน 344 ราย มาให้การต่อไป หากให้การเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนจะกันไว้เป็นพยาน เช่น ซื้อเฉลยคำตอบจากใคร จ่ายเงินเท่าไร พาไปชี้ที่เกิดเหตุและเชื่อมโยงถึงตัวผู้บงการได้ แนะนำให้รีบเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อแสดงออกถึงการร่วมมือกับเจ้าพนักงาน หากล่าช้าดีเอสไอไม่จำเป็นต้องกันตัวไว้เป็นพยาน และจะถูกดำเนินคดีถึงที่สุด นอกจากนี้ขอแนะนำให้รีบลาออกก่อนถูกเพิกถอนการบรรจุ เพื่อไม่ให้ถูกดำเนินการทางวินัย ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าดีเอสไอจะขออนุมัติออกหมายจับบุคคลที่อยู่ในขบวนการทุจริตสอบครูผู้ช่วยด้วย

ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาว่าจะมีมติหรือคำแนะนำอย่างไรไปยัง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้ ในเรื่องของโทษทางกฎหมายนั้นดีเอสไอมีหน้าที่ในการสอบสวนและดำเนินการตามกฎหมายซึ่งเป็นคดีอาญา ส่วนหน้าที่ของ ศธ.จะต้องดูว่าหากมีความผิดจริงจะมีโทษทางวินัยสถานใด ซึ่งจากข้อมูลการสอบสวนของดีเอสไอที่ผ่านรวมข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ ค่อนข้างชัดเจนว่ามีกระบวนการทุจริตจริง

โนเกียเปิด WhatsApp Phone 2,100บ.

ที่มา  :   slashgear.com

โนเกียเปิดตัวโทรศัพท์แบบ QWERTY รุ่นใหม่ โดยเป็นโทรศัพท์ราคาถูกตระกูล Asha โทรศัพท์รุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อรุ่นว่า Asha 210 เป็นมือถือสไตล์แคนดี้บาร์ มีจุดเด่นที่สามารถเล่น WhatsApp ได้ฟรี (ไม่เสียค่าแอพฯ แต่เสียค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตนะ) โดย Asha 210 จะมี 2 รุ่นคือแบบ 1 ซิม และ 2 ซิม

Nokia-Asha-210-Yellow_DualSIM_Whatsapp-580x489Nokia-Asha-210_Yellow_SingleSIM_Self_Portrait-566x500

จุดเด่นของโทรศัพท์รุ่นนี้คือ  มีปุ่ม WhatsApp ให้มาบนเครื่องเลย กดเพื่อแชทได้ตลอดเวลา และผนวก WhatsApp เข้าไปในสมุดโทรศัพท์ของ Asha 210 เอาไว้ให้ด้วย

อย่างอื่นที่น่าสนใจก็มี Wi-Fi,  กล้องหลัง 2MP  ไม่มีกล้องหน้า  ไม่รองรับ 3G  ใช้งานได้แค่ GPRS/EDGE  มีแอพฯอย่าง Facebook, Twitter, Gmail และ Youtube มาให้ด้วย     

โนเกียจะวางขายในไตรมาศ 2 ปีนี้ ในราคา $72 คิดเป็นเงินไทยก็เกือบๆ 2,100 บาท

ครม.แก้ ก.ม.กบข.ให้ ขรก.เลือกรับบำนาญ

ที่มา  :   เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ

กบข

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

อนุมัติร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวมทั้งเห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเข้าบัญชีเงินสำรองเพิ่มขึ้น  เพื่อรองรับภาระการจ่ายบำเหน็จบำนาญ  และเพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและลดภาระให้แก่ข้าราชการและผู้รับบำนาญ จึงเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว รวมทั้งเงินบำนาญส่วนเพิ่ม จากการดำเนินการตามแนวทางที่ให้ข้าราชการและผู้รับบำนาญซึ่งเป็นสมาชิก กบข.โดยสมัครใจสามารถเลือกกลับไปรับบำนาญตามระบบเดิม

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. การแก้ไขปัญหาสมาชิก กบข. ในเรื่องบำนาญ มีดังนี้

๑) ข้าราชการ (สมาชิก กบข. ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และสมัครเป็นสมาชิก กบข.) 
      (๑) สมาชิก กบข.ซึ่งประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ และให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลง ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ 
      (๒) ผู้ซึ่งจะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ยกเว้นกรณีถึงแก่ความตาย ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อวันออกจากราชการ 
(๓) การแสดงความประสงค์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ หรือวันออกจากราชการ และให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ทั้งนี้ การแสดงความประสงค์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด 
(๔) ข้าราชการตามข้อ (๑)-(๓) ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว โดยให้ กบข.ส่งเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงินสำรอง สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว กบข.จะจ่ายคืนให้แก่ข้าราชการผู้นั้น
(๕) การส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรองและการจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ให้เป็นไปตามที่ กบข. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะกำหนดให้ กบข. นำเงินประเดิม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับคืนจากสมาชิกส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง ทั้งนี้ กบข. จะต้องจัดทำรายงานการนำเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวส่งเข้าบัญชีเงินสำรองต่อกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ กบข. จะต้องรายงานให้กรมบัญชีกลางทราบ 
(๖) หากข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ หรือก่อนวันออกจากราชการ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ

๒) ผู้รับบำนาญ (สมาชิก กบข. ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และสมัครเป็นสมาชิก กบข. แต่ได้ออกจากราชการแล้ว)
      (๑) หากประสงค์จะขอกลับไปรับบำนาญตามสูตรเดิม (พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔) ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ และผู้รับบำนาญจะต้องคืนเงินก้อน (เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว) ที่ได้รับไปแล้วแก่ทางราชการ โดยผู้รับบำนาญจะได้รับบำนาญตามสูตรเดิม ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ โดยวิธีหักกลบลบกัน 
(๒) การหักกลบลบกัน หากมีกรณีที่ผู้รับบำนาญต้องคืนเงิน ให้ผู้รับบำนาญคืนเงินแก่ส่วนราชการผู้เบิกภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ เพื่อนำส่งให้กรมบัญชีกลาง โดยเงินที่ส่วนราชการได้รับคืน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หากมีกรณีที่ต้องคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ กรมบัญชีกลางจะคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ หากมีเงินเหลือจะนำส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง 
(๓) ผู้รับบำนาญที่ได้แสดงความประสงค์แล้ว เป็นผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการ แต่หากผู้รับบำนาญมีกรณีที่ต้องคืนเงิน ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ จึงจะได้รับสิทธิดังกล่าว 
 (๔) หากผู้รับบำนาญซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ และหากมีกรณีต้องคืนเงินให้ส่วนราชการผู้เบิกแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อถอนเงินที่ผู้รับบำนาญคืนให้แก่ส่วนราชการผู้เบิก เพื่อคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด จะกำหนดเรื่องการดำเนินการถอนเงินคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญที่ตายไปก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ

วิกฤตครู เกษียณแสน56-60 คปร.คืน20%

ที่มา  :  มติชนออนไลน์    วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:14:03 น.

ครู

รายงานข่าวแจ้งว่า  จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  พบว่า จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2556-2560 มีจำนวน 97,254 คน  มีรายละเอียดดังนี้

ปี 2556 จ ำนวน 10,932 คน  ได้แก่  อันดับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (คศ.) 1 จำนวน 11 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 3,929 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 6,556 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 260 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 167 คน

ปี 2557 จำนวน 15,541 คน ได้แก่ คศ. 1 จำนวน 6 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 5,774 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 9,239 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 275 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 237 คน

ปี 2558 จำนวน 20,661 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 23 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 7,612 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 12,546 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 206 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค(2) จำนวน 264 คน ปี 2559 จำนวน 24,689 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 28 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,165 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,019 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 174 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 5 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 298 คน

ปี 2560 จำนวน 25,431 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 42 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,057 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,865 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 146 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 2 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 319 คน

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)  กล่าวว่า  เรื่องนี้หน่วยผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ จะต้องมาขอข้อมูลเพื่อผลิตบัณฑิตให้เพียงพอทดแทนกับข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการในช่วงปี 2556-2560  ซึ่งจะต้องมาดูว่า จะต้องผลิตบัณฑิตในสาขาอะไรบ้าง  และจะต้องเริ่มวางแผนการผลิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้  โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีการประสานหรือขอข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานที่ข้าราชการครูเหล่านี้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ก็ไม่สามารถกำหนดอัตรามาทดแทนได้ เพราะตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ(คปร.) ได้กำหนดให้มีการคืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ ศธ.100% จนถึงปี 2556 นี้  และหลังจากนัั้นจะเหลืออัตราคืนให้เพียง 20% ของอัตราเกษียณในแต่ละปี โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2557-2560 แล้ว จะได้อัตราเกษียณคืนมาประมาณ 20,000 อัตราเท่านั้น  ฉะนั้น หากไม่มีการวางแผนแล้ว  ก็จะมีปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครู อย่างแน่นอน

”หน่วยผลิตสามารถเสนอขอข้อมูลมายัง ก.ค.ศ.เพื่อให้วิเคราะห์รายละเอียดข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการช่วงปี 2556-2560 จำแนกตามสาขาวิชาเอกได้ จะได้เป็นประโยชน์ในการผลิตบัณฑิตให้เพียงพอ ในส่วนของ สพฐ.นั้น ก็อาจจะต้องสรรหาครูให้ตรงและเพียงพอกับสาขาที่ขาดแคลน”Ž เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

เสริมศักดิ์กำชับครูสังวรตน เป็นตัวอย่างนร.

ที่มา  :  ASTVผู้จัดการออนไลน์  3 เมษายน 2556 17:43 น

 “เสริมศักดิ์” กำชับครู พึงสังวร คิดทำอะไรไม่ถูกต้อง ย้ำยิ่งเป็นครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและคนทั่วไป

          นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวว่าครูติดการพนันว่า ครูเป็นแม่พิมพ์ที่จะต้องเป็นแบบบอย่างที่ดีให้กับเด็กนักเรียน  รวมถึงบุคคลทั่วไป   ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติตัวจะต้องอยู่ในกรอบที่เหมาะสม โดยจะต้องดูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ด้วย  ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่   ไม่ใช่แค่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเดียวเท่านั้น  ฉะนั้น ครูที่เล่นการพนันจึงถือว่ามีความผิดมากกว่าข้าราชการ  ผิดมากกว่าคนทั่วไป  ในส่วนของบทลงโทษนั้น เท่าที่ดูครูที่เล่นการพนันจะมีโทษทางวินัยอยู่แล้ว  กฎหมายก็เขียนไว้ว่าเล่นการพนันผิดกฎหมาย   แต่ถ้าเป็นครูเหมือนกับมีกฎหมายและมีจรรยาบรรณที่เข้ามาดูแลมากกว่าคนอื่น   แต่ตนจะกำชับให้ครูไม่เล่นการพนัน  และประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนและคนทั่วไป         

         “เชื่อว่าคนเล่นการพนันก็มีอยู่ทั่วไป  แต่ในวงการครูหรือข้าราชการอื่นๆ มีระเบียบวินัยต่างๆ ที่เป็นชนักไว้ให้พึงสังวรให้มาก ถ้าจะไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้องก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์เสียๆ หายๆ มาถึง ศธ.ด้วย ซึ่งผมจะกำชับไปว่า  รูไม่ควรไปเกี่ยวข้องกับการพนันทุกรูปแบบ แม้จะไปนั่งดูเขาเล่น เพราะถ้าถูกจับก็จะถูกสันนิษฐานทันทีว่าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย” นายเสริมศักดิ์ กล่าว

ลูกจ้างสพฐ.รวมตัวเรียกร้องสิทธิ

ตัวแทนลูกจ้างสพฐ.บุกกระทรวงศึกษาทวงสิทธิเงินเพิ่มค่าครองชีพ ต่อสัญญาจ้างทุกโครงการทุกตำแหน่งโดยไม่เลือกปฏิบัติ

ที่มา :   เดลิินิวส์ วันพุธที่ 3 เมษายน 2556  11.35 น.

       

วันนี้( 3 เม.ย.) ที่บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ บรรดาลูกจ้างชั่วคราวสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งประกอบด้วยลูกจ้างโครงการพัฒนาครูทั้งระบบ โครงการคืนครูให้นักเรียน โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และโครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 200 คน นำโดย นายอมรัตน์ ทองสาคร ประธานเครือข่ายลูกจ้างชั่วคราว สพฐ. ได้มาเรียกร้องสิทธิและทวงสัญญาจากรัฐบาลที่เคยรับปากจะช่วยเหลือลูกจ้างชั่วคราวให้มีความมั่นคงในชีวิต

นายอมรัตน์ กล่าวว่า พวกตนเคยมายื่นข้อเรียกร้องหลายครั้งแล้ว โดยขอให้มีการต่อสัญญาจ้างให้กับลูกจ้างชั่วคราวสังกัด สพฐ.ทุกโครงการ และขอให้ได้รับสิทธิเงินเพิ่มค่าครองชีพปริญญาตรี 15,000 บาทตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมทั้งให้บรรจุเป็นพนักงานราชการเมื่อทำงานครบ 3 ปี เพื่อให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่ แต่ที่ผ่านมาพวกตนไม่เคยได้รับการเยียวยาอย่างที่รับปาก มีแต่การโปรยยาหอมจึงต้องรวมตัวกันมาทวงสัญญา เนื่องจากขณะนี้ทางเขตพื้นที่การศึกษาได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงเรียนแจ้งให้ทราบว่าจะเลิกสัญญาจ้าง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาครูทั้งระบบในเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้

ด้านนายพิธาน พื้นทอง ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. กล่าวว่า ได้ประสานกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่งรมว.ศึกษาธิการได้รับในหลักการที่จะนำเรื่องการต่อสัญญาจ้างเข้าพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ต้องดูผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาด้วย ส่วนเงินเดือน 15,000 บาทนั้นเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการได้นำเสนอต่อ ครม.แล้ว แต่ต้องพิจารณาไปพร้อมกับลูกจ้างในสังกัดอื่นๆทั่วประเทศด้วย สำหรับการบรรจุเป็นพนักงานราชการนั้น สพฐ.รับที่จะนำเข้า คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ระบบเกี่ยวกับตำแหน่ง ที่ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อขออนุมัติสิทธิพิเศษให้ลูกจ้างชั่วคราวสอบบรรจุเป็นพนักงานราชการได้


ลูกจ้างชั่วคราว สพฐ.บุก ศธ.ทวงสัญญาเพิ่มค่าครองชีพ 1.5 หมื่น    ที่มา  :  ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 เมษายน 2556

กลุ่มลูกจ้างชั่วคราวฯ สพฐ. บุก ศธ. ทวงสัญญารัฐบาลดูแลความมั่นคงทางอาชีพ ด้านแกนนำ เผยยื่นข้อเรียกร้องมาแต่ปี 55 จนตอนนี้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ลั่นคราวนี้ต้องมีความชัดเจนอย่างน้อยขอให้ดูการต่อสัญญาจ้าง เพิ่มค่าครองชีพ 1.5 หมื่นบาท ก่อน ขณะที่ “พงศ์เทพ” บอกผ่าน ผอ.สพร.รับในหลักการจะเสนอเรื่องต่อสัญญาจ้างต่อ ครม. ขณะที่ปรับเพิ่ม 1.5 หมื่นเสนอ ครม.แล้วแต่ต้องรอการพิจารณาพร้อมหน่วยงานอื่น ๆ

วันนี้ (3 เม.ย.) เมื่อเวลา 08.30 น.ที่บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายอมรัตน์ ทองสาคร ประธานเครือข่ายลูกจ้างชั่วคราว สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยลูกจ้างชั่วคราวฯ ในโครงการแผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษาผลผลิตผู้จบการศึกษาภาคบังคับ โครงการพัฒนาครูทั้งระบบ โครงการคืนครูให้นักเรียน โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และโครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้งบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งระยะที่ 2 หรือ SP2 กว่า 200 คน เดินทาง เพื่อเรียกร้องสิทธิและทวงสัญญาจากรัฐบาลที่เคยรับปากจะช่วยเหลือให้ลูกจ้างชั่วคราวให้มีความมั่นคงทางวิชาชีพ โดยต้องการขอเข้าพบ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเดินทางไปปฏิบัติราชการที่จ.หนองคาย

นายอมรัตน์ กล่าวว่า พวกตนเคยมายื่นข้อเรียกร้องหลายครั้งแล้วตั้งแต่ปลายปี 2555 ที่ผ่านมา ว่าขอให้มีการต่อสัญญาจ้างให้กับลูกจ้างชั่วคราวสังกัด สพฐ.ในทุกโครงการ และขอให้ได้รับสิทธิเงินเพิ่มค่าครองชีพปริญญาตรี 15,000 บาทตามนโยบายของรัฐบาลด้วย ขณะเดียวกัน ขอให้บรรจุเป็นพนักงานราชการสำหรับลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานครบ 3 ปี เพื่อให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่ ซึ่งที่ผ่านมาพวกตนไม่เคยได้รับการเยียวยาอย่างที่รับปาก มีแต่การโปรยยาหอมจึงต้องรวมตัวกันมาทวงสัญญา เนื่องจากขณะนี้ทางเขตพื้นที่การศึกษาได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงเรียนแจ้งให้ทราบว่าจะเลิกสัญญาจ้าง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาครูทั้งระบบในเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้

“วันนี้พวกผมอยากได้คำตอบที่ชัดเจนว่าข้อเรียกร้องที่ขอไปนั้น ศธ. และรัฐบาลจะทำให้ได้เมื่อไร ซึ่งหากเบื้องต้นสามารถดูแลเรื่องการทำสัญญาในทุกโครงการให้พวกเราทุกคนมีความมั่นคง คือ ให้ได้เข้าเป็นลูกจ้างในระบบของ สพฐ รวมทั้งปรับเพิ่มค่าครองชีพให้ได้ 15,000 บาทนั้น ซึ่งถ้าทำ 2 เรื่องนี้ให้ก่อนพวกเราพอจะยอมรับได้ โดยกลุ่มลูกจ้างชั่วคราวทั่วประเทศมีจำนวน 65,172 คน”นายอมรัตน์ กล่าว

ด้านนายพิธาน พื้นทอง ผู้อำนวยสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สพฐ. กล่าวว่า ได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการได้รับในหลักการที่จะนำเรื่องการต่อสัญญาจ้างเข้าพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่ต้องดูผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาด้วย ส่วนเงินเดือน 15,000บาท ขณะนี้ ศธ. ได้เสนอเรื่องไปยังที่ ครม.แล้วแต่ต้องพิจารณาไปพร้อมกับลูกจ้างในสังกัดอื่นๆทั่วประเทศด้วย ส่วนข้อเรียกร้องให้บรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติมาแล้ว 3 ปีเป็นพนักงานราชการ นั้น สพฐ.รับที่จะนำเข้าสู่คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.) ระบบเกี่ยวกับตำแหน่ง ที่ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เพื่อขออนุมัติสิทธิพิเศษให้ลูกจ้างชั่วคราวสอบบรรจุเป็นพนักงานราชการได้

พงศ์เทพ-เสริมศักดิ์ไม่เด้งชินภัทรพ้นสพฐ.

ที่มา  :   ASTVผู้จัดการออนไลน์  27 มีนาคม 2556 16:37 น.

p68533921625f21

 

“พงศ์เทพ-เสริมศักดิ์” รวมพลังไม่เด้ง “ชินภัทร” พ้นสพฐ.

cosline1

“พงศ์เทพ-เสริมศักดิ์” ยังไม่พิจารณาเด้ง “ชินภัทร” ออกนอก สพฐ. อ้างขอดูข้อมูลให้รอบด้าน แจงที่ผ่านมามีการขยับไปมากแล้ว ด้าน”ชินภัทร”ชะลอตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีก 5 ชุดเผยให้ตรวจสอบทางลับก่อน 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ได้ให้ข้อพิจารณาไปกับนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่าควรพิจารณาให้รางวัลกับผู้ที่มาให้ข้อมูลทุจริตการสอบครูผู้ช่วยในเขต 2 อุดรธานี และยโสธร โดยวันที่ 27 มี.ค.2556 กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ นำกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยเข้าเป็นคดีพิเศษ โดยตนจะตั้งศูนย์อำนวยการสนับสนุนคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษา มีผู้ตรวจราชการศธ. ทีมกฏหมาย รวมทั้งตนจะออกไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ และจะเร่งรัดทำเรื่องนี้ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบภาพลักษณ์ครู 

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในระหว่างที่มีการสอบสวนจำเป็นต้องย้าย เลขาธิการ กพฐ.ออกไปก่อนหรือไม่ นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูก่อนและได้หารือกับ รมว.ศึกษาธิการ แล้วว่าโดยหลักการทั่วไปถ้ามีการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่ อาจมีผลต่อการสอบสวน ไม่สะดวก ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจไม่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยหลักการจะมีการขอให้ขยับออกชั่วคราวระยะหนึ่ง 

ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้หารือกับนายเสริมศักดิ์ ถึงกรณีระหว่างที่มีการสอบสวนจะต้องมีการขยับขยายผู้บริหารสูงสุดหรือไม่ โดยเรื่องนี้จะต้องขอดูข้อมูลรอบด้านได้ก่อน โดยสิ่งที่ทุกคนต้องการเห็นคือ ทำอย่างไรที่การสืบสวนคดีสามารถดำเนินการไปได้อย่างไม่ติดขัด และไม่มีใครแคลงใจอะไร ดังนั้นจึงต้องขอดูข้อมูลก่อน ว่าจะต้องขยับอะไรหรือไม่ ส่วนการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบระบบภายในสพฐ.นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอตัวบุคคลเข้ามาให้ตนพิจารณา 

“การโยกย้ายข้าราชการระดับสูงเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการสืบสวนข้อเท็จจริงนั้น ขึ้นอยู่กับว่าการสอบสวนในเรื่องนั้นมีความเชื่อมโยงมากน้อยขนาดไหน ถ้าถามว่าจะมีข้าราชการสักคนหนึ่งไปทำอะไรที่ผิดวินัย หรือทำอะไรที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย แล้วต้องขยับผู้บริหารสูงสุดเสมอไป คงไม่ใช่แน่เพราะที่ผ่านมาก็มีข้าราชการโดนสอบวินัยจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้มีการขยับผู้บริการระดับสูง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีข้อมูล ให้เห็นชัดเจนว่ามีการเชื่อมโยงกันกัน ก็จะต้องดูเป็นกรณี ๆ ไป” นายพงศ์เทพ กล่าว 

ถามด้วยว่า กรณีการทุจริต สอบครูผู้ช่วย เคยมีการออกมาระบุว่า มีผู้บริหารระดับสูง และระดับกลางเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ตรงนี้ถือว่ามีความชัดเจน และจำเป็นต้องขยับผู้บริหารออกไปก่อนเพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคกับการสอบสวนหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ต้องดูข้อมูล ซึ่งจริงๆ ก็มีการขยับไปเยอะแล้ว และในส่วนของดีเอสไอก็มีข้อมูลบางอย่างที่เห็นว่าควรจะขยับอะไรอย่างไร โดยปกติดีเอสไอไม่ต้องเกรงใจใครอยู่แล้วเพราะเขาไม่รู้จัดคนของศธ. 

ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้ชะลอการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง 5ชุดที่มีผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงใน 10 เขตพื้นที่การศึกษาที่พบข้อมูลส่อทุจริตไว้ก่อน ทั้งนี้ เพราะทางฝ่ายนิติกรต้องการให้มีการสอบสวนในทางลับก่อน เพราะก่อนหน้าในกรณีของ สพป.ขอนแก่น เขต 3 ก็มีการสอบในทางลับก่อน เมื่อพบว่า มีมูลจึงตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพราะฉะนั้น เพื่อให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน จึงยังไม่มีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง แต่ให้สอบสวนทางลับก่อน

จ่อเด้ง เลขาฯสพฐ.ชั่วคราว

ที่มา  :  ไทยรัฐออนไลน์  วันที่  27  มีค 2556  :  10.59 น.

64633

 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ยอมรับ อาจเด้ง เลขาฯ สพฐ.ชั่วคราว เปิดทางลุยสอบทุจริตครูผู้ช่วย จนกว่าจะเสร็จสิ้น…นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสอบสวนการทุจริตสอบครูผู้ช่วย ว่า ได้ให้ข้อพิจารณากับ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่า ควรให้รางวัลกับผู้ที่มาให้ข้อมูลทุจริตการสอบ อุดรธานี เขต 3 และ ยโสธร โดยในวันนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ จะได้นำกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย เข้าเป็นคดีพิเศษ 

อย่างไรก็ตาม ตนเองจะตั้งศูนย์อำนวยการสนับสนุน คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ และตั้งผู้ตรวจราชการกระทรวง ทีมกฎหมาย รวมทั้ง ตนเองจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและเร่งรัด ทำเรื่องนี้ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบภาพลักษณ์ครู ที่รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาหนี้สินให้ แต่กรณีนี้ เมื่อมาเป็นครู ก็จะเป็นหนี้ทันที 

ส่วนที่มีความจำเป็นต้อง ย้ายเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกไปก่อนหรือไม่ ในระหว่างที่มีการสอบสวน นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูก่อนและได้หารือกับ รมว.ศธ. แล้ว โดยหลักการทั่วไป ถ้ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่ อาจมีผลต่อการสอบสวน ไม่สะดวกต่อผู้บังคับบัญชา อาจไม่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยหลักการ จะมีการขอให้ขยับออกชั่วคราวระยะหนึ่ง.

ดีเอสไอสอบ”ครูผู้ช่วย”เลิก4เขตพื้นที่

ดีเอสไอแถลงผลทุจริต”ครูผู้ช่วย” เลิก 4 เขตพื้นที่

cosline1

ที่มา  :  มติชนออนไลน์  วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:41:20 น.

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 20 มีนาคม ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธาริต  เพ็งดิษฐ์  อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วยนายเสริมศักดิ์  พงษ์พานิช  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวข่าวคดีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยว่า  โดยนายธาริต  กล่าวว่า  ในวันนี้ดีเอสไอได้สรุปรายงานผลการสืบสวนกรณีทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)  โดยผลการสืบสวนพบพยานหลักฐานปรากฏดังนี้ คือ 1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ขอนแก่น เขต 3  มีบุคคลเข้าสอบแทน  2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ขอนแก่น เขต 3 ผู้เข้าสอบได้เฉลยข้อสอบมาทั้ง 4 วิชา โดยมีการส่งข้อความมาทาง SMS แต่ผู้เข้าสอบไม่ได้นำเข้าไปในห้องสอบ  แต่ใช้วิธีท่องจำเข้าไป 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) อุดรธานี เขต 3 ผู้เข้าสอบได้นำเครื่องมือ สื่อสารเพื่อใช้ส่งสัญญาณเฉลยข้อสอบ และมีการนำเฉลยข้อสอบเข้าห้องสอบ  4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) ยโสธร เขต 1 ผู้เข้าสอบนำเฉลยข้อสอบเข้าไปในห้องสอบ  5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)นครราชสีมา เขต 2 ผู้เข้าสอบได้เฉลยข้อสอบมาทั้ง 4 วิชา แต่ไม่ได้นำเข้าไปในห้องสอบ   ใช้วิธีการท่องจำเข้าไป  6. จากการตรวจสอบคะแนนผู้ที่สอบได้ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ปรากฏว่าผลการสอบมีผู้ที่ทำคะแนนสอบได้สูงผิดปกติ จำนวน 486  ราย จากผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 9,242  ราย แต่สามารถบรรจุได้ จำนวน 2,161 ราย  

นายธาริต กล่าวว่า จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าการสอบคัดเลือกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2556 มีการทุจริตจริง ดังนั้น ดีเอสไอจึงขอเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการสอบเฉพาะ พื้นที่ที่พบทุจริตชัดเจนดังกล่าว ได้แก่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  ยโสธร เขต 1 , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2  และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 3   พร้อมกันนี้ยังขอให้กระทรวงศึกษาธิการควรจะต้องพิจารณาคะแนนของผู้ที่ว่ามีคะแนนสูงผิดปกติหรือไม่ เพื่อประอบการยกเลิกต่อไปด้วย

นายธาริต ยังกล่าว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ เชื่อว่าการทุจริตสอบครูผู้ช่วยในครั้งนี้ มีการกระทำเป็นขบวนการระหว่าง เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและผู้เข้าสอบ และมีการเตรียมการมาตั้งแต่ต้น ทั้งในส่วน เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและผู้เข้าสอบ โดยมีการเตรียมการมาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ เพื่อให้มีอำนาจในการสอบสวนเชิงลึกดีเอสไอจะเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) เพื่อมีมติให้กรณีทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสพฐ. เป็นคดีพิเศษ ในวันที่ 27 มี.ค.นี้  เมื่อรับเป็นคดีพิเศษเพื่อดำเนินคดีอาญาได้อย่างเต็มที่แล้วดีเอสไอจะแจ้งให้กระทรวงศึกษาเข้าร้องทุกข์อย่างเป็นทางการด้วย  โดยการดำเนินคดีอาญาไม่จำเป็นต้องรอผลการตรวจสอบทางวินัย  

ด้านนายเสริมศักดิ์  กล่าวว่า   เดินทางมาขอรับผลการสืบสวนตามที่เคยร้องขอให้ตรวจสอบ  เนื่องจากในวันที่ 22 มี.ค.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งจะนำผลสอบของดีเอสไอไปประกอบการพิจารณากับข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อดูว่าใน 4 เขตนั้นมีการทุจริต ตรงกันหรือไม่ แต่เบื้องต้นข้อมูลทั้ง 4 เขตของดีเอสไอและกระทรวงศึกษาธิการตรงกัน  แต่การพิจารณาว่าจะยกเลิกทั้งเขตหรือไม่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ 

เมื่อถามถึงกรณีตรวจสอบข้อสอบรั่ว นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่มีสรุปแน่นอน แต่ข้อสอบรั่วมีแน่ เพราะครั้งนี้เป็นตำแหน่งวิชาเอก 30 วิชา  วิชาร่วมมี 3 วิชา  ดังนั้น การที่ข้อสอบจะคงรั่วหลายเขต

ปทุมฯโผล่สอนไม่เป็น 5คผช. 3ใน5ได้ที่1

ที่มา  :  มติชนออนไลน์  วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:45:52 น.

735156_526183240767096_80435884_n

จากกรณีที่นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ครั้งที่ผ่านมา ระบุว่าได้รับแจ้งจากผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี ว่าผู้ที่สอบได้ลำดับที่ 1 ในวิชาเอกคอมพิวเตอร์ และได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมแห่งนี้ ทำการสอนไม่ได้ ซึ่งสะท้อนว่าคนที่สอบครูผู้ช่วยได้ครั้งนี้อาจไม่ใช่คนเก่งจริงนั้น

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม นายพิทยา ไชยมงคล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ผอ.สพม.) เขต 4 ซึ่งกำกับดูแลโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ จ.ปทุมธานี กล่าวว่า จากการตรวจสอบครูผู้ช่วยที่บรรจุในโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ จ.ปทุมธานี พบเบื้องต้นมีปัญหาไม่สามารถสอนนักเรียนได้ถึง 5 คนแล้ว โดยเป็นคนที่สอบได้คะแนนสูงสุดในลำดับที่ 1 ของ จ.ปทุมธานี ถึง 3 ราย และเป็นครูมาจากต่างถิ่น ส่วนใหญ่มาจากหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้รุกขยายลงมาถึง จ.ปทุมธานี แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อโรงเรียนและชื่อครูผู้ช่วยเหล่านี้ได้

“เป็นเรื่องน่าแปลกใจมาก ที่ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงเป็นลำดับที่ 1 มาจากครูสอนระดับประถมศึกษา ส่วนคนที่สอนอยู่ระดับมัธยมศึกษากลับสอบไม่ติด ทั้งนี้ ทราบว่ามีผู้สมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้หลายรายได้เสียเงินคนละหลายแสนบาท เพื่อสอบเข้ามาเป็นครูผู้ช่วย” นายพิทยากล่าว และว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ สพม. เขต 4 ได้รวบรวมข้อมูลความผิดปกติเกี่ยวกับครูผู้ช่วยรายงานไปยัง ศธ. เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป

ด้านนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีประเด็นที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯได้ตรวจสอบในกรณีที่มีผู้สมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้รวมกว่า 18,000 คน แต่มีผู้เข้าสอบจริงประมาณ 9,000 คนเท่านั้น ที่เหลือประมาณครึ่งหนึ่งไม่มาสอบ เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องตรวจสอบดูว่า มาจากสาเหตุอะไร เกิดอะไรขึ้น เพราะเบื้องต้นมีกระแสข่าวว่าคนที่ไม่มาสอบเหล่านี้รู้ว่ามีขบวนการทุจริต จึงไม่มาสอบ เพราะสอบไปก็สู้คนที่ทุจริตจ่ายเงินไม่ได้

นายเสริมศักดิ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มีข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า มีผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยบางคน สอบได้คะแนนในภาพรวมอันดับที่ 800 กว่า และสอบได้คะแนนศูนย์ในบางชุดวิชา จากทั้งหมด 4 ชุดวิชา จึงได้ให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯไปตรวจสอบว่า ทำไมจึงได้รับการบรรจุ ซึ่งทราบว่ามีหลายคนที่ได้คะแนนในลักษณะนี้ ส่วนที่มีกระแสข่าวมีกลุ่มนักการเมืองระดับชาติที่อยู่ในขบวนการทุจริตสอบบรรจุครูผู้ช่วย ลงขันกันจ่ายเงินเพื่อให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.นั้น ก็ได้ยินมาเหมือนกัน โดยมีผู้หวังดีมาบอกว่า มีคนเตรียมการเรื่องนี้อยู่ ซึ่งตนกำลังให้ตรวจสอบหาข้อมูลอยู่ว่าเป็นจริงหรือไม่

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวว่า เรื่องการพิจารณายกเลิกผลการสอบครูผู้ช่วย เนื่องจากปัญหาการทุจริตนั้น โดยหลักการผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมาโดยไม่ถูกต้องจะต้องถูกดำเนินการ ในกรณีไหนที่ชัดเจน มีหลักฐานว่าได้รับการคัดเลือกมาอย่างไม่ถูกต้อง จะต้องมีกระบวนการที่ไม่ให้คนเหล่านี้มีสิทธิเป็นข้าราชการครู ซึ่งต้องขอดูรายละเอียดในแต่ละพื้นที่ก่อน เช่น ในพื้นที่หนึ่งมีผู้ที่สอบบรรจุได้ แต่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าไม่ได้สอบด้วยความรู้ ความสามารถของตัวเอง ถามว่าจะแยกแยะได้หรือไม่ว่าคนที่เหลือในพื้นที่สอบด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง เพราะมีข้อมูลว่าในบางพื้นที่พบคนที่สอบไม่ได้อาจเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริต โดยรู้ข้อสอบก่อน และมีคะแนนสูงผิดปกติเช่นกัน หากเป็นลักษณะนี้จะให้ยกเลิกผลการสอบของคนที่ได้รับบรรจุมาอย่างไม่ถูกต้อง แล้วเลื่อนอันดับมาบรรจุผู้สอบได้ในลำดับถัดไป ซึ่งมาอย่างไม่ถูกต้องเช่นกัน ก็คงจะบรรจุให้ไม่ได้ ฉะนั้น ทั้งหมดนี้ต้องขอดูรายละเอียดแล้วพิจารณาว่า จะให้ความเป็นธรรมกับคนที่สอบได้ด้วยความรู้ความสามารถของตนเองอย่างไร

“ที่พูดกันว่าผู้ที่ทุจริตการสอบในคราวนี้ จะต้องชดใช้ความเสียหายทางแพ่งด้วยหรือไม่นั้น จะต้องไปดูว่าเข้าข่ายละเมิดหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นตัวอย่างว่า การอ้างว่ามีทุจริตแล้วยกเลิกการสอบจะเรียกค่าจัดการสอบจากคนทุจริตได้ เพราะถือว่าใครที่ทุจริตก็จะตัดสิทธิไป แต่การทุจริตบางกรณี เช่น ขโมยข้อสอบไป ทำให้ผู้เข้าสอบคนอื่นเสียหาย ต้องเดินทางมาสอบหลายรอบ ก็อาจจะเรียกข้อหาละเมิดจากคนขโมยข้อสอบได้ แต่กรณีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ไม่ใช่” นายพงศ์เทพกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะพิจารณาโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีข้อมูลว่าเชื่อมโยงกับขบวนการทุจริตหรือไม่ นายพงศ์เทพกล่าวว่า หากดูข้อมูลหลักฐานแล้วว่าจะกระทบต่อการสอบสวน ก็จะต้องพิจารณาเรื่องนี้ แต่ทั้งหมดนี้ต้องรอผลการสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก่อน และจะได้หารือร่วมกับนายเสริมศักดิ์ในฐานะที่กำกับดูแล สพฐ.ต่อไป แต่ขณะนี้ยังพูดอะไรไม่ได้

สพฐ.เตรียมปรับโครงสร้างหลักสูตรใช้ปี56

ที่มา  :   เดลินิวส์  วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2556  เวลา 14:16 น

วันนี้(5มี.ค.) ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการปฎิรูปแห่งชาติที่มีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานในวันที่ 9 มี.ค.ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  เตรียมเสนอจุดยืนที่จะให้มีการปรับกระบวนการมากกว่าการรื้อโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน เพราะมองว่าโครงสร้างหลักสูตรของสพฐ.ยังมีความเหมาะสมสามารถใช้ได้อยู่  ดังนั้นจึงแค่นำเอาจุดอ่อนมาปรับปรุงให้ดีขึ้นจะดีกว่า  เช่น เรื่องสมรรถนะการคิดของนักเรียน  และการเรียนรู้ผ่านการปฎิบัติ  ซึ่งที่ผ่านมาจะพบว่ายังมีน้อยมากจึงจำเป็นต้องเร่งให้มีการเรียนรู้ผ่านการปฎิบัติให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เกิดจินตนาการ โดยเพิ่มสัดส่วนของเวลาเรียนในส่วนนี้ให้มากขึ้น  ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนเวลาเรียนได้จะต้องเกิดการบูรณาการ โดยเฉพาะช่วงชั้นที่สูงกว่าระดับประถมศึกษาไปแล้วจะต้องเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ การสรุปองค์ความรู้ และการประยุกต์ความรู้ให้มากขึ้น  แต่ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 จะต้องให้สัดส่วนของเวลาเรียนด้านเครื่องมือพื้นฐานอย่างเต็มที่ โดยการปรับดังกล่าวจะทำให้แล้วเสร็จเพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษา 2556  ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าว สพฐ.จะนำผลวิจัยของต่างประเทศเกี่ยวกับสัดส่วนเวลาเรียนของนักเรียน เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ แคนาดา มานำเสนอต่อที่ประชุมด้วย
 

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า   นอกจากนี้จะเสนอเรื่องการลดการบ้านนักเรียน ซึ่ง สพฐ.จะเดินหน้าให้ทุกโรงเรียนมีการบูรณการการให้การบ้านเด็กของทุกวิชา   เพราะการบ้านยังถือว่ามีความสำคัญอยู่ เพราะเด็กจะต้องทบทวนและเพิ่มความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการคิดเลข ภาษา แต่ทั้งนี้ตนไม่อยากให้เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาต้องเป็นการบ้านที่เด็กนำกลับไปทำที่บ้าน เพราะเป็นเรื่องซับซ้อนและยากเกินไป ซึ่งจะสร้างความเครียดให้เด็กเพิ่มมากขึ้นและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้วย  ดังนั้นจะต้องมีการทบทวนเรื่องการให้การบ้านจะต้องมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ทั้งนี้ในเรื่องการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนและการลดการบ้านนักเรียน ซึ่งสพฐ.จะจัดอบรมครูในเดือนเมษายน พร้อมแจกคู่มือการบูรณาการการเรียนการสอนครบวงจร เพื่อนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอน

สพฐ.ย้ำไม่เคยคิดยกเลิกให้การบ้านนักเรียน

ที่มา  :  เดลินิวส์  วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16:10 น.

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เปิดเผยความคืบหน้าการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปหารือร่วมกับภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำการวิจัยประเด็นการลดการบ้านนักเรียน โดยสพฐ.ไม่ได้มีการตั้งโจทย์ไว้ว่าจะให้เป็นไปในทิศทางใด  เพราะ สพฐ.ไม่ได้มีเจตนาที่จะยกเลิกการให้การบ้านกับเด็กตามที่หลายฝ่ายคิด เพียงแต่ต้องการลดปริมาณการบ้านให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงชั้น  เพราะที่ผ่านมาเด็กได้รับการบ้านแบบซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากขาดการประสานงานระหว่างครูผู้สอนแต่ละคน สพฐ.จึงอยากให้ครูประสานเรื่องการให้การบ้านนักเรียนเพื่อให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า  หากศึกษาผลวิจัยในหลายประเทศจะพบว่า การให้การบ้านนักเรียนในบางลักษณะไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่กลายเป็นภาระงานที่เด็กจะต้องทำมากขึ้น  ดังนั้นหากเรามองการปฏิรูปการศึกษาเป็นภาพต่อ เราก็จะมองเห็นภาพที่ประกอบไปด้วย หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนไอซีที การให้การบ้าน และการประเมินผล  ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกันหมด  ดังนั้นการที่จุฬาฯจะวิจัยเรื่องนี้จึงต้องมีการวิเคราะห์ด้วยว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมหรือไม่ และนักเรียนให้ความร่วมมือกับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนมากน้อยเพียงใด เพราะการบ้านเด็กมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งคิดคำนวน การสืบค้นข้อมูล หรือการตีโจทย์แก้ปัญหา เป็นต้น  ซึ่งทั้งหมดนี้จุฬาฯจะต้องไปทำการวิจัยเพื่อหาว่าสิ่งใดจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนได้มากที่สุด.

ครูตกอีเทรนนิ่ง 9พันประเมินวิทยฐานะใหม่

ที่มา  :  มติชนออนไลน์   29 ม.ค. 2556

g16

เมื่อวันที่ 28 มกราคม  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  เปิดเผยภายหลังเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่า  ที่ประชุมมีมติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประมาณ 9,000 คน ที่ผ่านการพัฒนาตามระบบอี-เทรนนิ่ง  แต่ไม่ผ่านการประเมินผลงานทางวิชาการ จึงทำให้ไม่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะ  ได้รับการพิจารณาให้รับการประเมินอีกครั้งหนึ่ง  โดยต้องยื่นคำขอเพื่อเข้ารับการพัฒนาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้/สาขาวิชา  ที่เสนอขอรับการประเมินที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการ  และให้ส่วนราชการดำเนินการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้  และให้ทดสอบความรู้หลังการพัฒนา โดยการพัฒนาจะต้องไม่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอน  ทั้งนี้  เมื่อผ่านการพัฒนาและทดสอบความรู้แล้วต้องกลับไปปฏิบัติงาน ณ สถานศึกษา/สถานที่ปฏิบัติงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน  เมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้วให้ทำรายงานกระบวนการปฏิบัติงานและผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผลการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  ผลการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษา  หรือผลนิเทศการศึกษาแล้วแต่กรณี  ทั้งนี้จะให้ผู้ขอรับการประเมินเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

แนะดูคุณภาพหลังครูมีเงินวิทยฐานะ

ที่มา  :  เดลินิวส์  วันที่  23  มค. 2556

g15

รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.)  เปิดเผยว่า  ปัจจุบันมีนักศึกษาต่างชาติมาเรียนที่ มฟล.จำนวนมาก  ซึ่งพบข้อแตกต่างชัดเจนว่า  นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะตั้งใจเรียนมากกว่าเด็กไทย  ที่สำคัญนักศึกษาต่างชาติบางประเทศ  เช่น  พม่า  เวียดนาม  และภูฏาน  สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเด็กไทยมาก  ส่วนนักศึกษาเกาหลี ญี่ปุ่น ใช้ภาษาอังกฤษอยู่ระดับปานกลาง   ขณะที่นักศึกษาลาว และจีนอยู่ในระดับที่ไม่ดีเท่าไหร่  สำหรับนักศึกษาไทยพบว่า  เด็กที่เก่ง ๆ อยู่ในระดับดีมาก  ส่วนเด็กที่อ่อนก็จะอ่อนไปเลย  ดังนั้นเราต้องพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใหม่ทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพราะจำเป็นต่อการแข่งขันในอนาคต โดยเฉพาะการเปิดประชาคมอาเซียน 

รศ.ดร.วันชัย กล่าวต่อไปว่า  มฟล.พยายามช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษา  โดยการนำครูสอน 8 กลุ่มสาระของโรงเรียนในจังหวัดเชียงรายมาอบรมพัฒนาการเรียนการสอน  ซึ่งผลปรากฏว่า  หลังจากที่ครูมาอบรมกับ มฟล.  ทำให้ผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ของนักเรียนดีขึ้นมาก  อีกทั้งยังพบว่า  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนต่างจังหวัดมีคุณภาพหรือไม่  ขึ้นอยู่ที่ตัวผู้บริหารสถานศึกษา  ที่จะต้องให้ความสนใจ มีเวลา และให้ความสำคัญกับการบริหารโรงเรียนอย่างจริงจัง รวมทั้งการเปลี่ยนตัวผู้บริหารสถานศึกษายังเชื่อมโยงต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั้งโรงเรียนด้วย 

“การปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่ปี 2542  เน้นเปลี่ยนโครงสร้าง  มีการกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ผลคือผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาไม่มีทักษะเพียงพอที่จะกำกับดูแลคุณภาพการศึกษา  จนเกิดความเสียหายต่อการศึกษา  ผมเห็นด้วยให้แก้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542  ให้ปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการใหม่  โดยเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษา  และการพัฒนาครูที่ควรให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ช่วยอบรมพัฒนาครูในโรงเรียนใกล้เคียง  แต่การบริหารงานระบบให้เป็นหน้าที่ส่วนกลางเหมือนเดิม ส่วนเงินวิทยฐานะของครูอยากให้มีการสำรวจใหม่ว่า หลังจากได้เงินวิทยฐานะแล้ว คุณภาพการศึกษาดีขึ้นหรือไม่ แต่เท่าที่ดูคุณภาพยังเหมือนเดิม” รศ.ดร.วันชัย กล่าว. 

พงศ์เทพหนุนคุมจริยธรรมครูห้ามขายสินค้า

ที่มา  :  มติชน  23 มค. 2556

g2

เมื่อวันที่ 22 มกราคม  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยกรณีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)  กำลังจัดทำประชาพิจารณ์ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วย  ประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. … และร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแนบท้าย ซึ่งจะบังคับให้ข้าราชการครูฯต้องปฏิบัติตามร่างประมวลจริยธรรมว่า จริยธรรมข้าราชการเป็นเรื่องที่สำคัญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกกฎจริยธรรมมาใช้   ซึ่งจะเห็นได้ว่าหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นข้าราชการประจำ  ข้าราชการการเมือง หรือองค์กรต่างๆ ได้กำหนดจริยธรรมในเรื่องนี้  รวมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย  ได้กำหนดจริยธรรมด้วยเช่นกัน เพราะหากไม่กำหนดไว้ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายอาจจะไม่ทราบว่าจริยธรรมที่ตัวเองต้องให้ความสนใจ และต้องยึดถือมีอะไรบ้าง ฉะนั้น การจะกำหนดจริยธรรมเกี่ยวข้องข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องมี ทั้งนี้ ประมวลจริยธรรมที่จะกำหนดต้องสามารถปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมได้ ไม่จำเป็นต้องกำหนดไปแล้วปรับปรุงไม่ได้

นางรัตนา ศรีเหรัญ  เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า  ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูฯ พ.ศ. … และร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูฯ  ที่อยู่ระหว่างประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นจากข้าราชการครูฯ ผู้ที่เกี่ยวข้องทาง ก.ค.ศ.จะนำความเห็นต่างๆ มาพิจารณา  เพื่อนำมาปรับและทบทวนร่างดังกล่าวอีกครั้ง  ทั้งนี้ ไม่อยากให้ข้าราชการครูฯกังวลว่าเรื่องนี้จะทำให้ข้าราชการครูฯ มีความยากลำบากในการปฏิบัติตน  เพราะปกติแล้วข้าราชการครูฯประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้ว  อีกทั้ง  ครูส่วนใหญ่มีความประพฤติที่ดี จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจประพฤติไม่ดี  ดังนั้น  คิดว่าเรื่องนี้ไม่กระทบกับข้าราชการครูฯ อย่างแน่นอน และหากมองว่าวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ก็ควรต้องมีร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูฯ พ.ศ. …และร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูฯออกมาใช้จะช่วยส่งเสริมวิชาชีพครูมากยิ่งขึ้น

“การนำของมาขายแก่นักเรียนเป็นเรื่องที่ไม่ควร เพราะครูต้องเป็นผู้ให้ ไม่ใช่มาทำการค้า ซึ่งในร่างประมวลจริยธรรมฯคงไม่สามารถระบุรายละเอียดข้อห้ามไว้ได้หมด จึงต้องระบุเป็นหลักการกว้างๆ และสำนักงาน ก.ค.ศ.อาจจะออกแนวปฏิบัติที่จะมีรายละเอียดข้อห้ามต่างๆ แจ้งไปอีกครั้ง เพื่อให้ปฏิบัติได้” นางรัตนากล่าว

นางรัตนากล่าวอีกว่า ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูฯ พ.ศ. … และร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูฯ  ใกล้เคียงกับของส่วนราชการอื่น  เช่น  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  อย่างไรก็ตาม ช่วงประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้เสนอร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูฯ พ.ศ. … เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว แต่มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ใหม่ จึงส่งเรื่องกลับมาทบทวน และยังไม่ได้ดำเนินการเรื่องนี้ต่อ

แนะนร.เลือกสาขาถนัด-ขาดแคลนไม่ตกงาน

ที่มา  :   เดลินิวส์  วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2556 เวลา 14:50 น.

          เมื่อวันที่  7ม.ค. ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) นายพงศ์เทพ   เทพกาญจนา  รมว.ศึกษาธิการ  กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง  ”ผลกระทบของประชาคมอาเซียน(AEC) ต่อระบบการศึกษาไทย”  ในงานสัมมนาทางวิชาการของครูและอาจารย์แนะแนวทั่วประเทศ ประจำปี 2556   ว่า  ส่วนตัวเห็นว่านักเรียนได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากการเปิดประชาคมอาเซียน   แต่ฝากครูแนะแนวช่วยศึกษาว่ามีกฎหมายอื่น ๆที่มีผลกระทบต่อนักเรียนจากการเปิดประชาคมอาเซียนด้วยหรือไม่ เพื่อจะได้แนะนำให้กับนักเรียน ได้ทราบ    และสิ่งสำคัญที่ครูและอาจารย์แนะแนวจะต้องแนะนำกับนักเรียนคือการเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในสาขาที่นักเรียนถนัด  เป็นสาขาที่ประเทศขาดแคลนและเป็นความต้องการของประเทศด้วย เพื่อที่บัณฑิตจบออกมาจะได้้ไม่ตกงานเหมือนปัจจุบันนี้  อีกทั้งยังทำงานไม่ตรงสาขาที่เรียนมาทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางการศึกษา   โดยจะต้องเน้นให้นักเรียนได้เรียนด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น   เช่น  สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์   สาขาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

นายพงศ์เทพ  กล่าวต่อไปว่า   การเปิดประชาคมอาเซียนนั้นจะทำให้มีบริษัทหรือผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น  ซึ่งอาจจะทำให้ความต้องการแรงงานในประเทศน้อยลง แต่ตนเชื่อมั่นว่าแม้สถานประกอบการจะไปลงทุนในต่างประเทศ แต่ยังต้องการบัณฑิตไทยที่มีคุณภาพ เพื่อไปทำงานให้ เพราะมั่นใจในคนไทยด้วยกันเอง    ดังนั้นมหาวิทยาลัยยังจำเป็นจะต้องผลิตบัณฑิตในสาขาที่ขาดแคลน และสถานประกอบการต้องการมากขึ้น ไม่ใช่ผลิตเฉพาะสาขาที่ตนถนัด และจบออกมาไม่มีงานทำ   นอกจากนี้การผลิตบัณฑิตนั้นไม่ใช่ผลิตออกไปเป็นลูกจ้างอย่างเดียว แต่จะต้องผลิตออกไปเป็นผู้ประกอบการด้วย   เพราะรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่มากขึ้น   โดยมีโครงการ กองทุนตั้งตัวได้สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่  เน้นไปที่กลุ่มที่เพิ่งจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่เกิน 5 ปี   เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น

 

ห้ามครูขายประกัน-เครื่องสำอางนร.ฟันวินัย

ที่มา  :  มติชนออนไลน์  วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 14:00:00 น.

g18

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.กำลังจัดทำประชาพิจารณ์ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วย  ประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ… ที่ออกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 279 และ มาตรา 280  และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 19(4) ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี  ซึ่งจะมีผลบังคับให้ข้าราชการครู ต้องปฏิบัติตามร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แนบท้ายร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรม โดยได้มีการกำหนดประมวลจริยธรรมไว้ 15 ข้อ   อาทิ  

ข้อ 4 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพึงยึดถือคุณธรรม 4 ประการ ตามพระบรมราโชวาท เป็นเครื่องกำหนดกรอบในการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่  ได้แก่  การรักษาสัจความจริงใจต่อตนเองที่จะปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม  การอดทนอดกลั้นไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

ข้อ 6   ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม  โดยต้องอบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยจิตเมตตาไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายหรือละเมิดต่อศิษย์ มีจิตกรุณาให้ความคุ้มครองปกป้องศิษย์ตามความเหมาะสมและจำเป็น ละเว้นการเข้าไปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรมและอบายมุข ไม่ใช้เวลาราชการ เงิน ทรัพย์สิน บุคลากรหรือสิ่งอำนวยความสะดวกของทางราชการไปเพื่อประโยชน์ทำธุรกิจของตนหรือของผู้อื่น ไม่กระทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพเสริมที่มีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช้อำนาจหน้าที่หรือกรรมการใดที่เป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใดด้วยความไม่เป็นธรรม หรือเป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น

ข้อ 11 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วนและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง, ข้อ 12 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นต้น

รายงานข่าวระบุด้วยว่า  ในร่างกฎ ก.ค.ศ.ดังกล่าว  ยังกำหนดไว้ว่า  การละเมิด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม เป็นความผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วย  พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำส่วนราชการ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี  และยังกำหนดให้ดำเนินการทางวินัยและลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำการละเมิด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม  นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการขึ้น  เพื่อกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม  ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรฐานจริยธรรมที่กำหนด จะต้องมีการพิจารณาปรับหรือทบทวนทุกๆ 4 ปี  อย่างไรก็ตาม หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากครู ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยประมวลจริยธรรม และร่างประมวลจริยธรรม แนบท้ายแล้ว  จะต้องนำเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบ เพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

แหล่งข่าวจาก ก.ค.ศ.ระบุด้วยว่า  ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรม  และร่างประมวลจริยธรรมที่อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์นี้  หากมีการประกาศใช้  จะถือเป็นครั้งแรก  เพราะแม้ก่อนหน้าจะมีการจัดทำมาหลายรอบแล้ว  แต่ยังไม่มีการประกาศใช้  ขณะที่ส่วนราชการอื่นๆ  เช่น ข้าราชการพลเรือนได้กำหนดประมวลจริยธรรมออกมาแล้ว  ที่สำคัญร่างประมวลจริยธรรมของครูฉบับดังกล่าว  ได้กำหนดประมวลจริยธรรมค่อนข้างละเอียดกว่าระเบียบวินัยของข้าราชการ  เช่น  กรณีการประกอบอาชีพเสริม หากครูนำเครื่องสำอาง อาหารเสริม หรือขายประกันให้แก่นักเรียน ก็อาจจะเข้าข่ายผิดจริยธรรม แต่ทั้งหมดนี้จะต้องมีการตีความและพิจารณาเป็นรายกรณีไป

ไขข้อข้องใจเงินเดือนครู

ที่มา :  มติชน ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานี ก.ค.ศ. ไขข้อข้องใจเงินเดือนครู

จากการที่ ก.ค.ศ.ได้กำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรอง เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ตามที่คณะรัฐมนตรี ในการประชุม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 มีมติเห็นชอบการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการปรับเงินเดือน ชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่ โดยให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตรา เงินเดือนแรกบรรจุด้วย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 และสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติแล้ว ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนมาก ที่ ศธ.0206.7/ว 30 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2555

ปรากฏว่าได้มีผู้สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเข้ามายังเว็บบอร์ดของสำนักงาน ก.ค.ศ.จำนวนมาก เห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงขอหยิบยกบางคำถามมาให้ความรู้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้

1.   จบวุฒิ ป.ตรี 5 ปี บรรจุครั้งแรก 14 กุมภาพันธ์ 2554 ได้รับเงินเดือน 8,700 บาท เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 เงินเดือนอยู่ที่ 9,700 บาท ปรับเลื่อนเงินเดือนเมื่อเมษายน 2555 เป็น 9,960 บาท ต่อมา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 จบการศึกษาวุฒิ ป.โท (เป็นวุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรอง) และโรงเรียนทำคำสั่งปรับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่สูงขึ้นเป็น 10,190 บาท ต่อมาปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนตุลาคมเป็น 10,770 บาท อยากทราบว่าในกรณีนี้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ปัจจุบันจะได้รับการปรับเงินเดือนอย่างไร

ตอบ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 จะได้ปรับเงินเดือนชดเชย ในคุณวุฒิ ป.ตรี 5 ปี อันดับครูผู้ช่วย เงินเดือน 9,700 บาท จะได้รับการปรับเงินเดือนเป็น 12,530 บาท ต่อมาเมื่อยื่นปรับเพิ่มคุณวุฒิ หากยังมีเงินเดือนไม่ถึง 15,430 บาท (อัตราแรกบรรจุ วุฒิ ป.โท) ก็จะได้รับการปรับให้เป็น 15,430 บาท แต่หากว่า ณ วันที่ยื่นปรับวุฒิมีเงินเดือนเกิน 15,430 บาทแล้ว ก็จะได้รับการเพิ่มคุณวุฒิใน ก.พ.7 อย่างเดียว

2.   บรรจุเป็นข้าราชการครูเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2541 ด้วยตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 3 จบ ป.โท เมื่อ 31 มีนาคม 2545 ไม่ได้รับการปรับอัตราเงินเดือน แต่ได้เพิ่มวุฒิ ป.โท ลงใน ก.พ.7 แล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.2 ในอัตรา 22,460 บาท อยากทราบว่า เมื่อมีการปรับเงินเดือนใหม่ จะได้รับการปรับเงินเดือนด้วยหรือไม่

ตอบ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.2 ขั้น 22,460 บาท คุณวุฒิ ป.โท ก็จะได้รับการปรับเงินชดเชยเป็น 23,450 บาท

ทั้ง 2 กรณีที่นำมาเป็นตัวอย่างในวันนี้หวังว่าจะทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหลายๆ ท่านที่มีข้อคำถามใกล้เคียงกันได้รับคำตอบกันไปบ้าง แล้วจะทยอยนำมาเสนอในโอกาสต่อไป

วัชรี เกิดพิพัฒน์   ผอ.ภารกิจเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ 

ครูเกือบ100%สอนวิชาเด็กขาดทักษะผู้นำ

ที่มา  :  สยามรัฐ  17  มกราคม 2556

t44

เปิด 6 อุปสรรคการทำงานครูไทย เมื่อการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ไม่เหมือนเดิม พบปัญหา  ครูถูกเบียดเวลาสอน   จำนวนครูไม่เพียงพอ  ขาดทักษะไอที  ขณะที่ปัจจัยส่งเสริมการทำงาน 39%  ต้องการยกระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศิษย์  พร้อมเสนอ 7 วิธีพัฒนาทักษะครูไทยสู่ศตวรรษที่ 21 “รู้จักตั้งคำถาม-สอนให้เด็กคิดเป็น”  

      ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ นักวิชาการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน กล่าวว่า  เนื่องในวันครูแห่งชาติ ปี 2556  สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ได้สำรวจความเห็นของครูสอนดี  จำนวน 210 คน  โดยกลุ่มตัวอย่างกระจายใน 4 ภูมิภาคของประเทศ  เพื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูและแนวทางการส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพบ  6  ปัญหาสำคัญที่กลายเป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครู ประกอบด้วย 

     1)   ภาระหนักนอกเหนือจากการสอน  22.93% 

     2)   จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ  18.57% 

     3)   ขาดทักษะด้านไอซีที  16.8% 

     4)   ครูรุ่นใหม่ขาดจิตวิญญาณ  ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว  16.49% 

     5)   ครูสอนหนัก ส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น  14.33% 

     6)   ขาดอิสระในการจัดการเรียนการสอน  10.88% 

     ดร.รุ่งนภา กล่าวว่า  สำหรับปัจจัยส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น  พบว่า

         การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  19.32%

         การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที  19%,

         การเพิ่มฝ่ายธุรการ  18.01%

         ปรับการประเมินวิทยฐานะ  17.12%

         การลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและการเรียนของเด็ก 13.42%

         การปลดล็อคโรงเรียนขนาดเล็ก  13.13%

         จะเห็นได้ว่า  ปัจจัยฉุดรั้งการทำงานของครูไทย  มีทั้งปัจจัยที่มาจากครูผู้สอน และปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบ   อย่างไรก็ตาม   ปัจจัยส่งเสริมที่ครูต้องการ  พบว่า   39% เป็นปัจจัยเพื่อการพัฒนากระบวนการสอน  เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  จึงสะท้อนให้ถึงจิตวิญญาณของความเป็นครู

     นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าวว่า การสอนของครูในปัจจุบันพบว่า ครูเกือบ 100% ยังถ่ายทอดความรู้แบบสอนวิชา ส่งผลให้เด็กมีคุณสมบัติที่น่ากลัวที่สุด คือ ขาดภาวะผู้นำ เด็กจะมีทักษะความเป็นผู้นำได้ก็ต่อเมื่อมีความมั่นใจในตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง วิธีการเรียนรู้ของเด็กในยุคใหม่จึงต้องเรียนโดยลงมือทำ ฝึกให้ปฏิบัติจริงและมีการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น แต่ไม่ควรปล่อยให้เด็กเรียนเอง ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก  สามารถประเมินลูกศิษย์แต่ละคนได้ว่ามีพื้นความรู้เพียงใด เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มเป็น

     ด้าน ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงบทบาทครูไทยยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ว่า ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความรู้ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนาทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนในยุคสมัยใหม่ ครูไทยจำนวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งนี้แนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะ 7 ด้าน ได้แก่ 

     1.ทักษะในการตั้งคำถาม เพื่อช่วยให้ศิษย์กำหนดรู้เป้าหมายและคิดได้ด้วยตนเอง

     2.ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ

     3.ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง

     4.ทักษะในการสร้างความรู้ ใช้เกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อทำให้ศิษย์เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง

     5.ทักษะให้ศิษย์คิดเป็น หรือตกผลึกทางความคิด

     6.ทักษะในการประยุกต์ใช้ และ

     7.ทักษะในการประเมินผล

ซึ่งครูยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะทั้ง 7 ด้านในการเป็นผู้อำนวยความรู้ให้เด็ก แทนที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน

ลดขั้นเงินเดือนครูสูงสุด15ปีไม่รอเกษียณ

t5

ที่มา  :  สยามรัฐ  16  มกราคม 2556

จากการนำเสนอผลการเสวนากลุ่มย่อย ในการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ.2556-2558 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทย ตามนโยบายรัฐบาล เมื่อเร็วๆ นี้

นายดิเรก พรสีมา กรรมการพัฒนาระบบการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า ข้อเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปครู โดยยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น ในส่วนของสถาบันการผลิต ต้องการให้ ศธ. กำหนดโควตาการผลิตให้สอดคล้องกับจำนวนที่หน่วยงานใช้ครูต้องการ โดยเน้นสอนครูจากการปฏิบัติการสอนในห้องเรียนจริง รวมทั้งควรปลูกฝังครูรุ่นใหม่เรียนรู้โครงการพระราชดำริด้วย ในส่วนของผู้ใช้หรือ สพฐ. และโรงเรียน ก็ควรใช้ครูให้ตรงกับสาขาที่จบ ควรมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของครูแต่ละวิชาเพื่อการสอนที่มีคุณภาพ ทั้งวิชาพลศึกษา ดนตรี การเรือน วิทยาศาสตร์ ด้านเงินเดือนครูนั้น ปัจจุบันบัญชีเงินเดือนครู มีขั้นเงินเดือนย่อยมากถึง 85 ขั้น ควรลดเหลือ25-30 ขั้น เพื่อให้ครูได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดภายใน 15-20 ปี ซึ่งปัจจุบันครูที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุด จะได้รับตอนอายุ 59 ปี หรือ 1 ปีก่อนเกษียณ

ด้านนายจุรินทร์ มิลินทสูตร ผอ.วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม นำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาว่า ระดับอุดมศึกษา ที่ประชุมเสนอว่าปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยมากเกินไป ควรมีการควบรวม และผลิตบุคลากรให้ตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการ ด้านอาชีวศึกษา ควรเน้นทวิภาคีให้มากขึ้น และทำความเข้าใจถึงงานสายอาชีพในอนาคตให้เด็กเข้าใจ เช่น ช่างเชื่อม มีบริษัทน้ำมันข้ามชาติต้องการอัตรา และนำไปฝึกเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมท่อส่งน้ำมันในทะเล เงินเดือนกว่า 1 แสนบาท แต่กลับไม่มีผู้เรียนสาขานี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้มีการตั้งองค์กรกลางขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจฝ่ายการเมือง เช่น สถาบันการศึกษาแห่งชาติ เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยน รมว.ศึกษาธิการ ก็เปลี่ยนนโยบายทำให้งานไม่ต่อเนื่อง

ครูผู้สร้างโลก : พุทธทาส

j96

” มีอาชีพเป็นครูนี้…เป็นการได้ที่ดีหรือเป็นโชคดี  นั้นก็เพราะว่า  ได้มีโอกาสทำสิ่งสูงสุด  

ถ้าเราจะพูดว่าโลกนี้มันสร้างขึ้นมาโดยครู  ใครจะค้านบ้างก็ลองไปคิดดู  

เพราะว่าโลกนี้มันก็เป็นไปตามน้ำมือของมนุษย์ทุกคนในโลกนั่นเอง
มนุษย์ทุกคนในโลก มันก็ล้วนแต่เคยศึกษาเล่าเรียนอบรมมา
โดยครูคนใดคนหนึ่งที่มีอยู่ในโลก หรือหลายคนหรือมากคนก็ได้

มนุษย์เหล่านั้นก็สร้างโลก คือ ทำทุกสิ่งทุกอย่างลงไปในโลก
ให้โลกนี้มันมีลักษณะอย่างไร ก็โดยน้ำมือของคนเหล่านั้น
คนเหล่านั้นก็ทำไปตามความคิดเห็นของตน
ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยครู 
ครูดีก็ดี ครูเลวก็เลว เอามาคละปนกันเข้า
แล้วก็สร้างโลกนี้ไปตามความรู้ที่ได้รับมาจากครู
ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าโลกนี้นั้นมันสร้างขึ้นโดยครู
บางคนจะคิดว่าโดยอ้อม แต่อาตมาคิดว่าโดยตรง

ถ้าครูทุกคนได้ทำหน้าที่ของครูอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
คนในโลกนี้มันก็มีความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ก็สร้างโลกขึ้นมาอย่างถูกต้องและสมบูรณ์

จึงถือว่าเราได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดเป็นบุญกุศลที่สุด
จนถึงกับกล่าวว่าอาชีพครูนี้มันเป็นอาชีพที่ได้บุญ”    

ดัชนีครูไทยปี 55 เต็ม 10 ได้ 7.86 คะแนน

ที่มา  :  ไทยรัฐ  วันที่ 8 มกราคม 2556        

t11

                    สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความเชื่อมั่น  “ครูไทย” ปี 2555 พบ  ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 7.86 คะแนน   ส่วนที่คะแนนมากสุดเป็นเรื่อง   บุคลิกภาพ การแต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ    รองลงมา  ความรู้ความสามารถในการสอน   ขณะที่เรื่องที่ได้  อันดับสุดท้าย คือเรื่อง  หนี้สิน...

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 56   สวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจ ความเชื่อมั่น  “ครูไทย” ปี 2555  ที่ผ่านมา    โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ  จำนวน 8,452 คน   ระหว่างวันที่ 25 ธ.ค. 55 –7 ม.ค. 56  

สรุปผล ประชาชนให้คะแนน “ดัชนีครูไทย” ปี 2555  ภาพรวมเต็ม 10  ได้ 7.86 คะแนน 

ส ำหรับ 30 ตัวชี้วัด “ดัชนีครูไทย”  โดยคะแนนเต็ม 10   เรียงลำดับ  10  อันดับแรก  ได้ดังนี้

1.  บุคลิกภาพ การแต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ  ได้   8.17   คะแนน

2.  ความรู้ความสามารถในการสอน  ได้  8.12  คะแนน

3.  การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง   ได้   8.11   คะแนน  

4.  ความทันสมัย / ทันเหตุการณ์/รู้ข้อมูลข่าวสาร   ได้  8.09  คะแนน

5.  มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับชุมชนและชาวบ้าน   ได้   8.06   คะแนน

6.  การเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ   ได้   8.02   คะแนน

7.  มีอุดมการณ์  จิตสำนึกความรักในวิชาชีพครู   ได้  8.00  คะแนน

8.  มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณของความเป็นครู   ได้  7.99   คะแนน

9.  ความขยันขันแข็ง อดทน   ได้  7.96   คะแนน

10. มีความเป็นผู้นำ   ได้  7.95   คะแนน

และ 5 ลำดับสุดท้าย ล  ำดับ   25-30   พบว่า

25. การรู้จักประหยัด ไม่ฟุ้งเฟื้อ   ได้  7.73   คะแนน

26. การใช้วาจา คำพูดกับนักเรียน   ได้  7.70   คะแนน

27. การรู้จักให้อภัย   ได้  7.68   คะแนน

28. มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน เข้าใจนักเรียน  ได้  7.65   คะแนน

29. การแสดงออกทางอารมณ์  การควบคุมอารมณ์   ได้  7.51   คะแนน

30. การไม่เป็นหนี้เป็นสิน   ได้  7.47   คะแนน.

v38

นายกเปิดวันครูแนะการศึกษาคู่เทคโนโลยี

ที่มา  :  เดลินิวส์  วันพุธที่ 16 มกราคม 2556 เวลา 10:33 น.

“ยิ่งลักษณ์”ร่วมงานวันครู เปรียบเป็นแม่คนที่ 2 ระบุไม่มีครู ไม่มีการศึกษา โลกของเราคงไม่สามารถพัฒนาเจริญก้าวหน้า เผยรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่เป็นองค์ความรู้กว้างขึ้น

เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้(16 ม.ค.)ที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการจัดงานวันครู พ.ศ.2556 ณ บริเวณหอประชุมคุรุสภาและสนามหญ้าหน้ากระทรวงศึกษาธิการ โดยในเวลา 07.30 น.คณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คณะอนุกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2556 ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น ข้าราชการครู และประชาชน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี จากนั้นเวลา 09.00 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงหอประชุมคุรุสภา เข้าสู่พิธีการงานวันครู หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีประกอบพิธีน้อมเกล้าฯถวายสักการะ “เฉลิมพระเกียรติพระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นครู” และวางพวงมาลัยสักการะปฐมบูรพาจารย์ 

ทั้งนี้นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานอนุกรรมการจัดงานวันครู อ่านโองการอัญเชิญบูรพาจารย์ และ น.ส.สุทธาสินี วัชรบูล ครูอาวุโสนอกประจำการ กล่าวนำสวดคำฉันท์ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ทำนองสรภัญญะ นายประสงค์ ศรีนิล ครูอาวุโสประจำการ นำผู้ร่วมชุมนุมกล่าวคำปฎิญาณตน  หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีคาราวะครูอาวุโสสมัยเรียน ได้แก่ ครูอรศรี มนตรี  ครูผู้สอนระดับอนุบาลศึกษา ครูกาญจนา นันทขว้าง ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และครูสุภาพ วัฒนวิกย์กรรม์ ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา และนายกรัฐมนตรีมอบของที่ระลึกให้กับครูอาวุโส และผู้อ่านโองการอัญเชิญบูรพาจารย์ ครูอาวุโสนอกประจำการ และครูอาวุโสในประจำการ  พร้อมมอบรางวัลแก่พระผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาชาติและพระผู้ทำคุณประโยชน์ต่อวิชาชีพทางการศึกษา

ดร.ดิเรก พรสีมา ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่า  วันที่ 16 ม.ค. ของทุกปี  ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันครู ซึ่งคุรุสภาจัดงานวันครูเป็นประจำทุกปี หากนับจากการจัดงานวันครูครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 ม.ค.  2500 จนถึงวันที่ 16 ม.ค.56 นับเป็นครั้งที่ 57 โดยการจัดงานวันครูปีนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระแม่แห่งแผ่นดินผู้ทรงเป็นครูในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 ส.ค.55 และเพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และยกย่องเชิดชูเกียรติคุณครูและวิชาชีพครูให้เป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ซึ่งงานวันครูปีนี้จัดขึ้นทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า  รู้สึกเป็นเกียรติและความภูมิใจอันสูงสุดที่มีโอกาสได้มาวันครู และพบตัวแทนครูทั่วประเทศเป็นปีที่ 2 การจัดวันครูในปีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “พระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นครู” ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ทุกวันที่ 16 ม.ค.ของทุกปี รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้เป็นวันครู เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของครู เพราะครูคือบุคคลสำคัญที่ทำให้วงการการศึกษาและเยาวชนของประเทศได้พบทางสว่างแห่งปัญหา ครูจึงเปรียบเสมือนบุพการีคนที่ 2 ของเยาวชนในประเทศไทยทุกคน

ครู  คือ  ผู้ที่เสียสละ  ใช้วิชาความรู้ที่สั่งสมมาบ่มเพาะอุปนิสัยให้ลูกศิษย์เป็นคนดีของพ่อแม่  เป็นคนดีของสังคม  และเป็นคนดีของประเทศชาติ  เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศชาติต่อไป  ดิฉันเชื่อว่า  หากไม่มีครู ไม่มีการศึกษา โลกของเราคงไม่สามารถพัฒนาเจริญก้าวหน้าได้อย่างทุกวันนี้  ” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวและว่า  ครู  คือ  ผู้ที่มีอิทธิพลต่อความคิดและจิตสำนึกของลูกศิษย์ตั้งแต่เด็กๆ  ฉะนั้นพฤติกรรมต่างๆ ของเยาวชนนอกจากจะได้เรียนรู้จากครอบครัวแล้ว  จะต้องเรียนรู้จากครูด้วย

นายกรัฐมนตรี  กล่าวต่อว่า  วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง   ตั้งแต่เรื่องของการเรียนรู้  หรือการปฏิรูปการศึกษา  ทำให้การศึกษาของประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตามจากภาวะเศรษฐกิจ  ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ  มีการเปลี่ยนรูปแบบไปมาก จึงเป็นความจำเป็นของวงการการศึกษา ที่จะต้องร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและรองรับกับโลกหรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย   ส่วนตัวเห็นว่า  การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องร่วมกันพัฒนาและสร้างภูมิคุ้มกันในการศึกษา  โดยเฉพาะการปรับปรุงทั้งเรื่องของเนื้อหา  หลักสูตรวิชา  รวมถึงวิธีการเรียนการสอน โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ต่างๆ มากขึ้น  เพื่อเสริมให้การเรียนการสอนน่าสนใจ  ควบคู่กับการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สังสมมาอย่างยาวนาน

น.ส.ยิ่งลักษณ์  กล่าวอีกว่า   ครูยังเป็นบุคคลที่จะเนื้อหาต่างๆ มาปรับปรุงให้มีความทันสมัยเท่าเทียม และโดดเด่น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดไปยังเยาวชนไทย   ตนอยากเห็นความรู้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งสายสามัญหรือสายอาชีวะ และความรู้ที่ถ่ายทอดไปนั้น  ต้องเป็นความรู้ที่ตรงกับงาน สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง  สำหรับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น  อยากเห็นวงการการศึกษาไทยมีการปรับตัวให้ทัน และให้ความสำคัญในการประคับประคองบ่มเพาะเด็กและเยาวชน  เพราะการเรียนการเรียนรู้จากเทคโลโนยีนั้น สามารถเรียนรู้ได้อย่างมากมายนอกห้องเรียน การที่เราจะให้ลูกศิษย์แล้วเยาวชนเรียนรู้ได้อย่างตรงจุดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   พร้อมๆกับการรู้จักเข้าใจและเรียนรู้จักรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม เมตตาธรรม   ตลอดจนการสนับสนุนให้เห็นความคิดต่าง  แต่ต้องเป็นไปอย่างสร้างสรรค์  รัฐบาลยืนยันว่า  จะให้การสนับสนุนเครื่องมือต่าง ๆ   เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่เป็นองค์ความรู้กว้างขึ้น

“สิ่งสำคัญอีกประการ  คือ  การดูแลครู   เพราะกำลังใจในการทำงานของครูทุกท่านเป็นสิ่งสำคัญ  เชื่อว่า  ถึงรัฐบาลจะมีงบประมาณ มีเทคโนโลยีด้านการศึกษา แต่หากผู้ที่จะถ่ายทอดต่อเยาวชนขาดกำลังใจก็จะกระทบในวงกว้างได้  ดังนั้นรัฐบาลจะดูแลสวัสดิการของครู  ตลอดจนการดำรงชีวิต ให้ครูสามารถอยู่ได้อย่างมีเกียรติ  ควบคู่สวัสดิการที่เหมาะสม  เนื่องในวันครูนี้ดิฉันในนามรัฐบาลขอขอบคุณคุณครูที่ทุกท่าน  โดยเฉพาะะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เสียสละทำหน้าที่นี้เพื่อประเทศชาติ  ทุกท่านที่ส่วนสำคัญในการเติบโตของประเทศ  หากเราไม่มีครูแน่นอนว่าคงไม่มีลูกศิษย์ที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ  สามารถยกระดับประเทศให้ก้าวทันนานาประเทศได้อย่างสง่างาม”  นายกฯ กล่าว

ด้านอ.กาญจนา  นันทขว้าง  อดีตครูผู้สอนและครูประจำชั้นของนายกรัฐมนตรี สมัยชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย  กล่าวว่า สมัยเรียนนายกรัฐมนตรีเป็นเด็กที่มีน้ำใจ  โอบอ้อมอารี  และเป็นที่รักของเพื่อน  อีกทั้งยังมีความประพฤติเรียบร้อย  อยู่ในระเบียบวินัย  นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังเป็นเด็กที่เข้มแข็งและอดทน  ชอบทำกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างมาก  และทุกครั้งที่ได้เจอกับนายกรัฐมนตรี  ตนจะพูดกับนายกฯ เสมอว่า  ขอให้เข้มแข็งและอดทนฝ่าฟันทุกปัญหาไปให้ได้  ซึ่งในวันครูปีนี้อยากจะฝากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการศึกษา และอยากให้เรื่องของการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ โดยอยากขอภาครัฐได้ให้ความสำคัญครูเอกชนเท่าเทียมกับครูของรัฐ

5 โรคร้ายอันตรายต่อครูแนะสุขภาพ

ที่มา  :  ไทยรัฐ   วันที่ 15 มกราคม 2556

j98 j99

TCELS เตือน “5 โรคร้าย” อันตรายต่อชีวิต “ครู” แนะเทคนิดดูแลสุขภาพ เผยเมนูเด็ดดูแลครูได้อย่างดีคือ น้ำพริกปลาทูแกงขี้เหล็ก น้ำใบมะตูม-ย่านาง-ใบบัวบก…

เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2556 นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยว่า เนื่องในโอกาสวันครู ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ โดยศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ขอส่งความห่วงใยไปยังแม่พิมพ์ของชาติทุกคน ด้วยคำแนะนำดีๆ ที่เตือนให้คุณครูระวังโรคร้ายที่อาจมากับความรับผิดชอบในวิชาชีพของตัวเอง โดยจะขอหยิบยก 5 โรคร้าย ที่อาจทำอันตรายครูไทย คือ

1. โรคเครียดไปจนถึงซึมเศร้า   อาชีพครูเป็นอาชีพที่เหนื่อยและหนัก มาจากการที่ต้องรับผิดชอบทั้งลูกศิษย์และงานของครูอาจทำให้สมองล้าเป็นบาง ครั้งบางทีได้แต่ถ้ายังมีแรงกดดันอยู่นานๆ เช่น มีเรื่องส่วนตัวและครอบครัวด้วย ก็อาจทำให้ครูประสบภาวะทางอารมณ์ได้

2. โรคอ้วน   มาจากเรื่องการรับประทาน, การดื่มแอลกอฮอล์, ออกกำลังกายน้อย และความเครียด ดังจะเห็นว่าแม่พิมพ์ของชาติที่ต้องตรากตรำทำงานทั้งสอนหนังสือและบริหารไปด้วยจะมีความเสี่ยงข้อนี้มาก

3. โรคนอนดึก    คุณครูหลายท่านจำต้อง “เข้าสังคม” ซึ่งสรุปง่ายๆ คือ ต้องนอนดึก, กินดึก และอยู่ดึก ทั้ง 3 ข้อเป็นไลฟสไตล์ที่เรียกโรคภัยไข้เจ็บเป็นอย่างยิ่ง

4.โรคนอนไม่หลับ   ครูบางท่านอยากนอนเร็ว หัวค่ำ แต่สมองกลับไม่เป็นใจ ปล่อยให้นอนกลิ้งไปมาตากลมอยู่ทั้งคืน อย่างนี้น่าเห็นใจ โรคนอนไม่หลับอาจเกิดได้ในครูไทยเกิดได้จากเรื่อง “วัย” และเรื่อง “งาน” และ

5. โรคที่เกี่ยวกับการยืน  เช่น  ข้อเข่าเสื่อม, ปวดไขข้อ และริดสีดวง  ครูที่ท่านต้องยืนนานวันละหลายชั่วโมงนั้นต้องเอาใจใส่สุขภาพให้มาก

นพ.กฤษดา กล่าวด้วยว่า ขอแนะนำเทคนิคดูแลสุขภาพครูคือ

อาหารร่าเริง  สำหรับคุณครู เป็นอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและมีวิตามินที่ช่วยคลายเครียด นั่นคือ น้ำพริกปลาทู  เพราะมีปลากับกะปิที่ช่วยบำรุงสมองไล่ลดการอักเสบที่เกิดจากธาตุเครียด ยังมี  แกงขี้เหล็ก, น้ำมะตูม, น้ำใบบัวบก, น้ำใบย่านาง หรือดื่มชาคาโมไมล์ใส่น้ำผึ้ง จะช่วยปรับธาตุง่วงและเคมีสุข ในสมองก่อนนอน ช่วยกล่อมให้หลับสบายใจดี  ที่สำคัญ ต้องออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการขยับแขน การเดิน เป็นต้น.

โพลวันครูชี้นร.อยากครูดีใจดีมีเวลาตั้งใจสอน

ที่มา  :  มติชนออนไลน์   วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 22:27:49 น.

cosline1

เนื่องใน “วันครู” ที่กำลังจะมาถึง การให้ความสำคัญและระลึกถึงพระคุณครู ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นกำลังสำคัญต่อไปในอนาคต  อีกทั้งผู้ปกครองต่างก็ฝากความหวังและไว้วางใจครูในการอบรมสั่งสอนดูแลให้ลูกหลานเป็นคนดี “วิชาชีพครู” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ  เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นรับฟังเสียงสะท้อนของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อครู “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  จึงได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองทั่วประเทศ  จำนวน 2,259 คน (นร. 1,104 คน 48.87%  ผู้ปกครอง 1,155 51.13% คน) ระหว่างวันที่ 8-14 มกราคม 2556  สรุปผลดังนี้

 “ผู้ปกครอง”  มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?

1. “จุดเด่น/ข้อดี” ของ “ครู” ณ วันนี้

อันดับ 1 เป็นผู้ให้ความรู้ ให้การอบรมสั่งสอนที่ดีกับเด็ก /ช่วยดูแลเด็กแทนผู้ปกครอง 47.30%
อันดับ 2 มีทักษะความรู้มากขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน 28.91%
อันดับ 3 การแต่งกาย บุคลิกภาพดี /เป็นแบบอย่างที่ดี 23.79%

 2. “จุดด้อย/ข้อไม่ดี” ของ “ครู” ณ วันนี้
อันดับ 1 มีเวลาให้กับเด็กน้อย มีงานมาก /ทำให้สอนเด็กหรือดูแลเด็กได้ไม่เต็มที่  54.24%
อันดับ 2 การควบคุมอารมณ์ เมื่อโมโหมักจะทำโทษเด็กโดยไม่ฟังเหตุผล 24.53%
อันดับ 3 ความรัก ความทุ่มเทในวิชาชีพของครูในปัจจุบันมีน้อยลง ไม่เหมือนครูสมัยก่อน 21.23%

3. “ผู้ปกครอง” อยากได้ “ครู” แบบใด? มาสอนลูกหลานของท่าน

อันดับ 1 เก่ง มีความรู้ความสามารถ มีเทคนิคในการสอนที่ดี สอนเข้าใจง่าย 40.17%
อันดับ 2 มีเวลาให้กับเด็ก ให้ความรักดูแลเอาใจใส่และเข้าใจเด็ก /เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำที่ดี 31.02%
อันดับ 3 ใจดี มีกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 28.81%

4. สิ่งที่ “ผู้ปกครอง” อยากบอกกับ “ครู” ณ วันนี้ คือ

อันดับ 1 ครูคือบุคคลสำคัญ เป็นแม่พิมพ์ของชาติ เป็นผู้ที่เสียสละ อดทน 57.51%
อันดับ 2 อยากให้มีจิตวิญญาณในความเป็นครู เป็นครูที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก 21.65%
อันดับ 3 อยากขอบคุณ คุณครูทุกท่านที่เสียสละ ดูแลให้ความรักและอบรมสั่งสอนเด็กๆ 20.84%

“นักเรียน”  มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร? 

1. สิ่งที่ “นักเรียน” “ประทับใจ” “ครู” มากที่สุด คือ

อันดับ 1 ครูใจดี พูดเพราะ ให้ความรักความห่วงใย 69.36%
อันดับ 2 ครูจะคอยสอนคอยเตือน ดูแลอบรมให้เป็นคนดี  ให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือ 20.47%
อันดับ 3 ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครู เช่น เข้าค่าย แข่งกีฬา กีฬาสี ทัศนศึกษา ฯลฯ 10.17%

2. สิ่งที่ “นักเรียน” “อยากลืม” สิ่งที่ “ครู” เคยทำกับเรามากที่สุด คือ

อันดับ 1 ถูกทำโทษ โดยการดุด่า ว่ากล่าว ตี  /ให้การบ้านหรือให้งานมาทำเยอะๆ 70.08%
อันดับ 2 ไม่ยอมฟังเหตุผล ใช้แต่อารมณ์ ใช้คำพูดรุนแรง ฟังความข้างเดียว 18.55%
อันดับ 3 ไม่ยุติธรรมในการให้คะแนน/ให้เกรดวิชาเรียน 11.37%

3.  “นักเรียน” “ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?

อันดับ 1 ใจดี รักและเข้าใจเด็ก พูดคุยสนุกสนาน เป็นกันเอง 65.41%
อันดับ 2 เก่ง มีวิธีการสอนหรือเทคนิคในการสอนที่สนุก เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ 21.83%
อันดับ 3 มีบุคลิกภาพดี แต่งกายดี มารยาทดี  12.76%

4.  “นักเรียน” “ไม่ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?

อันดับ 1 ดุ โมโหง่าย ใช้ไม้เรียวทำโทษ /มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพกับเด็ก 61.73%
อันดับ 2 ไม่มีเวลาให้กับเด็ก ขาดสอนบ่อย ไม่สนใจเด็ก ปล่อยปละละเลยเด็ก  19.94%
อันดับ 3 ไม่รับฟังความคิดเห็นของเด็ก ไม่ยุติธรรม 18.33%

5. สิ่งที่ “นักเรียน” อยากฝากบอก “ครู” ณ วันนี้ คือ

อันดับ 1 อยากให้ครูเป็นครูที่ดี ใจดี /มีเวลา มีความทุ่มเทตั้งใจสอนเด็กอย่างเต็มที่ 56.94%
อันดับ 2 หนู /ผมจะเป็นเด็กดี ไม่ทำให้ครูผิดหวัง /รักครู ขอบคุณครูที่ให้การอบรมสั่งสอน 22.17%
อันดับ 3 อยากให้ครูเข้าใจเด็ก เข้าใจยุคสมัย สังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดกับความคิดแบบเดิมๆ 20.89%

 

หมอประเวศชี้การศึกษาคือความงอกงาม

ที่มา  :    ASTVผู้จัดการออนไลน์  13 มกราคม 2556 13:59 น.

Picture9

 

“หมอประเวศ” แนะสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่มองการศึกษาเป็นความงอกงาม ไม่ใช่อุตสาหกรรม ด้าน “ศ.สุมน” ย้ำ “ชุมชนและท้องถิ่น” เป็นพลังสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยอยู่รอด ต้องปรับให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวนำและมีส่วนร่วม              ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวระหว่างเป็นประธานการเสวนาวิชาการเวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 12 “การพัฒนาการเรียนรู้ในจังหวัดนำร่อง : ฝันที่ตั้งใจให้เป็นจริง” กรณีศึกษาชัยภูมิ สุรินทร์ และน่าน จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส.เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า อนาคตประเทศจะประสบความยากลำบาก หากไม่สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีคุณภาพได้ ด้วยอัตราการเกิดใหม่ของเด็กที่ลดลงเหลือ 7 แสนคนต่อปี ซึ่งปัญหาทั้งหมดยากเกินกว่าที่โรงเรียนจะทำได้โดยลำพัง ดังนั้น สิ่งที่เราพูดถึงกันในวันนี้ คือ การนำพื้นที่ เช่น ท้องถิ่น ชุมชน จังหวัด เป็นตัวตั้ง ทำให้เป็นพลังที่เกิดจากการรวมกัน

 อย่างไรก็ตาม จากบทเรียนที่ผ่านมา เราคิดว่า การศึกษาที่ดีจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่ดี แต่พบว่า การศึกษาไทยทำมากว่า 100 ปียังไม่สำเร็จ สะท้อนว่าเราต้องทำการปฏิรูปการทำงานแบบกลับหัว ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดคือการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ เพราะการเรียนรู้จากการมีสัมมาชีพ และกระบวนการวัฒนธรรมชุมชนทำให้เด็กที่เข้าร่วมมีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในตนเองและมีความรับผิดชอบ              “การเรียนรู้จากการมีสัมมาชีพ กระบวนการวัฒนธรรมชุมชนทำให้เด็กที่เข้าร่วมมีความมั่นใจในตนเอง เวลามีเรื่องวัฒนธรรมชุมชน เด็ก ผู้ใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในชุมชน โดยเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เด็กจะได้ฝึกทักษะชีวิตต่างๆ ที่เป็นการสร้างคุณค่าความภูมิใจในตนเองและผู้เรียนก็มีความสุข จะเป็นจุดแข็งสำหรับเรื่องดีๆ ได้ อย่าเน้นแต่เรื่องมาตรฐานมากนัก เพราะการศึกษาไม่ใช่กระบวนการทางอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐาน มีการตรวจสอบ มีการชี้วัด ให้เปลี่ยนมุมมองว่าการศึกษา คือ ความงอกงามอย่างหลากหลาย จะง่าย และเบามาก เป็นการเรียนรู้ ชื่นชม เกิดการต่อ ยอด ทำให้เหนื่อยยากน้อยลงเยอะ เป็นการปรับแนวคิดของการศึกษาจากการควบคุม เป็นความงอกงามอย่างหลากหลาย” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว              ด้าน ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 4 สสส.กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดของการพัฒนาเด็ก คือ พ่อ แม่ ซึ่งหากดูผลการศึกษาด้านพัฒนาการของเด็ก 1-2 ขวบ เราไม่แพ้ชาติใดเลย แต่หลังจาก 2 ขวบไปแล้ว เราแพ้หมด เพราะปัจจุบันพ่อแม่ไม่ได้เลี้ยงดูลูกเอง ประกอบกับแม่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จากวิถีชีวิตที่ต้องกินแต่อาหารเร่งด่วน ทำให้มีความเสี่ยงซีดจางในอัตราถึง 18-30% โดยเฉพาะเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้เด็กที่เกิดมาไม่แข็งแรง สู้เขาไม่ได้ เพราะต้นทุนไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นคงต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเด็กไทย              ศ.สุมน อมรวิวัฒน์ ที่ปรึกษา สสค.กล่าวว่า การจัดการศึกษาที่มีรูปแบบเป็นของตนเองใน 3 จังหวัดที่เป็นกรณีศึกษา เช่น ชัยภูมิสไตล์ ที่เน้นพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อนำมาต่อยอดการเปลี่ยนแปลง มองการศึกษาที่ไกลออกไปจากรั้วโรงเรียน ชุมชน เป็นการทำงานแบบหมดเงินแต่ไม่หมดงาน สามารถที่จะก้าวต่อไปได้ ส่วน น่านสไตล์ เน้นทีมศึกษานิเทศก์ แบบ coaching และวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม เพราะมองว่า การที่เด็กน่านดี มีคุณธรรม รักท้องถิ่นเกิด จะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นยั่งยืน โดยเจาะกลุ่มพื้นที่เสี่ยง ขาดแคลน และดูความต้องการจำเป็น แบบเจาะจุด ขณะที่ชัยภูมิเน้นทั้งจังหวัด สุดท้าย สุรินทร์สไตล์ เป็นการตั้งเป้าหมายที่สูง เป็นความฝันที่ตั้งใจให้เป็นจริง แก้ปัญหาเด็กชายขอบ เป็นความโดดเด่น แตกต่างเพราะเป็นเด็กเหลือคัด ขณะที่ในเมืองเป็นเด็กคัดเหลือ และด้วยความที่จังหวัดสุรินทร์เป็นเมืองช้าง และศูนย์กลางของอีสานใต้ จึงนำเอกลักษณ์ที่มี กระจายทรัพยากร ดี เด่น ดัง ของจังหวัดไปสู่ประชาคมอาเซียน เน้นการศึกษาเพื่อการทำมาหากิน และคิดสร้าง elephant worldซึ่งหากสามารถทำให้เมืองช้างเป็นสัมมาชีพได้ คนสุรินทร์ก็จะมีงานทำ มีธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน              “ทั้ง 3 จังหวัดสร้างความคิดที่จะปฏิรูปแบบกลับหัว คือ นำพื้นที่ ท้องถิ่น ชุมชนและชาวบ้านเป็นตัวตั้ง ให้ทุกคนมีส่วนร่วม สร้างสัมมาชีพทุกพื้นที่นี่คือคาถาที่จะทำให้ประเทศไทยอยู่รอด ” ศ.สุมน กล่าว

 

ผลวิจัย”ทุกข์ของครู”ปมสู่ความสิ้นหวัง

ที่มา  :     มติชน  ฉบับวันที่ 15 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)

กุหลาบชมพู

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู โดยคณะกรรมการการศึกษาวิจัยและประเมินของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู มี ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง เป็นประธานคณะกรรมการ ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “เหตุแห่งทุกข์ที่นำไปสู่ความสิ้นหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของครูไทย” โดยมอบหมายให้ ดร.จันทร์แรม เรือนแป้น และคณะจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็น ผู้ดำเนินการวิจัย เนื้อหาสาระเพื่อนำเสนอกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงสัปดาห์แห่งงานวันครู วันที่ 16 มกราคม 2556 

การศึกษาวิจัยเรื่องเหตุแห่งทุกข์ที่นำไปสู่ความสิ้นหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของครูไทยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจเหตุแห่งทุกข์ของครูไทยและระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์ที่พบ (2) สำรวจระดับความสิ้นหวังต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครูไทย (3) หาความสัมพันธ์ของเหตุแห่งทุกข์แต่ละสาเหตุกับความสิ้นหวังในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครู (4) เปรียบเทียบความแตกต่างของเหตุแห่งทุกข์ของครูไทยเมื่อจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะงาน และปริมาณของการปฏิบัติหน้าที่ (5) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับความรู้สึกสิ้นหวังในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครูไทยเมื่อจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะงานและบริบทของการปฏิบัติงานและ (6) สังเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อวิธีการขจัดเหตุแห่งทุกข์ที่นำไปสู่ความสิ้นหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของครูไทย 

ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันในการปฏิบัติหน้าที่ของครูไทยโดยรวมมิได้อยู่ในสภาพที่เลวร้ายเท่าใดนัก ดังจะเห็นได้จากระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์ในภาพรวมที่ปรากฏอยู่ในระดับน้อย และระดับความสิ้นหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของครูไทยในภาพรวมที่ปรากฏอยู่ในระดับน้อยเช่นกัน และยังพบว่าเหตุแห่งทุกข์ทั้ง 4 ด้าน คือ (1) ด้านการทำงาน (2) ด้านชีวิตส่วนตัวและครอบครัว (3) ด้านสุขภาพ และ (4) ด้านศาสนา และความเชื่อส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสิ้นหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของครูไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

ข้อค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกที่พบว่ามีครูจำนวนมากที่ระบุว่าตนเองยังไม่สิ้นหวังกับการปฏิบัติหน้าที่ครู โดยอธิบายความรู้สึกของตนเองอันเป็นผลมาจากสภาพปัญหาที่ต้องเผชิญว่าเป็นความรู้สึก “ท้อแท้” มากกว่า “ความสิ้นหวัง” และยังอยู่ในวิสัยที่ครูจะสามารถคลี่คลายความรู้สึกท้อแท้ที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง เช่น การหาทางแก้ไขปัญหาที่นำมาซึ่งความรู้สึกท้อแท้ การระบายความรู้สึกของตนเองกับสมาชิกในครอบครัว การมองโลกในแง่บวก การใช้หลักธรรมทางศาสนาเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นต้น 

แต่การสัมภาษณ์เชิงลึกยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า ยังมีครูที่ระบุว่าตนมีความรู้สึกสิ้นหวังกับการปฏิบัติหน้าที่ครูรวมอยู่ด้วย โดยพบว่าปัญหาด้านการงานเกือบทุกปัญหาสามารถทำให้ครูมีความรู้สึกสิ้นหวังในการปฏิบัติหน้าที่ครูได้ทั้งสิ้น 

ข้อค้นพบในส่วนนี้ มีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่พบว่าเหตุแห่งทุกข์ด้านการงานสามารถอธิบายระดับความสิ้นหวังของครูไทยได้มากกว่าด้านอื่น และเมื่อนำค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์ด้านการงานเป็นรายข้อมาพิจารณารวมด้วย จะพบว่าปัญหาด้านการงานนี้มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงมากที่สุด 3 ลำดับแรกในกลุ่ม ยังคงเป็น

(1)  เรื่อง  เงินเดือนและค่าตอบแทน
(2) เรื่อง  สวัสดิการ และ
(3) เรื่อง  ของงานสนับสนุน ที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับครูส่วนใหญ่

ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าปัญหาสำคัญของครูที่มีการกล่าวถึงกันมาตลอด โดยเฉพาะปัญหารายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ที่ส่งผลโยงใยไปสู่ปัญหาหนี้สินครู ปัญหาคุณภาพชีวิตและขวัญกำลังใจของผู้ที่เป็นครู ปัญหาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนที่ต่ำลง ปัญหาวิกฤตศรัทธาในวิชาชีพครู (พิมพิดา โยธาสมุทร, 2553 ; สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543) และปัญหาภาระงานที่ครูส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาร้อยละ 10-20 ของเวลาสอนตามปกติไปกับงานธุรการ (อมรวิชช์ นาครทรรพ,2553) ยังคงเป็นปัญหาสำหรับครูส่วนใหญ่และยังคงมิได้รับการแก้ไขให้หมดสิ้นไปจากสภาพการปฏิบัติงานของครูในปัจจุบัน 

การวิจัยยังพบว่า ความแตกต่างในตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับบริบทของการทำงาน (การปฏิบัติงานของครู) ลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะงาน เกือบทุกตัวแปรสามารถส่งผลให้เกิดความแตกต่างในระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์ และระดับความสิ้นหวังในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครูได้ทั้งสิ้น 

เช่น

(1) เมื่อนำตัวแปรภูมิภาคในการปฏิบัติงานมาพิจารณาร่วมด้วย จะพบว่ากลุ่มครูที่มีระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์มากกว่ากลุ่มอื่นได้แก่ “ครูที่ปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นผลมาจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่ส่งผลถึงขวัญกำลังใจและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของครูอย่างต่อเนื่อง

(2) เมื่อนำตัวแปรอายุมาพิจารณารวมด้วย จะพบว่ากลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์มากกว่ากลุ่มอื่นคือกลุ่มครูที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี เป็นช่วงวัยที่มีภาระทางการเงินสูง เนื่องจากอยู่ระหว่างการสร้างครอบครัว และฐานะทางเศรษฐกิจ ทางสังคม

(3) เมื่อนำตัวแปรประสบการณ์การทำงานมาพิจารณารวมด้วย จะพบว่ากลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์มากกว่ากลุ่มอื่น คือ กลุ่มครูที่มีประสบการณ์การทำงานมาเป็นเวลา 6-10 ปี อันเป็นช่วงเวลาที่มีประสบการณ์ตรงกับการทำงานในหน้าที่ครูมาแล้วในระดับหนึ่ง ในขณะที่ยัง “มีไฟ” หรือความกระตือรือร้นที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ไม่ปรารถนาต่างๆ

(4) เมื่อนำตัวแปรระดับตำแหน่งมาพิจารณาร่วมด้วย จะพบว่ากลุ่มครูที่มีความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์มากกว่ากลุ่มอื่น คือ กลุ่มครูที่มีตำแหน่งครูพิเศษ หรือครูอัตราจ้าง เป็นกลุ่มที่มีความมั่นคงในอาชีพน้อย และมักได้รับเงินเดือนค่าตอบแทน รวมทั้งสิทธิประโยชน์อย่างอื่นต่ำกว่าครูในตำแหน่งอื่น

(5) เมื่อนำตัวแปรรายได้ของตนเองต่อเดือนมาพิจารณาร่วมด้วย จะพบว่ากลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์มากกว่ากลุ่มอื่น คือ กลุ่มครูที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท และ 10,001-20,000 บาท อันเป็นอัตราที่ยากต่อการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมปัจจุบัน

(6) เมื่อนำตัวแปรจำนวนหนี้สินมาพิจารณาร่วมด้วย จะพบว่ากลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์มากกว่ากลุ่มอื่น คือ กลุ่มครูที่มีหนี้สิน 3,000,001 บาทขึ้นไป อันเป็นผลจากความวิตกกังวลในภาระหนี้สินที่มีเป็นจำนวนมาก เท่ากับมีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในการชำระหนี้มากกว่าผู้ที่มีจำนวนหนี้สินต่ำกว่า

(7) เมื่อนำตัวแปรหน่วยงานที่สังกัดมาพิจารณาร่วมด้วย จะพบว่ากลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์มากกว่ากลุ่มอื่น คือ กลุ่มครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเอกชน เป็นกลุ่มที่มีความมั่นคงในอาชีพน้อย และมักได้รับเงินเดือนค่าตอบแทน รวมทั้งสิทธิประโยชน์อย่างอื่นต่ำกว่าครูในสังกัดอื่น เป็นต้น 

สำหรับสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ด้านการงาน เป็นด้านที่มีอิทธิพลสูงสุดในการอธิบายระดับความสิ้นหวังในการปฏิบัติหน้าที่ครูตามที่พบในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 

(1) ปัญหาจากภาระงานโดยเฉพาะภาระงานอย่างอื่นนอกเหนือจากการสอนที่มากเกินไปจนทำให้ครูไม่สามารถปฏิบัติงานสอนได้อย่างเต็มที่และมีคุณภาพ โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาจะได้แก่ การลดภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอนให้น้อยลง และการจัดบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อรับผิดชอบงานเหล่านี้โดยตรง เพื่อให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าที่การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนา

(2) ปัญหาจากตัวผู้เรียนและผู้ปกครอง โดยปัญหาจากตัวผู้เรียนจะมีทั้งปัญหาเชิงปริมาณจากจำนวนนักเรียนในชั้นที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และปัญหาเชิงคุณภาพที่เป็นผลจากกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสม ไม่มีคุณภาพรวมทั้งลักษณะความประพฤติของเด็กแต่ละคน โดยแนวทางแก้ไข ครูต้องพัฒนาพฤติกรรมการสอนของตัวครูเอง และรวมทั้งปรับแก้พฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคล ก็จะทำความยุ่งยากและต้องใช้เวลากับตัวครูพอสมควร ส่วนปัญหาจากผู้ปกครองจะมีตั้งแต่ความคาดหวังที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครู/โรงเรียน ความไม่เข้าใจกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมของทางโรงเรียนที่ลดน้อยลง จนขาดโอกาสในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน การแก้ไขต้องสร้างความร่วมมืออย่าง ใกล้ชิดระหว่างครูกับผู้ปกครอง

(3) ปัญหาจากการบริหารสถานศึกษาและความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา แนวทางแก้ปัญหา อาจได้แก่ การปรับปรุงระบบสรรหาผู้บริหารโดยเน้นในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ภาวะผู้นำ และความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษายุคใหม่

(4) ปัญหาจากระบบเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพในสังคมปัจจุบันและความไม่เท่าเทียมกันระหว่างครูแต่ละสังกัด แนวทางแก้ปัญหา ต้องแก้ปัญหาเป็นภาพรวมของประเทศ และหาทางชดเชยโดยวิธีการต่างๆ

(5) ปัญหาจากระบบสวัสดิการที่ยังไม่น่าพอใจและไม่เท่าเทียมกันระหว่างครูแต่ละสังกัด ต้องร่วมกันพิจารณาแก้ปัญหาเป็นภาพรวม

(6) ปัญหาเกี่ยวกับเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพครูที่ผูกโยงกับการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนระดับเงินเดือนหรือระดับวิทยฐานะที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจทั้งในตัวระบบ วิธีการ เกณฑ์ และผลลัพธ์ แนวทางแก้ปัญหา ได้แก่ การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และการปรับปรุงวิธีวัด วิธีประเมินผลงานให้เหมาะสมกับครู แต่ละกลุ่ม 
และ

(7) ปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงในอาชีพ โดยจะพบปัญหานี้เฉพาะกลุ่มครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเอกชน รวมทั้งกลุ่มครูพิเศษ และกลุ่มครูอัตราจ้างในโรงเรียนสังกัดหน่วยงานภาครัฐ แนวทางแก้ปัญหา การเปิดโอกาสให้ครูกลุ่มเหล่านี้ได้รับการบรรจุ หรือมีหลักประกันความมั่นคงในอาชีพมากกว่าที่ เป็นอยู่ 

กลอนวันครู

t39

ดอกไม้รวม

ที่มา  :  Kapook.com

ย้อนรำลึก นึกถึงวัน ฉันยังเด็ก 

ตัวเล็ก ๆ ไปโรงรียน หิ้วของขาย 
มะขามเทศ ร้อยเป็นพวง ร่วงกระจาย 
ได้สตางค์ มาก็หาย เหลือนิดเดียว 
 
กลัวครูเห็น ฉันจึงหลบ แอบซ่อนไว้ 
เพื่อนนักเรียน เพียรมาไกล้ ฉันยิ่งเสียว 
กลัวที่สุด ในชีวิต คือไม้เรียว 
จนบัดนี้นี้ ก็ยังเสียว อยู่ทุกวัน 
 
ไม้บรรทัด คาบมาแล้ว เชื่อไหมแม่ 
ทั้งโดนแสร้ ทั้งโดนหวาย ซ้ายขวาหัน 
น้ำตาร่วง เพราะตัวเรา ใช่ใครกัน 
ครูลงทัณฑ์ เพื่ออยากให้ เราได้ดี 
 
มิใช่โดน ลงโทษ เพราะขายของ 
แต่ที่โดน เพราะลำพอง จ้องโดดหนี 
มีการบ้าน ก็ส่งช้า กว่าเขาทุกที 
แต่สิ้นปี ก็สอบผ่าน ด้วยอ่านจำ 
 
คิดถึงครู อยากไปหา ไปก้มกราบ 
อยากไปอาบ น้ำให้ครู หนูขอย้ำ 
อาบที่แขน เพื่อทดแทน สิ่งครูทำ 
สิบหกนี้ ศิษย์ขอจำ คือวันครู…         
ขอขอบคุณ กลอนวันครู จาก :  โดยคุณ Admin
ดอกไม้รวม

คนเป็นครู    มิใช่        เป็นคนเก่
แต่ต้องเป็น  ที่พึ่ง        ยามผิดหวัง
คนเป็นครู    มิได้         อยากเด่นดัง
แต่ต้องให้   ความหวัง   เยาวชน
คนเป็นครู   ไม่คุยอวด  เรื่องตัวเอง
ถ้าอยากเก่ง ต้องส่งให้  ศิษย์แข่งขัน
รางวัลใหญ่  หาใช่        ถ้วยรางวัล
คือศิษย์นั้น    เป็นคนดี    ของสังคม

ดอกไม้รวม

พระคุณครู

พระคุณครูใหญ่ยิ่งเป็นมิ่งฟ้า

ทั่วสุธาน้อมบูชาท่านเหนือเศียร
เพราะครูเปรียบดังประกายจากแสงเทียน 
ให้ศิษย์เรียนรู้โลกอันกว้างไกล
ศิษย์คนนี้จะจำคำครูสอน
เป็นคำวอนให้อนาคตศิษย์สดใส
ศิษย์รู้ว่าครูรักศิษย์ดั่งหทัย
ในดวงใจศิษย์มิลืมพระคุณครู      
ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ Forward Mail
ดอกไม้รวม

แด่คุณครู ด้วยดวงใจ

ก้มกราบเท้าระลึกคุณพ่อแม่

เลี้ยงดูแลอบรมบ่มนิสัย
เปรียบคุณครูคนแรกซึ้งหทัย
มโนมัยใช้เลี้ยงลูกปลูกกมล
 
ขอก้มกราบระลึกคุณอาจารย์
ท่านสืบสานสอนวิชาพาฝึกฝน
ศิษย์ได้เรียนเพียรขยันหมั่นคิดค้น
ครูสร้างคนฉลาดล้ำนำปัญญา
 
สิบหกมกรามาบรรจบ
สิบนิ้วนบกราบคุณครูทุกทิศา
ยกพานพุ่มดอกไม้น้อมบูชา
เทิดครูบาระลึกคุณเหล่าอาจารย์
 
ถึงอยู่ห่างแคว้นใดไกลสุดแสน
ทั้งชายแดนเหนือใต้ใคร่ส่งสาร
มอบแรงใจให้คุณครูถิ่นกันดาร
พระคุณท่านจักตราไว้ให้อนุชน
 
พายเรือจ้างกลางชนให้คนนั่ง
หมั่นฝนทั่งกลายเป็นเข็มสัมฤทธิ์ผล
เป็นแม่พิมพ์ของชาติเปี่ยมค่าล้น
น้อมกมล แด่คุณครู..ด้วยดวงใจ ….      
ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ Forward mail
 ดอกไม้รวม

ผองข้าขอยอเยินครูผู้ประเสริฐ

น้ำใจเลิศสอนศิษย์รู้สู้ปัญหา

ดั่งแสงทองส่องสว่างสร้างปัญญา

น้อมบูชาด้วยดวงจิตศิษย์กราบกราน

ดอกไม้รวม

ครูคือปูชนียบุคคล 
ท่านทำตนเป็นแบบอย่างให้เราเห็น
เป็นดั่งแสงสว่างของเดือนเพ็ญ
ส่องนวลเย็นทั่วหล้าในราตรี
เป็นดั่งดาวพราวระยับสวยจับจิต
คอยส่องทิศส่องทางสว่างศรี
อบรมศิษย์เป็นพลเมืองดี
สอนให้มีความรักคู่คุณธรรม
ครูท่านเป็นเสมือนดั่งพ่อแม่
คอยดูแลยามพลั้งผิดมิคิดซํา
แนะแนวทางสว่างให้ไม่ปิดงำ
สอนให้จำสิ่งที่พลาดเป็นบทเรียน
พระคุณท่านยิ่งใหญ่เกินกำหนด
ไม่มีหมดแม้วันจะผันเปลี่ยน
ส่องสว่างกลางจิตดั่งแสงเทียน
คอยพากเพียรส่งศิษย์ถึงฝั่งเอย       
ขอขอบคุณ กลอนวันครู จาก :  คุณ ว.ท
ดอกไม้รวม

พลังแห่งแม่พิมพ์ผู้สร้างชาติ

ก่อให้เกิดนักปราชญ์ชาญศึกษา
เป็นกำลังให้ชาติพัฒนา
ซึ่งนำพาความรุ่งเรืองสู่ผองไทย
มาถึงวันสำคัญอาจารย์ศิษย์
ควรนึกคิดถึงพระคุณที่ท่านให้
ท่านอุตส่าห์เสียสละมาเท่าใด
ควรจำไว้และตอบแทนพระคุณเอย     
อขอบคุณ กลอนวันครู จาก :  คุณ ปริมล & ภัทรพร
ดอกไม้รวม
อันคุณครูคำนี้มีความหมาย อันหลากหลายคำพูดจะกล่าวถึง
คือผู้ให้ทรัพย์วิชาน่าคำนึง คือผู้ซึ้งอบรมให้ทำดี
อีกครูนี้เหมือนพ่อแม่คนที่สอง ครูจึงต้องอดทนต่อหน้าที่
เพียรสั่งสอนเป็นแม่พิมพ์ศิษย์มากมี เรือจ้างนี้น้ำใจงามนามว่า ครู     
ขอขอบคุณ กลอนวันครู จาก : คุณ arms
ดอกไม้รวม

น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที

แม้งานหนักเหน็ดเหนื่อยไม่เคยบ่น
สู้อดทนส่งเสริมศิษย์พิชิตฝัน
สู้อุตส่าห์สั่งสอนทุกวี่วัน
จิตมุ่งมั่นอบรมจริยา

หวังเห็นศิษย์ก้าวหน้าในชีวิต
โดยอุทิศแรงกายให้สมค่า
คำว่าครูผู้ที่ใช้ซึ่งปัญญา
แก้ปัญหานานาประการ

มีเมตตาปรานีเป็นที่ตั้ง
คอยเหนี่ยวรั้งศิษย์รักทุกสถาน
คอยชี้แนะช่วยเหลือและเจือจาน
ศิษย์จึงผ่านอุปสรรคทุกสิ่งไป

แม้งานหนักอย่างไรไม่เคยท้อ
เพียงแต่ขอศิษย์รักที่เติบใหญ่
มีวิชาความรู้ตลอดไป
เพื่อไว้ใช้เลี้ยงชีพสำหรับตน

ขอน้อมจิตวันทาบูชาครู
ขอเชิดชูปูชนีย์คุณมากล้น
ขอกตัญญูต่อครูทุกทุกคน
ขอกุศลแห่งความดีคุ้มครองครู ฯ

ขอขอบคุณ กลอนวันครู จาก Thaipoem.com โดย คุณอรุโณทัย

กราบคารวะคุณครู

สิบหกมกราฟ้าไร้หม่น
ขอคุณครูทุกคนจงสุขี
เกริกเกียรติ์ก้องเปี่ยมล้นท้นความดี
อย่าได้มีขุ่นข้องหมองกมล

ที่มีทุกข์จงคลายมลายสิ้น
เป็นอาจิณศีลธรรมน้อมนำผล
มีเมตตาปรานีศิษย์ทุกคน
ส่งศิษย์พ้นวังวนอนธการ

ครูเป็นผู้ชี้ทางสว่างให้
เป็นกำแพงคุ้มภัยทุกถิ่นฐาน
เป็นแม่พระแม่พิมพ์มายาวนาน
ศิษย์จึงผ่านผองภัยได้ด้วยครู

คารวะพระคุณสามงามสง่า
สูงคุณค่าสูงศักดิ์ยอดนักสู้
น้ำใจนั้นเลิศล้ำแสนดำรู
ขอเชิดชูปูชนีย์ศรีบุคคล

ร้อยอักษรกลอนกานท์ผ่านมาไหว้
เป็นมาลัยจากใจที่ท่วมท้น
ด้วยศรัทธาสาธยายหลายถกล
นำศิษย์พ้นโอฆะนทีภัย

ขอขอบคุณ กลอนวันครู จาก Thaipoem.com โดย คุณนรศิริ

คุณครูที่รัก…..

เห็นลำเรือลอยมา..ที่ท่าน้ำ
พายวาดค้ำลำแอบเข้าแนบข้าง
หลากหลายเท้าคู่น้อย..ก็พลอยวาง-
ก้าวเหยียบย่างลงสู่..เสียงกรูเกรียว

เรือจ้างน้อยลอยลำ..พายจ้ำจ้วง
แต่ละช่วงจังหวะ..น้ำชะเชี่ยว
เห็นเธอวาด..พายค้ำ..เรือลำเรียว
อยู่กลางสายชลเปลี่ยว..อย่างเดียวดาย

เช่น..ดวงวันลอยดวง..ขึ้นช่วงแสง
ทาบหล้าแหล่งให้พิสุทธิ์..เห็นจุดหมาย
เมื่อหัวใจมุ่งอยู่..ไม่รู้วาย
จักจ้วงพายพาคน..ข้ามพ้นน้ำ

งามยิ่งงาม..ก็ระยับอยู่กับโลก
ปรุงปรนหอมบ่ายโบกโลมโลกต่ำ
เมื่อปรารมภ์พร่างพร้อย..ทุกรอยกรรม-
ย่อมจักย้ำยุดงามอยู่ท่ามตา

มือเรียววาดพาย-วนกลางชลเปลี่ยว
พร้อมทุกเสี้ยวส่วนใจ..รู้-ใฝ่หา
คลื่นสวนลำโหมหนัก..ในมรรคา
เห็นเพียงใจแกร่งกล้าไม่ล้าโรย

ร่างน้อยน้อยนั่งมองตาจ้อง-เพ่ง
ท่ามสูรย์เปล่งปลาบแนว..ลมแผ่วโผย
แรงคลื่นสายธารโลก..คอยโบกโบย
พาพ้นโดยมือเรียว..ที่เคี่ยวกรำ

ปีแล้ว..และปีเล่า..ที่เจ้าเป็น
ผ่านร้อยเข็ญ..พันโศกแห่งโลกต่ำ
ด้วยจิตที่สำนึก..งามลึกล้ำ
ค่อยค่อยจ้ำเรือน้อย..ล่องลอยไป

ละเที่ยวพาย..ละเที่ยวผ่าน..ฝ่าธารเชี่ยว
ค่อยค่อยเคี่ยวกรำสอน..อาทรให้-
ลูกศิษย์น้อยคล้อยหลัง..สู่ฝั่งไกล
ผ่านน้ำไหล..ชะเชี่ยว..ด้วยเรี่ยวแรง

คือเรือน้อยลอยผ่านสายธารไหล
ด้วยจิตใจครูสาวผู้กร้าวแกร่ง
ที่จะคอยคัดท้าย-วาดพาย..ทะแยง
พาหัวเรือทิ่มแทง..สู้แรงน้ำ

ทอดทิ้งตัวตนอยู่..เพื่อผู้อื่น
ท่ามกระแสลมตื่น..เสียงคลื่นคร่ำ-
ครวญระดมห่มห้อม..อยู่ล้อมลำ-
เรือน้อยคอยพลิกคว่ำ..จมลำเรือ

ภาพเด็กน้อยจำพราก..พ้นฟากฝั่ง
มือเรียววาดพายยัง..อีกฝั่งเพื่อ –
รับส่งอีกทุกรุ่น..ช่วยจุนเจือ-
ภาพงดงามให้หลงเหลือ…ในแผ่นดิน..!

ขอขอบคุณ กลอนวันครู จาก Thaipoem.com โดย คุณสดายุ

คิดถึงครู   

นับแต่วัน ที่ครูพา ข้าถึงฝั่ง
ข้าก็หวัง เดินไป สู่ที่หมาย
ความสำเร็จ การศึกษา ในบั้นปลาย
สิ่งสุดท้าย ใบปริญญา ข้าใคร่ครวญ

ข้าเปลี่ยนเรือ มาแล้ว ตั้งหลายลำ
พระคุณล้ำ ครูของข้า ข้านึกหวน
ครูยิ่งใหญ่ หนักหนา ข้าทบทวน
รำลึกหวน ย้อนหลัง เรื่องฝังใจ

ทั้งครูนิด ครูหน่อย ครูต้อยติ่ง
ครูสมหญิง ครูวาสนา ครูผ่องใส
ครูอาทิตย์ ครูภิรมย์ ครูสมใจ
ครูเกรียงไกร ครูสง่า ครูอดุลย์

ข้าตั้งใจ ว่าสักวัน จะหันกลับ
ไปคำนับ กราบครู ผู้เกื้อหนุน
ด้วยสำนึก ในค่า แห่งพระคุณ
ที่เจือจุน สอนข้า ด้วยปรานี

ข้าไม่เคย ลืมคำ ครูพร่ำสอน
ข้าสังวร อยู่แก่ใจ ไม่หน่ายหนี
ข้าตระหนัก ค่าแห่งรัก และปรารถนาดี
ที่ครูมี ต่อข้า มามากมาย

กราบคุณครู ทั้งหลาย ในวันนี้
รอบ ” วันครู ” อีกปี ที่ห่างหาย
หวังปีหน้า ปริญญา ข้าถือไป
พร้อมดอกไม้ ไปกราบลง ตรงเท้าครู

ขอขอบคุณ กลอนวันครู จาก Thaipoem.com โดย คุณอ.วรศิลป์

ใครคือครูครูคือใครในวันนี้
ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล
ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์
ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน

ครูคือผู้ชี้นำทางความคิด
ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน

ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์
มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง

ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง
สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ได้เป็นตัวของตัวเอง

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ ธนวัฒน์ คุณานุวัฒน์ 


อันคุณครูคำนี้มีความหมาย
อันหลากหลายคำพูดจะกล่าวถึง
คือผู้ให้ทรัพย์วิชาน่าคำนึง
คือผู้ซึ้งอบรมให้ทำดี
อีกครูนี้เหมือนพ่อแม่คนที่สอง
ครูจึงต้องอดทนต่อหน้าที่
เพียรสั่งสอนเป็นแม่พิมพ์ศิษย์มากมี
เรือจ้างนี้น้ำใจงามนามว่าครู
ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ Admin จาก preyawat.comคำว่า ” ครู “เปรียบไว้ได้หลายอย่าง
เปรียบ”เรือจ้าง”รับส่งผู้โดยสาร
ให้พ้นห้วงมหาชลาธาร
ได้ข้ามผ่านถึงฝั่งสมตั้งใจ
เปรียบ”แม่พิมพ์”กล่อมเกลาเฝ้าหล่อหลอม
ทั้งโอบอ้อมการุณย์หนุนนำให้
ปลูกฝังซึ่งคุณธรรมผ่องอำไพ
ให้ก้าวไปตามครรลองของชีวา

เปรียบ”แสงเทียน”ส่องสว่างทางมืดมิด
เพื่อให้ศิษย์แจ่มกระจ่างทางศึกษา
จากไม่รู้ทั้งเขลาเบาปัญญา
กลับเก่งกล้าเลิศล้ำเพราะพร่ำเรียน

คือ”ปูชนียบุคคล”เปี่ยมล้นค่า
ควรบูชาเคารพนบนอบเศียร
ทั้งกายใจจิตวิญญาณท่านเฝ้าเพียร
เพื่อนักเรียนเติบใหญ่นั้นได้ดี

ขอทดแทนบุญคุณที่หนุนเนื่อง
ชาติรุ่งเรืองเพราะคุณครูกู้ศักดิ์ศรี
พร้อมอุทิศใจกายหมายมอบพลี
เป็นคนดีที่น่ายลชนชื่นชม

ร่วมเชิดชูครูไทยด้วยใจมั่น
ที่สร้างสรรค์บ่มเพาะความเหมาะสม
ในวันครูที่สิบหกมกราคม
ขอกราบก้มไหว้ครูดีศรีแผ่นดิน

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ jkrolling จาก dreampoem.com

ครูทำงานสอนคนให้เปรื่องปราชญ์ 
หนึ่งสอนศาสตร์คุณธรรมศาสนา
ด้วยสองสิ่งช่วยสร้างคนสร้างปัญญา
สร้างคุณค่าสอนศีลธรรมประจำใจ
………..เป็นผู้ให้ความรู้วิชาการ………………
………..สั่งสอนให้รับผิดชอบในการงาน…….
………..ตลอดการประจักษ์ในพระคุณครู……
………..หน้าที่ของครูนั้นดั่งเรือจ้าง………….
………..คอยนำทางเยาวชนให้ความรู้……….
………..ทั้งสั่งสอนห่วงใยและเฝ้าดู………….
………..ให้ไปสู่ถึงฝั่งอย่างมั่นคง…………….อันคุณครูคำนี้มีความหมาย
อันหลากหลายคำพูดจะกล่าวถึง
คือผู้ให้ทรัพย์วิชาน่าคำนึง
คือผู้ซึ้งอบรมให้ทำดี
อีกครูนี้เหมือนพ่อแม่คนที่สอง
ครูจึงต้องอดทนต่อหน้าที่
เพียรสั่งสอนเป็นแม่พิมพ์ศิษย์มากมี
เรือจ้างนี้น้ำใจงามนามว่าครูพลังแห่งแม่พิมพ์ผู้สร้างชาติ
ก่อให้เกิดนักปราชญ์ชาญศึกษา
เป็นกำลังให้ชาติพัฒนา
ซึ่งนำพาความรุ่งเรืองสู่ผองไทยมาถึงวันสำคัญอาจารย์ศิษย์
ควรนึกคิดถึงพระคุณที่ท่านให้
ท่านอุตส่าห์เสียสละมาเท่าใด
ควรจำไว้และตอบแทนพระคุณเอย

……แสงสาดส่องจากแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่……
……เปรียบครูไทยทั่วทุกทิศที่พร่ำสอน……….
……ฝึกหัดศิษย์เขียนอ่านชาญบทกลอน……..
……มิเกี่ยงงอนงานหนักเบาที่เข้ามา………….
……แม้เหนื่อยยากเท่าใดไม่เคยบ่น………….
……หวังให้ศิษย์ทุกคนมีการศึกษา…………..
……เป็นกำลังสร้างชาติไทยวัฒนา…………..
……ปวงประชาภูมิใจให้เกียรติครู……………

“มะลิ” แทนวจีถ้อยร้อยมาลัย
“ดอกกล้วยไม้” ใช้แทนครูผู้สร้างสรรค์
“กุหลาบ” หรูชมพูขาวมารวมกัน
แทน “กตัญญุตาครู บูชาจารย์”

ถึงวันครูให้รำลึกอยู่ในจิต
ผู้ฝึกคิดฝึกอ่านและสั่งสอน
จริยธรรมคุณธรรมเป็นอาภรณ์
ครูพร่ำสอนฝึกเด็กให้ดีพลัน
ครั้งละบาทนับไม่ควรค่าเรือจ้าง
ที่ทั้งสร้างคนสร้างงานสร้างความฝัน
สรัางทุกสิ่งเป็นทุกอย่างมารวมกัน
ให้เด็กนั้นเป็นคนดีศรีชาติเอย

ขอขอบคุณ กลอนวันครู    จาก dek-d.com

บรรจงจีบกล้วยไม้ใส่พานพุ่ม
หญ้าแพรกคลุมประดับกับดอกเข็ม
ดอกรักเป็นพู่ห้อยเรียงร้อยเต็ม
มะเขือเข้มสีม่วงขาวข้าวตอกแซม

ปักธูปเทียนตรงกลางอย่างปราณีต
พร้อมเขียนขีดอักษรามาแต่งแต้ม
แด่แม่พิมพ์ ทอแสงเรือง เหลืองวับแวม
เรือจ้างแจ่ม โดยสารส่ง ลงนาวา

พฤหัสบดี ดิถีผ่อง
เริ่มที่สอง ของเดือน เยือนมาหา
ขอก้มกราบซาบซึ้งใจในครูบา
มิถุนา อย่าลืมกัน วันไหว้ครู

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ jk-rolling จาก dreampoem.com

สิบนิ้วน้อมประนมมาคารวะ
บูรพคณาจารย์ผ่านร้อยฝัน
ซึ้งพระคุณอุ่นกมลจนนิรันดร์
ความผูกพันทุกห้วงฝังดวงแด

ไหว้คุณครูคนแรกไม่แปลกหรอก
ที่จะบอกออกชื่อคือพ่อแม่
เป็นผู้ให้ทุกอย่างไม่ห่างแล
คือครูแท้ที่หนึ่งซึ้งพระคุณ

ไหว้คุณครูหัดเขียนเรียน ก.ไก่
แต่เยาว์วัยได้ความรู้สู้เกื้อหนุน
แม้ท่านล่วงลับไปแต่ใบบุญ
ยังอบอุ่นให้จำร่ำอาลัย

ไหว้ท่าน”ภู่”ครูสอนแต่งกลอนแปด
หกสิบแดดผ่านมาได้อาศัย
ได้รู้หลักอักษราภาษาไทย
ซึ้งอยู่ในความคิดเป็นนิจมา

ขอพระคุณแห่งครูช่วยชูโชค
ให้ความโศกสิ้นพลันไร้ปัญหา
ให้กวีสร้างสรรค์เกิดปัญญา
ประดับฟ้าเมืองไทยเพิ่มไพบูลย์.

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ kunta จาก dreampoem.com

ครูคนแรกนั้นหนอคือพ่อแม่
ที่ดูแลเลี้ยงเราเฝ้าสั่งสอน
ตั้งแต่เกิดกายาเอื้ออาทร
หนาว ฝน ร้อน สอนเสริมแต่งเติมใจ

พ่อแม่คนที่สองรองจากท่าน
คุณครูนั้นแน่แท้ช่วยแก้ไข
เติมปัญญา เติมชิวิตเติมจิตใจ
เราจึงได้เป็นลูกศิษย์ คิดแต่ดี

ขอนบน้อม พร้อมจิต คารวะ
เหนือเกศะ ด้วยพระคุณการุณย์นี้
ไหว้พ่อแม่ ครูบา ผู้อารีย์
พระคุณที่ มากหนอ ขอบูชา

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ jk-rolling จาก dreampoem.com

ไหว้บูรพคณาจารย์ให้การสอน
กราบขอพรพูนเพิ่มเฉลิมศิลป์
เสวยสุขเกษมสมชั้นพรหมอินทร์
จงยลยินเจตนาบูชาชู

ไหว้คุณครูปัจจุบันผู้สรรค์สร้าง
ดุจเรือจ้างกลางชลาฟันฝ่าสู้
จงปรีด์เปรมเกษมสันต์ในวันครู
ชีวิตผู้เยาว์วัยฝากให้แล.

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ kunta จาก dreampoem.com

อุดมการณ์ของครูผู้ถือมั่น
มุ่งสร้างสรรค์สอนศิษย์ด้วยจิตหมาย
แม้ต้องทนเหนื่อยยากลำบากกาย
ยังขวนขวายความรู้สู่นักเรียน

เป็นแม่พิมพ์บ่มเพาะความเหมาะสม
ด้วยชื่นชมชี้ช่องมองปรับเปลี่ยน
ให้เด็กมีความมานะและพากเพียร
อาจติเตียนเพื่อก่อความพอใจ

นี่แหละครูในอุดมคติฉัน
ขอมุ่งมั่นยึดแนวทางท่านวางไว้
จะเป็นพิมพ์แบบอย่างสร้างชาติไทย
จากหัวใจเด็กคนหนึ่งที่ซึ้งครู

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ jk-rolling จาก dreampoem.com

ไหว้คุณครูผู้ผ่านงานแสนหนัก
ให้ความรักเอ็นดูชูศักดิ์ศรี
สั่งสอนศิษย์ติดตามมอบความดี
อุทิศพลีเพื่อเด็กผู้เล็กเยาว์

ดั่งแสงเทียนส่องใจให้สว่าง
ดั่งเรือจ้างแจวลากพ้นจากเขลา
ดั่งแม่พิมพ์อิ่มหอมช่วยกล่อมเกลา
ดั่งร่มเงาพฤกษ์ไพรให้ความเย็น

ไหว้คุณครูผู้ขยันหมั่นศึกษา
ยึดจรรยาบรรณงามเมื่อยามเห็น
ไหว้คุณครูคนสวยอยากช่วยเป็น
ผู้ร่วมเข็นวิทยฐานะครู.

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ kunta จาก dreampoem.com

บรรจงจัดดอกไม้ด้วยใจน้อม
หญ้าแพรกพร้อมเข็มแซมแต่งแต้มหรู
ดอกมะเขือเอื้อหนุนคุณพร่างพรู
ดอกรักชูบูชา ครูอาจารย์

พร้อมเทียนธูปวันทาคารวะ
ศิษย์มานะเล่าเรียนได้เขียนอ่าน
เฝ้าสั่งสมวิชาพาเชี่ยวชาญ
จึงเบ่งบานปัญญาอย่างค่าควร

ในวันครูเวียนมาอีกคราหนึ่ง
ศิษย์ซาบซึ้งความดีมีครบถ้วน
ด้วยอบรมสอนสั่งหวังชี้ชวน
ทั้งหมดมวลด้วยใจไร้เล่ห์กล

พฤหัสบดี ดิถีผ่อง
ดั่งเก็จก่อง ประกายเกิดกำเนิดผล
กล้วยไม้แทนคุณค่าเป็นสากล
มิถุนายน เวียนอีกครา บูชาครู

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ jk-rolling จาก dreampoem.com

มิถุนาชื่นบานสานใยรัก
ต่างประจักษ์แจ้งไว้ในใจอยู่
เป็นพิธีสืบสานการไหว้ครู
ศิษย์ทุกผู้รู้แจ้งแห่งดวงมาน

ดอกไม้ฉมชมชื่นยื่นด้วยรัก
ฝากใจภักดิ์ให้พร้อมน้อมอ่อนหวาน
เป็นดอกไม้เปี่ยมรักล้นยลเบิกบาน
หวังสืบสานตำนานเก่าเล่าเลื่องลือ

ดอกไม้ผลิกิ่งกานแตกก้านหน่อ
เหมือนลออทอแสงแห่งความซื่อ
กลีบบางเบาเฉาง่ายหากหลายมือ
ยิ่งยึดยื้อถือแรงแห้งเฉาตาย

ดรุณน้อยคอยครูผู้พร่ำสอน
ดังไม้อ่อนดัดง่ายได้ดังหมาย
หากรดน้ำพรวนดินใจไม่เสียดาย
จักสืบสายคนดีศรีแผ่นดิน

ให้สำนึกรักชาติศาสน์กษัตริย์
รู้ประหยัดสร้างสานงานท้องถิ่น
เคารพนอบบุพการีมีในจินต์
ห่างไกลสิ้นเสพสร้างทางมัวเมา

ใฝ่ใจเรียนเขียนอ่านการศึกษา
จักพูนเพิ่มปัญญาลาโฉดเขลา
เรียนเถิดเจ้านกน้อยค่อยขัดเกลา
พ้นวัยเยาว์เจ้าเติบใหญ่จักได้ดี.

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ am087 จาก dreampoem.com

ประดุจดั่งแม่พ่อก่อกำเนิด
น้ำใจเลิศเมตตามหาศาล
ผู้สอนสั่งทั้งจริยาวิชาการ
สร้างสืบสานคนมีธรรมนำสังคม

หวังเพียงให้เด็กน้อยค่อยเติบใหญ่
มีน้ำใจใฝ่สรรค์สร้างอย่างสั่งสม
ถ้วนทุกวันหมั่นขัดเกลาเฝ้าอบรม
เพียรเพาะบ่มสุดกำลังด้วยตั้งใจ

ฝึกค้นคิดพิจารณาหาคำตอบ
ฝึกทดสอบวิเคราะห์ความรู้ถามไถ่
ฝึกเทคโนโลยีที่ก้าวไกล
ฝึกประยุกต์ใช้ตามวิถีที่เพียงพอ

ฝึกให้เป็นผู้ให้ไม่หวังผล
ฝึกอดทนสร้างสายใจไว้เกี่ยวก่อ
ฝึกวิธีทำใจในคำรอ
ฝึกไม่ท้อแท้ใจในชะตา

เป็นแสงเทียนแห่งธรรมนำสว่าง
เป็นแก่นกลางกลไกชาติปราชญ์ศึกษา
เป็นผู้จุดเทียนทองของปัญญา
เป็นผู้กล้าแกร่งหัวใจไฟอุดมการณ์

จะเหนื่อยยากอย่างไรก็ไม่บ่น
พร้อมผจญขจัดปัดทุกข์ผ่าน
เสียสละเพื่อส่วนรวมร่วมกอปรการ
รักในงานที่ศรัทธาอาชีพครู

ขอนบนิ้วบูชามากราบไหว้
คุณครูไทยทั้งหลายได้รับรู้
น้อมนำใจใส่ทูนเทิดและเชิดชู
จากหนูหนูนักเรียนเขียนอวยพร

ขอคุณพระศักดิ์สิทธิ์ฤทธิผล
โปรดดาลดลทุกข์สลายคลายเดือดร้อน
ส่งความสุขสู่กายใจไร้นิวรณ์
ผ่านกานท์กลอนนี้มาบูชาครู..

ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ Phraernumkang จาก dreampoem.com

คำว่า ” ครู “เปรียบไว้ได้หลายอย่าง
เปรียบ”เรือจ้าง”รับส่งผู้โดยสาร
ให้พ้นห้วงมหาชลาธาร
ได้ข้ามผ่านถึงฝั่งสมตั้งใจ

เปรียบ”แม่พิมพ์”กล่อมเกลาเฝ้าหล่อหลอม
ทั้งโอบอ้อมการุณย์หนุนนำให้
ปลูกฝังซึ่งคุณธรรมผ่องอำไพ
ให้ก้าวไปตามครรลองของชีวา

เปรียบ”แสงเทียน”ส่องสว่างทางมืดมิด
เพื่อให้ศิษย์แจ่มกระจ่างทางศึกษา
จากไม่รู้ทั้งเขลาเบาปัญญา
กลับเก่งกล้าเลิศล้ำเพราะพร่ำเรียน

คือ”ปูชนียบุคคล”เปี่ยมล้นค่า
ควรบูชาเคารพนบนอบเศียร
ทั้งกายใจจิตวิญญาณท่านเฝ้าเพียร
เพื่อนักเรียนเติบใหญ่นั้นได้ดี

ขอทดแทนบุญคุณที่หนุนเนื่อง
ชาติรุ่งเรืองเพราะคุณครูกู้ศักดิ์ศรี
พร้อมอุทิศใจกายหมายมอบพลี
เป็นคนดีที่น่ายลชนชื่นชม

ร่วมเชิดชูครูไทยด้วยใจมั่น
ที่สร้างสรรค์บ่มเพาะความเหมาะสม
ในวันครูที่สิบหกมกราคม
ขอกราบก้มไหว้ครูดีศรีแผ่นดิน

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : jkrolling จาก dreampoem.com

……..อันคุณ ครู คำนี้มีความหมาย
อันหลากหลายคำพูดจะกล่าวถึง
คือผู้ให้ทรัพย์วิชาน่าคำนึง
คือผู้ซึ้งอบรมให้ทำดี
อีกครูนี้เหมือนพ่อแม่คนที่สอง
ครูจึงต้องอดทนต่อหน้าที่
เพียรสั่งสอนเป็นแม่พิมพ์ศิษย์มากมี
เรือจ้างนี้น้ำใจงามนามว่า ครู ……

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : Admin จาก preyawat.com

……แสงสาดส่องจากแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่……

……เปรียบ ครู ไทยทั่วทุกทิศที่พร่ำสอน……
……ฝึกหัดศิษย์เขียนอ่านชาญบทกลอน…..
……มิเกี่ยงงอนงานหนักเบาที่เข้ามา…….
……แม้เหนื่อยยากเท่าใดไม่เคยบ่น……..
……หวังให้ศิษย์ทุกคนมีการศึกษา…….
……เป็นกำลังสร้างชาติไทยวัฒนา……..
……ปวงประชาภูมิใจให้เกียรติครู…….

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : Admin จาก preyawat.com

บูชาครูผู้ประเสริฐเลิศล้ำเหลือ
สอนศิษย์เพื่อมีความรู้สู่ความฝัน
เป็นคนดีศรีสังคมอบรมกัน
มุมุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณหนุนความดี
บูชาครูผู้ล้ำเลิศประเสริฐหลาย
ศิษย์หญิงชายได้ตระหนักรักศักดิ์ศรี
น้อมนำพรอวยพรครูอยู่สุขขี
ปลื้มเปรมปรีดิ์ดวงฤดีชั่วชีวา
อัญเชิญเทพเมืองแมนแดนดุสิต
เนรมิตพิชิตภัยได้รักษา
เทพเทวัญเนาชั้นฟ้าองค์อินทรา
อัญเชิญมาอวยชัยครูอยู่จำเริญ

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : นายทองม้วน สิงห์ทองห้า

กรองมาบูชาครู

ครู ของฉันเรียนจบ แค่ปอ สี่
ปริญญาเอก โท ตรี หามีไม่
ไม่เรียนจิตวิทยา มาเหมือนใคร
เพียงแต่มีหัวใจ ใฝ่เป็นครู
ท่านจึงมีไม้เรียว ไว้เคี่ยวเข็น
มีน้ำคำ ฉ่ำเย็น ระรื่นหู
มีท่าที กริยา น่าเชิดชู
มีจิตใจ ควรคู่ การบูชา
เฝ้าอบรม สั่งสอน อาทรศิษย์
ชี้ถูกผิด ชั่วดี มีคุณค่า
ท่านอดทน ทุ่มเท ทุกเวลา
ต้องหนักแน่น แม้นว่า ต้องหนักใจ
การเป็นครู ดูเหมือน ไม่ยากเย็น
แต่หลายคน มาเป็น เป็นไม่ได้
แม้รอบรู้ สามารถ ศิลป์ศาสตร์ใด
อยากเป็นครู ถึงเป็นได้ ก็ไม่นาน
เพราะครูคือ ผู้ให้ ใช่บัณฑิต
ที่ปราดเปรื่อง เรืองวิทย์ ทุกทุกด้าน
คือผู้สร้างความคิด จิตวิญญาณ
และกล่อมเกลาสันดาน อย่างมารดา
เป็นแม่พิมพ์ แม่แบบ อย่างแยบยล
ครูสร้างคน ใช่แค่งานการศึกษา
ต้องถ่ายทอดด้วยชีวิต ใช่วิชชา
ความเป็นครู จึงมีค่า กว่าอาจารย์

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : ชูชาติ ครุฑใจกล้า จาก Dek-d.com

ครูคือใคร

ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ 
ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล 
ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์ 
ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน 
ครูคือผู้ ชี้นำ ทางความคิด 
ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน 
ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร 
ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน 
ครูคือผู้ ยกระดับ วิญญาณมนุษย์ 
ให้สูงสุด กว่าสัตว์ เดรัจฉาน 
ปลุกสำนึก สั่งสม อุดมการณ์ 
มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง 
ครูจึงเป็น นักสร้าง ผู้ยิ่งใหญ่ 
สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง 
สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง 
ขอมอบเพลง นี้มา บูชาครู

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : Darkthailand จาก spaces.live.com

วันสิบหก มกรา ข้าเคารพ
ขอน้อมนบ แด่ครู ผู้สั่งสอน
คอยอบรม บ่มวินัย ให้รู้นอน
กับคำสอน ล้ำค่า แสนสำคัญ

ศิษย์น้อมกราบ ขอบพระคุณ คุณครูเหลือ
ที่คอยเกื้อ เจือจุน หนุนใจฉัน
ทุกสิ่งดี ที่บัดนี้ มีทุกวัน
ก็เพราะครู ผู้เลอสรรค์ บันดาลมา

มีเพียงคำ กล่าวเอ่ย เผยให้รู้
แด่คุณครู ผู้ชี้ทาง การศึกษา
ศิษย์วันนี้ ดีได้นั้น ด้วยปัญญา
ที่คุณครู ผู้ชี้ฟ้า นำข้าไป

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : รัชนี คุณานุวัฒน์ จาก kroobannok.com

พระคุณครู

พระคุณครูใหญ่ยิ่งเป็นมิ่งฟ้า
ทั่วสุธาน้อมบูชาท่านเหนือเศียร
เพราะครูเปรียบดังประกายจากแสงเทียน
ให้ศิษย์เรียนรู้โลกอันกว้างไกล
ศิษย์คนนี้จะจำคำครูสอน
เป็นคำวอนให้อนาคตศิษย์สดใส
ศิษย์รู้ว่าครูรักศิษย์ดั่งหทัย
ในดวงใจศิษย์มิลืมพระคุณครู

ขอขอบคุณที่มาจาก : Forward Mail

แด่คุณครู ด้วยดวงใจ 

ก้มกราบเท้าระลึกคุณพ่อแม่
เลี้ยงดูแลอบรมบ่มนิสัย
เปรียบคุณครูคนแรกซึ้งหทัย
มโนมัยใช้เลี้ยงลูกปลูกกมล

ขอก้มกราบระลึกคุณอาจารย์
ท่านสืบสานสอนวิชาพาฝึกฝน
ศิษย์ได้เรียนเพียรขยันหมั่นคิดค้น
ครูสร้างคนฉลาดล้ำนำปัญญา

สิบหกมกรามาบรรจบ
สิบนิ้วนบกราบคุณครูทุกทิศา
ยกพานพุ่มดอกไม้น้อมบูชา
เทิดครูบาระลึกคุณเหล่าอาจารย์

ถึงอยู่ห่างแคว้นใดไกลสุดแสน
ทั้งชายแดนเหนือใต้ใคร่ส่งสาร
มอบแรงใจให้คุณครูถิ่นกันดาร
พระคุณท่านจักตราไว้ให้อนุชน

พายเรือจ้างกลางชนให้คนนั่ง
หมั่นฝนทั่งกลายเป็นเข็มสัมฤทธิ์ผล
เป็นแม่พิมพ์ของชาติเปี่ยมค่าล้น
น้อมกมล แด่คุณครู..ด้วยดวงใจ ….//**

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนปีใหม่จาก : Forward mail

อันคุณครูคำนี้มีความหมาย อันหลากหลายคำพูดจะกล่าวถึง

คือผู้ให้ทรัพย์วิชาน่าคำนึง คือผู้ซึ้งอบรมให้ทำดี
อีกครูนี้เหมือนพ่อแม่คนที่สอง ครูจึงต้องอดทนต่อหน้าที่
เพียรสั่งสอนเป็นแม่พิมพ์ศิษย์มากมี เรือจ้างนี้น้ำใจงามนามว่าครู

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนปีใหม่จาก : คุณ arms จาก จาก sakulthai.com

พลังแห่งแม่พิมพ์ผู้สร้างชาติ
ก่อให้เกิดนักปราชญ์ชาญศึกษา
เป็นกำลังให้ชาติพัฒนา
ซึ่งนำพาความรุ่งเรืองสู่ผองไทย
มาถึงวันสำคัญอาจารย์ศิษย์
ควรนึกคิดถึงพระคุณที่ท่านให้
ท่านอุตส่าห์เสียสละมาเท่าใด
ควรจำไว้และตอบแทนพระคุณเอย

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนปีใหม่จาก : คุณ ปริมล & ภัทรพร จาก sakulthai.com

“มะลิ” แทนวจีถ้อยร้อยมาลัย
“ดอกกล้วยไม้” ใช้แทนครูผู้สร้างสรรค์
“กุหลาบ” หรูชมพูขาวมารวมกัน
แทน “กตัญญุตาครู บูชาจารย์”

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนปีใหม่จาก : คุณ นิตยา จาก sakulthai.com

ถึงวันครูให้รำลึกอยู่ในจิต
ผู้ฝึกคิดฝึกอ่านและสั่งสอน
จริยธรรมคุณธรรมเป็นอาภร
ครูพร่ำสอนจรเด็กให้เป็นคน
***ครั้งละบาทนับไม่ควรค่าเรือจ้าง
ที่ทั้งสร้างแบะคิดประสิทธิ์ผล
ครูสร้างคนสร้างชาติดังเครื่องกล
บังเกิดผลอันดีสรีชาติเอย

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนปีใหม่จาก : คุณ อุ๊ 2/10 ด.ส. จาก sakulthai.com

ครูคือปูชนียบุคคล 
ท่านทำตนเป็นแบบอย่างให้เราเห็น
เป็นดั่งแสงสว่างของเดือนเพ็ญ
ส่องนวลเย็นทั่วหล้าในราตรี
เป็นดั่งดาวพราวระยับสวยจับจิต
คอยส่องทิศส่องทางสว่างศรี
อบรมศิษย์เป็นพลเมืองดี
สอนให้มีความรักคู่คุณธรรม
ครูท่านเป็นเสมือนดั่งพ่อแม่
คอยดูแลยามพลั้งผิดมิคิดซํา
แนะแนวทางสว่างให้ไม่ปิดงำ
สอนให้จำสิ่งที่พลาดเป็นบทเรียน
พระคุณท่านยิ่งใหญ่เกินกำหนด
ไม่มีหมดแม้วันจะผันเปลี่ยน
ส่องสว่างกลางจิตดั่งแสงเทียน
คอยพากเพียรส่งศิษย์ถึงฝั่งเอย

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนปีใหม่จาก : คุณ จาก ว.ท จาก sakulthai.com

คุรุสภารับสอบครู9ม.วิชาชีพครูครั้งที่11

ที่มา  :  คุรุสภา  

เปิดรับสมัครวันที่ 11 มกราคมนี้เป็นวันแรก  สำหรับผู้ที่ไม่ได้จบสายครูแต่มีหัวใจครู  และวิธีการให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตปฏิบัติการสอน  เพื่อใช้ในการสมัครสอบครู  และก้าวสู่การครอบครองใบประกอบวิชาชีพครู   เมื่อผ่านการปฏิบัติการสอนครบ 1 ปี   ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องสอบให้ผ่านครบทั้ง 9 มาตรฐานวิชาชีพ  ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11

คุรุสภา โดยคณะอนุกรรมการรับรองความรู้วิชาชีพทางการศึกษา เปิดรับสมัครสอบมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ครั้งที่ 11 สำหรับชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาและสาขาอื่นๆ ที่ประสงค์จะขอรับการรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครูที่คุรุสภากำหนด โดยการทดสอบตามกำหนดการ ดังนี้

7-10 ม.ค. 2556    ประกาศรับสมัครทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ครั้งที่ 11 ผ่านเว็บไซต์คุรุสภา หรือ คลิกที่นี่

11-30 ม.ค. 2556  รับสมัครทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ครั้งที่ 11 ผ่านระบบทดสอบออนไลน์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศผ่านเว็บไซต์คุรุสภา

การรับสมัครทดสอบ
๓.๑  ผู้ประสงค์จะสมัครทดสอบ สมัครได้ทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ ๑๑ – ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖  ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยใช้ Internet Explorer Browser ในการเข้าระบบรับสมัครทดสอบออนไลน์ และดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
๓.๑.๑ เปิดเว็บไซต์ http://upload.ksp.or.th/ksptest/index_th.php เพื่อเข้าระบบรับสมัครทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ครั้งที่ ๑๑ จากนั้นให้ผู้สมัครทดสอบคลิ้ก “ใบสมัครออนไลน์”

๓.๒   ค่าธรรมเนียมในการสมัครทดสอบ ประกอบด้วย
๓.๒.๑ ค่าธรรมเนียมการทดสอบ มาตรฐานละ ๓๐๐ บาท
๓.๒.๒ ค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเตอร์เน็ต จำนวน ๓๐ บาทต่อครั้งค่าธรรมเนียมในการสมัครทดสอบจะไม่จ่ายคืนให้ผู้สมัครทดสอบไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้นรวมทั้งการเลื่อนวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิทดสอบ วันเวลาทดสอบ สถานที่สอบ เว้นแต่จะมีการยกเลิก

๔. วัน เวลา และสถานที่ทดสอบ
เสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖        ภาษาและเทคโนโลยี  การพัฒนาหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้

อาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖   จิตวิทยาสำหรับครู  การวัดและประเมินผลการศึกษา  การบริหารจัดการในห้องเรียน
จันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖       การวิจัยทางการศึกษา  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  ความเป็นครู
สถานที่ทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา     ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร
ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น
ภาคใต้ จังหวัดสงขลา

4-6 พ.ค. 2556      ดำเนินการทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ 9 มาตรฐาน ครั้งที่ 11 ทั้งชาวไทย และต่างประเทศพร้อมกัน ณ ศูนย์ทดสอบส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

กรกฎาคม 2556    ประกาศผลการทดสอบควมรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพทั้ง 9 มาตรฐาน

มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘  ดังนี้
๑. คุณสมบัติของผู้สมัครทดสอบ
๑.๑   มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร)
๑.๒   มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทุกสาขา หรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่านี้
๑.๓   ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๔ (ข) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังนี้
๑.๓.๑ เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
๑.๓.๒ เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
๑.๓.๓ เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
๒. มาตรฐานความรู้ที่เปิดทดสอบ ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูที่กำหนดในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ ผู้สมัครทดสอบสามารถเลือกทดสอบความรู้ในมาตรฐานต่างๆ ดังนี้
๒.๑   ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
๒.๒   การพัฒนาหลักสูตร
๒.๓   การจัดการเรียนรู้
๒.๔  จิตวิทยาสำหรับครู
๒.๕  การวัดและประเมินผลการศึกษา
๒.๖   การบริหารจัดการในห้องเรียน
๒.๗  การวิจัยทางการศึกษา
๒.๘  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
๒.๙   ความเป็นครู

วันเวลาที่เปิดรับสมัคร สมัคร สอบ 9 มาตรฐาน 2556

11 11-31 มค 2556  สมัครสอบ 9 มาตรฐานวิชาชีพครู 2556

ความคืบหน้า”เงินโบนัส”ข้าราชการ

ที่มา  :  กรมบัญชีกลาง

กรมบัญชีกลาง ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0406.6/ว5 ลงวันที่ 8 ม.ค.2556 เรื่องการตรวจสอบเิงินงบประมาณเหลือจ่าย ประจำปี 2554 ที่เหลือจ่าย เพื่อจัดสรรเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ 2554 ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วครับ ส่วนเงินจะได้ตอนไหน ต้องลุ้นกัน

ศธ.จัดวันครูเฉลิมพระเกียรติแม่แห่งแผ่นดิน

ที่มา  :  เดลินิวส์  วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556 เวลา 16:07 น.

 เมื่อวันที่ 8 ม.ค.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายดิเรก พรสีมา ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดแถลงข่าวการจัดการวันครู พ.ศ. 2556 ครั้งที่ 57 “เฉลิมพระเกียรติพระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นครู” และ “ยอดครูผู้มีอุดมการณ์”ตามโครงการตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู

นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 57 วันที่ 16 ม.ค.2556 คุรุสภากำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 12-16 ม.ค.2556 โดยมีแก่นสาระของการจัดงานคือ เฉลิมพระเกียรติพระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นครู มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2555 เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ เพื่อส่งเสริมเชิดชูเกียรติครู และวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความสามัคคี ความร่วมมือ และความเข้าใจอันดี ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษากับประชาชน และธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม รวมถึงเพื่อจัดกิจกรรมทางวิชาการในการเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ

สำหรับการจัดงานวันครูปีนี้ส่วนกลางจะจัดที่หอประชุมคุรุสภาในวันที่ 12-16 ม.ค.2556 ส่วนภูมิภาคจัด ณ สถานที่ที่คุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษากำหนดในวันที่ 16 ม.ค.2556 ส่วนกิจกรรมสำคัญในงานที่ส่วนกลางประกอบด้วย กิจกรรมระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ การคารวะครูอาวุโส การยกย่องเชิดชูเกียรติ และประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบวิชาชีพและพิธีมอบรางวัลผู้ได้รับรางวัลคุรุสภาจำนวน 9 คน และครูผู้มีอุดมการณ์ 4 คน รวมถึงรางวัลอื่น ๆ โดยงานนี้จะมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับที่จะมาเป็นประธาน และจะมีพิธีกราบคารวะครูของนายกรัฐมนตรีด้วย

ทั้งนี้   คำขวัญวันครูปีนี้  คือ  “แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฎร์ภักดี ครูศรีแผ่นดิน”  แต่งโดยนายสะอาด สีหภาค จากจังหวัดศรีสะเกษ”นายพงศ์เทพ กล่าว และว่าสำหรับครูผู้มีอุดมการณ์จำนวน 4 รายได้แก่ นายสมศักดิ์ วุฒิสัตย์ ผอ.โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก นายนพรัตน์ รุ่งโรจน์ ผอ.โรงเรียนอนุบาลวัดคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด นายปรีชา เวชศาสตร์ ผอ.วิทยาลัยประมงปัตตานี จังหวัดปัตตานี และนายวีระยุทธ เพชรประไพ ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โรงเรียนเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

ด้าน รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์งานวันครูและจัดกิจกรรมระลึกถึงพระคุณ บูรพาจารย์ พ.ศ.2556  กล่าวว่า สวนดุสิตโพลได้จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นครูไทย ปี 2555 โดยสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศพบว่าดัชนีครูไทยได้ 7.86 จากคะแนนเต็ม 10 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ได้ 7.85 คะแนน โดยประเด็นที่มีค่าคะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุด ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ การแต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ 8.17 คะแนน ความรู้ความสามารถในการสอน 8.12 คะแนน ส่วนค่าคะแนนความเชื่อมั่นที่น้อยที่สุดคือ การไม่เป็นหนี้สิน 7.47 คะแนน การแสดงออกทางอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ 7.51 คะแนน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน เข้าใจนักเรียน 7.65 คะแนน นอกจากนี้ยังได้สำรวจความเห็นครูทั่วประเทศ จำนวน 2,508 คนเพื่อให้สะท้อนความเห็นประกอบการพัฒนาวิชาชีพ มีประเด็นที่น่าสนใจ
อาทิ 1.เรื่องหลักสูตร ครูเห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงและปรับเปลี่ยนน้อย 44.12%  มีเนื้อหาวิชาที่ยากเกินไป/มุ่งเน้นการเรียนตามตำรามากกว่าลงมือปฏิบัติจริง 22.08%  ต้องมีความชัดเจนและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยสอดรับกับการมุ่งสู่อาเซียน 12.23%  2.เรื่องนักเรียน ครูเห็นว่าไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจทบทวนบทเรียน หลงกับสิ่งยั่วยุ เช่น ติดเกม 37.74%  สนใจที่จะเรียนรู้เรื่องสื่อและเทคโนโลยีมากกว่าให้ความสำคัญในเรื่องของ ความเป็นไทย 32.45% ไม่เคารพเชื่อฟังครู ขาดระเบียบวินัย ประพฤติตัวไม่เหมาะสม 11.92% 3.ปัญหาที่หนักอก ส่วนใหญ่เห็นว่าภาระงานของครูมีมากเกินไป ต้องทำหลายหน้าที่ ทำให้ไม่มีเวลาการจัดการเรียนการสอน 29.28% เรื่องขวัญและกำลังใจ เงินเดือนค่าตอบแทน สวัสดิการ ความก้าวหน้าต่างๆของครู 25.16% เป็นต้น.

“แม่พิมพ์SP2″ได้สิทธิสอบ”ครูผู้ช่วย”

ที่มา   :   มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 – 10 ม.ค. 2556

เป็นข่าวฮอตทางหน้าหนังสือพิมพ์อยู่พักหนึ่งสำหรับการเคลื่อนไหวของชมรมครูอัตราจ้างตามโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 หรือ SP2 ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

กุหลาบชมพูนำโดย นายอมรัตน์ ทองสาดี ประธานชมรมครูอัตราจ้างฯ ที่ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ภายหลังเสียสิทธิในการสมัครสอบเพื่อบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12

ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดรับสมัครไปเมื่อวันที่ 6-12 ธันวาคมที่ผ่านมา

เรื่องของเรื่องก็คือ ตามหลักเกณฑ์ ว12 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการตำแหน่งครูผู้ช่วย จะต้องเป็นครูอัตราจ้างที่จ้างด้วยเงินงบประมาณเท่านั้น

ถ้าเป็นเงินนอกงบประมาณก็หมดสิทธิ จึงเกิดปัญหาการตีความตามมาว่าแล้วเงินกู้ SP2 จะเข้าข่ายเงินงบประมาณหรือไม่?
ที่ผ่านมามีบางเขตพื้นที่การศึกษาตีความว่าเป็นเงินงบประมาณ จึงรับสมัครครูอัตราจ้างกลุ่มนี้ไปแล้ว

ขณะที่บางเขตพื้นที่ฯ ตีความว่าเงินกู้ SP2 เป็นเงินนอกงบประมาณ จึงปฏิเสธที่จะรับสมัครครูอัตราจ้างกลุ่มนี้

เมื่อแนวปฏิบัติเกิดความลักลั่นเช่นนี้ กลุ่มครูอัตราจ้างผู้เสียสิทธิจึงออกมาร้องเรียนว่าไม่เป็นธรรม เพราะพวกเขาก็ปฏิบัติหน้าที่สอนหนังสือในโรงเรียน และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเหมือนกับครูอัตราจ้างประเภทอื่นๆ เช่น ครูอัตราจ้างที่จ้างด้วยเงินที่โรงเรียนเก็บจากผู้ปกครอง แต่กลับได้รับสิทธิสมัครสอบครูผู้ช่วย ว12

ครูอัตราจ้าง สังกัด สพฐ. ทั่วประเทศมีกว่า 20,000 คน โดยเป็นครูอัตราจ้าง SP2 ตามโครงการพัฒนาครูทั้งระบบสาขาครูขาดแคลน 5,290 อัตรา และโครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3,972 อัตรา ถือว่าเป็นจำนวนค่อนข้างมาก ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3,972 อัตรา ถือว่าเป็นจำนวนค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับอัตราว่างที่ สพฐ. รับบรรจุแค่ 2,300 อัตรา จาก 224 เขตพื้นที่ฯ และ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)

โดยเขตพื้นที่ฯ ที่ไม่ประกาศรับสมัครสอบในครั้งนี้ มีแค่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) พัทลุง เขต 1 เท่านั้น เนื่องจากมีอัตราว่างไม่มาก

การเคลื่อนไหวของครูอัตราจ้าง SP2 ต้องถือว่าประสบความสำเร็จ ด้วยว่า สพฐ. ทำหนังสือด่วนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และ สพป. ทั่วประเทศในทันที เพื่อขอให้ชะลอการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ พร้อมกับทำหนังสือขอหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครทั้งครูอัตราจ้างตามโครงการเงินกู้ SP2 ปี 2555, กลุ่มครูธุรการโรงเรียนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน และกลุ่มครูพี่เลี้ยงที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน ว่ามีคุณสมบัติที่จะสมัครสอบบรรจุครั้งนี้ได้หรือไม่

ซึ่ง 2 กลุ่มหลัง ถือว่าเป็นการขอหารือไปในคราวเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันอีก

ผลหารือปรากฏว่าคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ซึ่งทำหน้าที่แทน ก.ค.ศ. ได้ประชุมหารือเรื่องนี้แล้วมีข้อสรุปว่า ครูอัตราจ้างตามโครงการเงินกู้ SP2 และอัตราจ้างตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กพิการที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน มีสิทธิสมัครสอบได้

แต่กลุ่มครูธุรการโรงเรียนตามโครงการคืนครูให้นักเรียนไม่มีสิทธิสมัคร เพราะ สพฐ. มีหนังสือสั่งการไปยังเขตพื้นที่การศึกษาว่าครูกลุ่มนี้ไม่ให้สอนหนังสือ ฉะนั้น ทำให้ขาดคุณสมบัติ

ส่วนกรณีอื่นๆ อาทิ กลุ่มแล็บบอย ก็ไม่สามารถสมัครสอบได้ เพราะเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ช่วยเตรียมการทดลองเท่านั้น ไม่ได้สอนหนังสือ

สพฐ. โดย นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง สพม.

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง สพม. และ สพป. ที่ประกาศสอบทั่วประเทศ ให้ออกประกาศรับสมัครเพิ่มเติมเฉพาะกรณีครูอัตราจ้างปฏิบัติการสอนตามโครงการเงินกู้ SP2 ปี 2555 และอัตราจ้างตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กพิการที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน

โดย สพฐ. กำหนดให้รับสมัครเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 25-27 ธันวาคมที่ผ่านมา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก 28 ธันวาคม คัดเลือกวันที่ 13 มกราคม 2556 และประกาศผลการคัดเลือกในวันที่ 28 มกราคม 2556

โดยหลักฐานประกอบการรับสมัคร กำหนดว่าปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตปฏิบัติการสอนที่ระบุในประกาศรับสมัครคัดเลือก จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจไม่หลังจากวันที่ 12 ธันวาคม

และเนื่องจากมีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกในบางรายวิชาน้อยมาก จึงให้เขตพื้นที่การศึกษาจัดห้องสอบ โดยรวมผู้เข้าสอบแต่ละวิชาได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินห้องสอบละ 25 คน

การรับสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วยแต่ละครั้ง ได้รับความสนใจจากแวดวงการศึกษาเสมอ ด้วยว่ารัฐบาลประกาศรับสมัครไม่บ่อยครั้งนักในแต่ละปี

แถมแต่ละครั้งที่รับสมัคร ก็มีอัตราบรรจุได้แค่หลักพัน ในขณะที่แต่ละปีมีคนจบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ปีละ 50,000 คน ยกเว้นปี 2555 ที่มียอดรับสมัครนักศึกษาครูถึง 100,000 คน ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก

ต้องจับตามองว่ายอดสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ที่เขตพื้นที่ฯ และ สศศ. รายงานไปยัง สพฐ. ภายหลังการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกในวันที่ 28 ธันวาคม 2555 นั้น จะมีตัวเลขเท่าใด

ด้วยว่าแค่ยอดสมัครรอบแรกก็ปาไป 18,258 คนแล้ว ซึ่งกลุ่มนี้ครอบคลุมถึงกลุ่มครูอัตราจ้าง ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนมาแล้ว 3 ปีด้วย ส่วนกลุ่มวิชาที่เปิดสอบ มี 30 กลุ่มวิชา โดยพบว่าสาขาที่ได้รับความสนใจสมัครมากที่สุด ได้แก่ สาขาวิชาเอกทั่วไป จำนวน 9,869 คน รองลงมา คอมพิวเตอร์ 1,317 คน และพลศึกษา 938 คน

สำหรับสาขาที่ได้รับความสนใจน้อยที่สุด คือ กิจกรรมบำบัด จำนวน 1 คน กายภาพบำบัด 3 คน และวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น 4 คน
ส่วนวิชาที่ใช้สอบคัดเลือก จะเป็นวิชาความรอบรู้ วิชาความถนัดและเจตคติต่อวิชาชีพครู วิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพ ที่ออกข้อสอบโดย สพฐ. คะแนนเต็มวิชาละ 50 คะแนน รวม 200 คะแนน ซึ่งต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยจะประกาศผลเรียงลำดับคะแนนรวมจากมากไปน้อย

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นความสำเร็จแค่ก้าวแรกเท่านั้น เพราะหากครูอัตราจ้างจากเงินกู้ SP2 กลุ่มนี้ ไม่สามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ ได้ ก็จะต้องรับเงินเดือนตามสัญญาจ้างปีต่อปีต่อไปตามเดิม พูดง่ายๆ ว่าชวดเงินเดือน 15,000 บาทตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูอัตราจ้างกลุ่มนี้กำลังเรียกร้องอยู่

ฉะนั้น เอาใจช่วยเพื่อนครูทุกคนให้สอบผ่านในวันที่ 13 มกราคม 2556 นี้ให้ได้…

“พงศ์เทพ” ชี้รับครูเกินจริงส่งผลต่อคุณภาพ

ที่มา   :  เดลินิวส์  วันที่ 7 มกราคม 2556

“พงศ์เทพ”รับครูเกินจริงส่งผลต่อคุณภาพ เสนอตัวเป็นเจ้าภาพหารือเร่งด่วน ให้ได้ข้อสรุปก่อนรับนักศึกษาปี 2556 พร้อมรับดูเรื่องเงินเดือนอาจารย์น้อยกว่าครู 

Picture24
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มตัวแทนข้าราชการอาจารย์ และเจ้าหน้าที่สังกัดมหาวิทยาลัย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)ประสานมิตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.)และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ขอให้ปรับเงินเดือนให้เท่ากับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ว่า ตนคงจะต้องขอไปดูรายละเอียดต่าง ๆก่อนว่าเป็นอย่างไร ส่วนเรื่องที่กลุ่มอาจารย์ขอจัดทำแท่งเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นเอกเทศ ไม่ต้องอิงกับแท่งเงินเดือนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ต้องดูรายละเอียดต่าง ๆเช่นกันว่าจะสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร 

นายพงศ์เทพ ยังกล่าวถึงกรณีการผลิตบัณฑิตคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ที่มีมากในแต่ละปี ว่า ตัวเลขการผลิตครูที่ทางที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.)เสนอมากับข้อมูลที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)มีอยู่ยังไม่ตรงกันแต่สิ่งที่พบคือข้อมูลการผลิตครูของมหาวิทยาลัยต่าง ๆมีจำนวนเกินความต้องการ และหากรวมกับข้อมูลผู้ที่จบครูก่อนหน้านี้ยิ่งมากเกินไป ดังนั้นถ้าจะยังผลิตเพิ่มอีกจำนวนบัณฑิตจะล้นจำนวนงานที่รับได้ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อผู้เรียนและอาจส่งผลต่อคุณภาพของผู้ที่จะเข้าไปเรียนลดลงด้วย ดังนั้นมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่ผลิตครูต้องมาหารือกันว่าจะผลิตครูในละปีจำนวนเท่าไหร่ สาขาไหนบ้าง และสถาบันไหนจะผลิตครูบ้าง โดยศธ.จะเป็นเจ้าภาพหลักในการหารือเรื่องนี้ นอกจากนี้จะต้องดูเรื่องของการผลิตครูในโครงการครูมืออาชีพด้วยที่จะต้องปรับการดำเนินการต่าง ๆใหม่ให้เหมาะสม รวมทั้งจะต้องให้ทุนและประกันการมีงานทำด้วย เพราะสาขาที่ให้ทุนนั้นเป็นสาขาที่ขาดแคลน อย่างไรก็ตามศธ.คงจะต้องเร่งดำเนินการสรุปข้อมูลทั้งหมดให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันก่อนที่จะมีการปิดรับนิสิตนักศึกษาศึกษา2556 

ด้าน รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก. กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องมาดูแลบุคลากรทุกแท่งและทั้งระบบให้เท่าเทียมกัน อย่างเช่นเงินเดือน ไม่เช่นนั้นถ้าใครได้รับผลประโยชน์ที่แตกต่างหรือน้อยกว่าจะออกมาเรียกร้องตลอด หรือที่ว่าเป็นการเรียกร้องสิทธิ์ จนไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการศึกษา 

 

 

ดัชนีครูไทยปี55 เต็ม10ได้7.86คะแนน

ที่มา  :  ไทยรัฐ  วันที่ 8 มกราคม 2556

สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความเชื่อมั่น  “ครูไทย” ปี 2555 พบ  ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 7.86 คะแนน   ส่วนที่คะแนนมากสุดเป็นเรื่องบุคลิกภาพ การแต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ รองลงมาความรู้ความสามารถในการสอน ขณะที่เรื่องที่ได้อันดับสุดท้าย คือเรื่องหนี้สิน…

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 56 สวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจ ความเชื่อมั่น “ครูไทย” ปี 2555 ที่ผ่านมา โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 8,452 คน ระหว่างวันที่ 25 ธ.ค. 55 –7 ม.ค. 56 สรุปผลดังนี้ ประชาชนให้คะแนน “ดัชนีครูไทย” ปี 2555 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 7.86 คะแนน สำหรับ 30 ตัวชี้วัด “ดัชนีครูไทย” โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับ 10 อันดับแรก ได้ดังนี้ บุคลิกภาพ การแต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ ได้ 8.17 ความรู้ความสามารถในการสอน ได้ 8.12 คะแนน การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ได้ 8.11 คะแนน ความทันสมัย / ทันเหตุการณ์/รู้ข้อมูลข่าวสาร 8.09 คะแนน

มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับชุมชนและชาวบ้าน ได้ 8.06 คะแนน การเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ 8.02 คะแนน มีอุดมการณ์ จิตสำนึกความรักในวิชาชีพครู 8.00 คะแนน มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณของความเป็นครู 7.99 คะแนน ความขยันขันแข็ง อดทน 7.96 คะแนน มีความเป็นผู้นำ 7.95 คะแนน และ 5 ลำดับสุดท้าย ลำดับ 25-30 พบว่า มีดังนี้ การรู้จักประหยัด ไม่ฟุ้งเฟื้อ 7.73 คะแนนการใช้วาจา คำพูดกับนักเรียน 7.70 คะแนนการรู้จักให้อภัย 7.68 คะแนน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน เข้าใจนักเรียน 7.65 คะแนนการแสดงออกทางอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ 7.51 คะแนน การไม่เป็นหนี้เป็นสิน 7.47 คะแนน.

 

 

 

ครูปรับวุฒิ เตรียมรับเงินเดือนใหม่

ที่มา  :   http://www.otepc.go.th

Picture24

เงินเดือนวูฒิที่รับรอง

เงินเดือนแม่พิมพ์ ครูผช.11,920บ.

ที่มา  :   ข่าวสดออนไลน์  วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 14:42 น.  

ผีเสื้อชมภู

เปิดบัญชีเงินเดือนแม่พิมพ์ใหม่ ครูผช.แรกบรรจุเริ่ม11,920บาท เหตุค่าครองชีพสูง-จูงใจคนเก่ง

      เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยผลการประชุม ก.ค.ศ. เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมรับทราบตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ.เสนอการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรอง เพื่อการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหลักการและเหตุผลของการปรับ เนื่องจากสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไป และค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างมาก เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและรักษาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ที่มีความสามารถไว้ในราชการ ประกอบกับนโยบายรัฐบาลกำหนดให้แรงงานมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 300 บาท/วัน และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ฉะนั้น ก.ค.ศ.จึงกำหนดอัตราเงินเดือนดังกล่าวเพื่อรองรับและปรับอัตราเงินเดือนผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูฯที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555

ตะลึง! รับน.ศ.ครูปี55ทะลุ1แสน บรรจุหลักพัน

ที่มา  :  มติชนออนไลน์   วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:30:52 น.

 

นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยในการบรรยายพิเศษในการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่องการพัฒนากรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ.2555-2558) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพฯ ว่า วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทย สะท้อนจากการถูกจัดอันดับถดถอยลงตามลำดับทุกปี อาทิ การประเมินของ World Economic Forum (WEF) ล่าสุด ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเทศไทย อยู่อันดับ 6 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยไทยตามหลังเวียดนาม ที่น่าตกใจกว่านั้นคือ ระดับอุดมศึกษา อยู่อันดับ 8 ตามหลังกัมพูชาและฟิลิปปินส์ ซึ่งตนไม่อยากเชื่อผลประเมิน แต่ก็ต้องรับทราบข้อมูลไว้ก่อน

 นอกจากนี้ การจัดอันดับของหน่วยงานอื่นๆ ไทยก็ถูกจัดอันดับต่ำลงเรื่อยๆ ขณะที่ประเทศมาเลเซียมีลำดับที่ดีขึ้น ทั้งพบว่าการประเมินความสามารถในการแข่งขันของไทยในภาพรวมอยู่อันดับที่ 30 จากประเทศที่เข้าร่วม 59 ประเทศ แต่เมื่อแยกเป็นด้านๆ คะแนนจะต่ำมาก เช่น ด้านการศึกษาอยู่ลำดับที่ 52 ด้านประสิทธิผล ลำดับที่ 57 ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ลำดับที่ 40 เทคโนโลยี ลำดับที่ 50 

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวต่อว่า สถาบันวิจัยของสำนักพิมพ์ตำรา Pearson จัดอันดับการศึกษาของไทยอยู่ในกลุ่มสุดท้าย ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด โดยสถาบันนี้ได้วิจัยและมีข้อสรุปว่า เงินทุนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีระบบการศึกษาที่ดี และการที่ครูอาจารย์มีเงินเดือนสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสามารถทางการสอนสูงตามไปด้วย สำหรับประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราผลักดันเรื่องเงินเดือนครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็ต้องเร่งรัดครูในเรื่องประสิทธิภาพในการสอนควบคู่กันไปด้วย

 ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการศึกษาของชาตินั้น รัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะปฏิรูปหลักสูตรและปฏิรูปครู ขณะนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ระหว่างการปรับรื้อ  ส่วนการปฏิรูปครูนั้น จะต้องเร่งวางระบบการผลิตและพัฒนาที่ชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ ออกมาระบุเพียงว่า 10 ปีข้างหน้าเราจะมีครูที่เกษียณอายุราชการ 200,000 อัตรา  แต่สถาบันการผลิตครูกลับไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในการผลิตครู โดยพบว่า ในปี 2555 มีอัตราว่างเพื่อบรรจุครู 1,500 อัตรา แต่มีผู้จบครูมาสมัคร 190,000 คน แสดงว่าขณะนี้มีคนที่มีใบประกอบวิชาชีพครูที่ไม่มีงานทำกว่า 200,000 คน ขณะที่สถาบันการผลิตครูรับนักศึกษาเฉลี่ยปีละ 50,000 คน และที่น่าตกใจมากกว่านั้นคือ ปี 2555 การรับนักศึกษาปี 1 ของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ พุ่งสูงถึง 100,000 คน ดังนั้น ในอีก 5 ปีจะมีบัณฑิตที่จบด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ หลายแสนคนและคาดว่าจะหางานทำกันไม่ได้เพราะแต่ละปีมีอัตราว่างบรรจุไม่กี่พันคน 

ด้านนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า งบประมาณเพื่อการวิจัยทางการศึกษาลดลงตามลำดับในแต่ละหน่วยงานวิจัย อย่างสภาวิจัยแห่งชาติได้งบประมาณปีละ 1,600 ล้านบาท แต่เป็นงบวิจัยการศึกษาเพียง 25 ล้านบาทหรือ 1.5% และมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่ปีล่าสุดถูกปรับลดงบประมาณเหลือเพียง 800 ล้านบาท ฉะนั้น จะเห็นว่านโยบาย งบประมาณและการวิจัยทางการศึกษาต้องไปด้วยกันถึงจะขับเคลื่อนการศึกษาได้ 

นายวิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวว่า เป็นทิศทางที่ถูกต้องแล้วที่จะทำการวิจัยเพื่อสนับสนุนนโยบายการศึกษาของรัฐบาล เพราะนโยบายที่ตั้งบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นทิศทางที่ถูกต้อง ถ้าเริ่มต้นตรงนี้จะปฏิรูปการศึกษาได้ถูกต้อง ส่วนที่มีการวิจัยแล้วไม่ค่อยนำไปใช้นั้น คิดว่าประเทศไทยประสบปัญหาทั้งเรื่องไม่มีการวิจัยและการนำผลไปใช้ ฉะนั้น จำเป็นต้องดำเนินการทั้ง 2 ด้านไปพร้อมๆ กัน

 

สพฐ.เร่งวิทยฐานะใหม่เน้นสมรรถนะ-ผลสัมฤทธิ์

ที่มา  :  มติชนออนไลน์  วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:12:17 น.

t18

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะด้วยการประเมินสมรรถนะ ว่า ขณะนี้สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังจัดทำหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้อยู่ ซึ่ง สพฐ.จะให้ใช้การประเมินในสาขาวิชาที่มีความพร้อมก่อนใน 3 สาขาวิชา คือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์    โดยมีแนวทางเบื้องต้นว่าในการขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ จะไม่เน้นการทำผลงานทางวิชาการ แต่จะประเมินสมรรถนะของครูผู้สอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน อย่างคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) เป็นสำคัญ เป็นต้นส่วนผลงานวิชาการจะให้ทำคล้ายๆ สารนิพนธ์ มีความหนาไม่เกิน 50 แผ่น จากเดิมที่การทำผลงานจะมีความหนามากกว่า 50 แผ่น

นายชินภัทร  กล่าวว่า  ด้านขั้นตอนการประเมินนั้น ครูที่จะเข้ารับการประเมินวิทยฐานะจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะจากหน่วยงานกลางตามที่กำหนดไว้ก่อน  จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการประเมิน โดยการนำใบรับรองสมรรถนะมายื่นได้  ทั้งนี้ วิทยฐานะชำนาญการจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะระดับต้น  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องผ่านประเมินสมรรถนะระดับกลาง  และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องผ่านการประเมินสมรรถนะระดับสูง   ส่วนการส่งกรรมการลงไปประเมินในระดับสถานศึกษานั้น อาจลงไปตรวจสอบข้อมูลครูที่ขอเข้ารับการประเมินว่าเป็นอย่างไร  อย่างกรณีสมรรถนะของเด็ก จะต้องไปดูในโรงเรียนว่าเด็กมีสมรรถนะจริงตามที่แจ้งหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีประจักษ์พยานที่ชัดเจน”

การประเมินวิทยฐานะด้วยการประเมินสมรรถนะนี้ จะเปิดโอกาสให้ครูได้เลื่อนวิทยฐานะเพิ่มขึ้น  เช่น  ภาษาอังกฤษ ที่ผ่านมามีครูผ่านการประเมินไม่ถึง 10%  ของผู้ที่เข้ารับการประเมิน  แต่วิธีการประเมินใหม่นี้จะเป็นธรรมมากขึ้น  ใครที่ตั้งใจทำงานแต่เขียนผลงานไม่เก่ง จะมีสิทธิผ่านประเมินมากยิ่งขึ้น  เพราะจะดูผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และสมรรถนะผู้สอนเป็นหลัก”  

นายชินภัทรกล่าวอีกว่า  อย่างไรก็ตาม  สำหรับกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์นั้น  จะให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ช่วยทำหน้าที่ประเมินสมรรถนะของผู้ที่จะเข้ารับการประเมิน  เนื่องจาก สสวท.มีความเชี่ยวชาญใน 2 วิชานี้  ทั้งนี้ สพฐ.จะเร่งจัดทำรายละเอียดให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อนำไปใช้ในการประเมินวิทยฐานะต่อไป  ซึ่งเรื่องนี้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เห็นชอบในหลักการแล้ว จึงไม่น่าจะต้องนำเสนอให้อนุมัติอีกครั้ง

ขรก.เฮครม.อนุมัติ 4,000ล้านจ่ายโบนัส

ที่มา   :  ASTVผู้จัดการออนไลน์   25 ธันวาคม 2555

ครม.อนุมัติแปลงงบเหลือจ่ายปี 54-55 หรือดึงงบกลางสำรองจ่ายฉุกเฉินปี 55 จำนวน 4,000 ล้านบาท จัดสรรเป็นเงินรางวัลประจำปี สำหรับส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษา

วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติแนวทางการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวน 4,000 ล้านบาท สำหรับส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษา ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.เสนอ คือ

1. ให้ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อจัดสรรเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำหรับผู้ปฏิบัติและผู้บริหารของส่วนราชการจังหวัดและสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและประเมินผลการปฏิบัติง่านตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 โดยให้ส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาที่มีเงินงบประมาณเหลือจ่ายสามารถโอนเปลี่ยนแปลงรายการเงินงบประมาณเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไปตั้งจ่ายในรายการเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติของหน่วยงานเพื่อใช้สำหรับการจัดสรรเงินรางวัล โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเป็นรายๆไป ทั้งนี้ เป็นการผ่อนผันวิธีปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น มาสมทบเพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำหรับผู้ปฏิบัติและผู้บริหารให้ทั่วถึงทุกส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติราชการที่ดี (ได้คะแนนตั้งแต่ 3.0000 ขึ้นไป) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร.กำหนด

3. อนุมัติหลักการให้ใช้เงินเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ของส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อจัดสรรเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โดยให้ส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาที่มีเงินงบประมาณเหลือจ่าย สามาถโอนเปลี่ยนแปลงรายการเงินงบประมาณเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ไปตั้งจ่ายในรายการเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติของหน่วยงานโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม

4. อนุมัติหลักการเพื่อกำหนดรายการเงินรางวัลฯ ไว้ในงบบุคลากรของส่วนราชการฯ ที่ได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.ร.กำหนด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป

รายชื่อครูรางวัล”หนึ่งแสนครูดี”2555

หนึ่งแสนครูดี

ที่มา  :  คุรุสภา

คุรุสภาย้ำหนังสืออนุญาตครู(ไม่มีใบ)ใช้สอบไม่ได้

ที่มา  :  http://www.ksp.or.th/ksp2009/upload/informationnews/files/3004-6226.pdf


สพฐ.ซักซ้อม”สมัครครูผู้ช่วย”จำเป็น/เหตุพิเศษ

ดาวน์โหลดแบบ PDF  :  http://202.143.174.11/personnel/news2011/upfiles/616.pdf

ซักซ้อม การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ

จม.เปิดผนึกที่ 10/55 (25ธค.55)

ที่มา  :  เว็บไซต์สำนักนโยบายและแผน สพฐ.

ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 10/2555 (25/12/2555) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ งบประมาณปี 2555 ที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี , แนวทางการจัดสรรเงินรายหัวให้กับนักเรียนในอนาคต และการยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับตำบล

 จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 10/2555


ถึง พี่น้องชาวแผนและผู้ที่สนใจทุกท่านครับ

ทำงานเพลินๆ เผลอไม่นาน ก็จะหมดปีเสียแล้ว ก็เป็นเครื่องชี้วัดได้อย่างหนึ่งว่าผมยังสนุกกับงาน และชีวิต คนที่ไม่สนุกกับงานและชีวิตก็จะตั้งหน้าตั้งตารอว่าเมื่อไรจะหมดวันเสียที เมื่อไปจะถึงวันนั้นวันนี้ ในรอบเดือนที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนที่ผมรับผิดชอบอยู่สามเรื่อง ซึ่งไม่นับรวมเรื่องเก่าคือ ค่าตอบแทน 15,000 บาทสำหรับอัตราชั่วคราว ซึ่งรอเข้ารับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอยู่ และเรื่องเงินตกเบิกวิทยฐานะ ซึ่งมี 6 ทางเลือก ผู้บริหารระดับนโยบายเลือกทางเลือกที่ 3 โดยใช้งบประมาณ 1,846 ล้านบาท ถ้าไม่ทราบว่าทางเลือกที่ 3 เป็นอย่างไร ลองเปิดจดหมายฉบับที่ 9/2555 ดูสิครับ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการเสนอของบกลางจากคณะรัฐมนตรีอยู่ คุณครูหลายท่านพยายามถามผมว่าแล้วเมื่อไรรัฐมนตรีถึงจะพิจารณา ประเด็นนี้เหนือการควบคุมของเราครับ แต่ผมเชื่อว่าคงเร็วๆนี้ จดหมายฉบับนี้ผมขอคุยสามเรื่อง เรื่องที่หนึ่ง งบประมาณ ปี 2555 ที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี เรื่องที่สอง แนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนในอนาคต และเรื่องสุดท้าย การยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับตำบล เริ่มเลยดีกว่าครับ

►งบประมาณปี 2555 ที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี

หากพี่น้องชาวแผนจำได้ก็จะทราบว่า ช่วงปลายๆเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา สพฐ.ได้ทำเรื่องกันเงินงบประมาณที่ สพฐ./สพท./โรงเรียนใช้ไม่ทันถึง 3,644 ล้าน เป็นงบประมาณ ปี 2554 จำนวน 144 ล้าน งบประมาณ ปี 2555 จำนวน 3,500 ล้านไปยังกรมบัญชีกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรายการ ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์การศึกษาบางรายการ เช่น รถยนต์ตู้โดยสารของเขตพื้นที่และโรงเรียน เครื่องดนตรีในวงดุริยางค์ รวมถึงรายการโต๊ะเก้าอี้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งตามกำหนดการเดิม รายการต่างๆเหล่านี้ต้องก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2555 ขณะนี้มีข่าวดีที่จะบอกครับว่า กรมบัญชีกลางได้อนุมัติให้ใช้งบประมาณดังกล่าวได้แล้ว และทราบเป็นการภายในว่าจะขยายเวลาให้ก่อหนี้ผูกพันได้จนถึง 31 มีนาคม 2556 ค่อยหายใจคล่องขึ้นมาหน่อยเพราะมีเวลาอีก 3 เดือนจากนี้ ขณะนี้สำนักคลังและสินทรัพย์ สพฐ.กำลังแจ้งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ เมื่อทราบแล้วก็เร่งดำเนินการนะครับ เพราะรัฐบาลต้องการให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินทองจะได้ไหลเวียนและคงไม่ขยายเวลาให้อีกแล้วถ้าดำเนินการล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลาดังกล่าว

►แนวทางการจัดสรรเงินรายหัวให้กับนักเรียนในอนาคต

ขณะนี้เป็นช่วงการโอนเงินอุดหนุนรายหัวสำหรับภาคเรียนที่ 2/2555 ให้กับโรงเรียน 3 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งต้องยอมรับว่าช้ามากๆสำหรับการดอนเงินครั้งนี้ ก็ไม่รู้จะโทษใครดี ก็หันไปโทษระบบข้อมูลที่ไม่เสถียร ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า ที่ผ่านมาเกิดความผิดพลาดในการโอนเงินอุดหนุนดังกล่าวบ้างเหมือนกัน กล่าวคือ บางแห่งได้รับเงินเกิน บางแห่งได้รับเงินน้อยกว่าที่ตนเองจะได้ ทำให้เงินขาดไป เพื่อไม่ให้โรงเรียนเหนื่อยเกินไป สพฐ.ก็ใช้หลักการที่ว่า หากโอนเกินให้คืน หากโอนขาดก็จะโอนเพิ่มให้ ส่วนใหญ่ก็เรียบร้อยดีครับ จะมีก็เพียงบางแห่งที่ได้รับเงินเกินไปแต่ไม่ยอมคืน ดังนั้นการจัดสรรครั้งนี้ สพฐ.จึงไม่จัดสรรให้ เพราะถือเป็นการหักลบกลบหนี้ โดยให้โรงเรียนดังกล่าวใช้เงินส่วนเกินที่ยังไม่ได้ส่งคืน สพฐ. กลับกลายเป็นว่า เงินเก่าที่เกินก็ใช้หมดไปแล้ว ส่วนเงินใหม่ก็ไม่ได้รับจัดสรร จึงเดือดร้อนเพราะไม่มีเงินใช้ในปัจจุบัน ก็คงต้องแก้ปัญหาเป็นรายๆไปครับ โดยอาจจัดสรรงบประมาณให้ไปใช้เป็นบางส่วนก่อน แต่ก่อนจะจัดสรรให้ จะให้ชี้แจงก่อนว่าโรงเรียนนำงบประมาณส่วนเกินไปใช้อะไรหมดทั้งๆที่ไม่มีสิทธิ์ใช้ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ส่งข้อมูลนักเรียน ถ้าไม่มีข้อมูลจำนวนนักเรียนก็ไม่สามารถจัดสรรให้ได้ครับ

ขณะนี้เกิดแนวคิดในการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนให้กับผู้ปกครองโดยตรง ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปการเงินเพื่อการศึกษาได้ให้ข้อเสนอเชิงนโยบายดังกล่าวไว้นานแล้ว คงเข้าหลักที่ว่า “ใครถือเงิน คนนั้นมีอำนาจต่อรอง” ซึ่งเรื่องนี้ในหลายๆประเทศได้ดำเนินการแล้ว โดยจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนให้ผู้ปกครอง แล้วให้ผู้ปกครองนำไปจ่ายให้กับโรงเรียนตามรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บ โรงเรียนก็จะพยายามสร้างความดีเด่นดัง ผู้ปกครองจะได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียน เมื่อมีนักเรียนโรงเรียนก็จะได้เงิน ในทางตรงข้ามถ้าไม่มีนักเรียน โรงเรียนก็จะไม่มีเงินเข้ามาบำรุงโรงเรียน ต่างจากโรงเรียนของไปในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผลสัมฤทธิ์จะต่ำสักเพียงไรก็ตาม หรือไม่ผ่าน สมศ.ก็ตาม หรือไม่มีเด็กเหลืออยู่สักคนก็ตาม ครูผู้สอน ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เลขาธิการ กพฐ. ทุกคนก็คงยังได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนเต็มทุกคน และไม่เคยมีใครถูกลงโทษ ปัจจุบัน สพฐ.ก็จ่ายเงินเรียนฟรีในรูปเงินสดให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง 2 รายการ คือ ค่าเสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียน และยังมีอีก 2 รายการที่ได้สำหรับนักเรียนยากจนและนักเรียนพักนอน และในอนาคตหากเป็นไปได้ สพฐ.อาจจ่ายเงินอุดหนุนให้กับนักเรียนในลักษณะของบัตรเดบิต (Debit card) ซึ่งเป็นบัตรที่มีมูลค่าตามจำนวนเงินอุดหนุนที่นักเรียนได้รับ นักเรียนจะได้รับบัตรเดบิตคนละ 1 ใบ เพื่อใช้แทนเงินสดในการไปซื้อสินค้าและบริการเรื่องต่างๆ ขณะนี้กำลังศึกษารายละเอียดกันอยู่ครับ ถ้ามีความคืบหน้าก็จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป

►การยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับตำบล

ขณะนี้ได้เกิดแนวคิดอย่างมีส่วนร่วมในระดับนโยบายถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับตำบลเกิดขึ้น โดยมีข้อมูลเชิงประจักษ์แล้วว่า ในระดับตำบลจะมีโรงเรียนขนาดเล็กกระจายอยู่ ๒-๔ โรง และโรงเรียนเหล่านี้อยู่ท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ หากปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าวก็จะกลายเป็นเด็กด้อยโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีความพยายามที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในตำบลที่คาดว่าจะส่งผลให้คุณภาพของนักเรียนสูงขึ้น บางแห่งอาจใช้นวัตกรรมการหมุนเวียนครู หมุนเวียนคอมพิวเตอร์ หรือหมุนเวียนนักเรียน ไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่น ซึ่งหลายแห่งทำได้ดี เช่น สพป. เลย ๑(แก่งจันทร์โมเดล) สพป. เลย ๓(ลากข้างโมเดล) สพป. ลพบุรี เขต ๒(ใจประสานใจโมเดล) สพป. นครราชสีมา3 (ทุ่งหลวงโมเดล) สพป.นครสวรรค์1(พยุหะศึกษาคารโมเดล) สพป.แพร่1(บ้านห้วยโรงนอกโมเดล) สพป.อุดรธานี2(เสอเพลอโมเดล) สพป.พิษณุโลก1(วังน้ำคู้โมเดล)และยังมีอีกหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งก็ยั่งยืน บางแห่งก็ไม่ยั่งยืน ทำๆ หยุดๆ แล้วแต่ผู้บริหารโรงเรียนและนโยบายระดับสูง

การสนับสนุนจากต้นสังกัดเพื่อให้นวัตกรรมดังกล่าวข้างต้นดูจะจริงจังขึ้นมาเสียแล้ว โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้ สพฐ. จัดทำรถตู้โดยสาร ๑๕ ที่นั่ง ตำบลละ ๑ คัน จำนวน 6,545 คัน (ตำบลทั้งหมดในประเทศไทยมี 7,409ตำบล แต่บางตำบลไม่มีโรงเรียน หรือบางตำบลมีโรงเรียนเป็นเอกเทศไม่ต้องหมุนเวียนเด็ก/ครูหรือบางตำบลเดินทางไปเรียนกับตำบลอื่น) รถยนต์ตู้โดยสารดังกล่าวนี้ จะใช้รับส่งนักเรียนในช่วงเช้า-เย็น กลางวันให้ อบต./เทศบาลตำบลนำไปใช้บริการชุมชน อาคารเรียนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อันเนื่องมาจากการรวมนักเรียนก็เปิดโอกาสให้ กศน. เข้ามาใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในระดับตำบล หรือให้พัฒนาชุมชนมาใช้เป็นศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ของชุมชน โดย สพฐ. จะเป็นผู้ตั้งงบประมาณซื้อรถยนต์และค่าบำรุงรักษา ส่วนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจะเป็นผู้ตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าจ้างพนักงานขับรถและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถดังกล่าว ก็นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีครับ ที่จะเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้สูงขึ้น มีคำถามแล้วสิว่าจะได้จริงๆ หรือ ทำได้ครับ และมีตัวอย่างให้เห็นแล้วตามรายชื่อสำนักงานเขตพื้นที่ที่กล่าวถึงข้างต้น

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการทำงานนะครับ แล้วค่อยพบกันใหม่ฉบับหน้านะครับ 

กคศ.ขึ้นเงินเดือน คศ.2-4 มีผลบังคับใช้

ที่มา  :   มติชน  ฉบับวันที่ 25 ธ.ค. 2555  (กรอบบ่าย)

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่าขณะนี้ได้มีการประกาศกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 ลงในราชกิจจานุเบกษาและได้มีผลบังคับใช้แล้ว 

ซึ่งจะทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับเงินเดือนของตำแหน่งและวิทยฐานะในอันดับ คศ.2 คศ.3 และ คศ.4 ให้ไปรับเงินเดือนในอันดับถัดไปได้อีกหนึ่งอันดับได้เลย เช่น ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับเงินเดือน คศ.2 ให้ไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.3 ที่เงินเดือนสูงสุดประมาณ 59,00 บาท และในกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุราชการให้ได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นในวันที่ 30 กันยายนของปีสุดท้าย ก่อนที่จะพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ 

“การเลื่อนระดับเงินเดือนนี้แค่เป็นการเปลี่ยนแท่งอันดับเงินเดือนเท่านั้นเพื่อให้สามารถปรับเงินเดือนได้เพราะเดิมพอเงินเดือนอยู่ในขั้นสูงหรือเงินเดือนเต็มขั้นก็จะปรับเงินเดือนได้น้อยมาก โดยกฎ ก.ค.ศ.ดังกล่าวนี้จะให้โอกาสเพื่อนครูที่เงินเดือนเต็มขั้นเลื่อนไปรับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น และหากเต็มขั้นแล้วต่อไปก็ต้องประเมินเพื่อขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานะเพื่อเลื่อนแท่งอันดับเงินเดือนแทน เพราะจริงๆ แล้วข้าราชการประเภทอื่นไม่สามารถเลื่อนระดับเงินเดือนแบบนี้ได้ ส่วนวิทยฐานะไม่ได้มีการเลื่อนไปด้วยยังเป็นวิทยฐานะเดิมที่ได้รับอยู่”เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕


 

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก     http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/123/8.PDF

 

 

พงศ์เทพชี้ครูล้น-คณิตศาสตร์ขาดแคลน

ที่มา   :  ASTVผู้จัดการออนไลน์   23 ธันวาคม 2555

เด็กจบครูล้น “พงศ์เทพ” ฝากราชภัฏผลิตให้ตรงความต้องการ

เด็กจบครูล้น “พงศ์เทพ” ฝากราชภัฏผลิตคนดูความต้องการของประเทศ ระบุอธิการ มรภ.เสนอให้ประกาศจำนวนที่ต้องการแต่ละปีให้ชัดเพื่อวางแผนผลิตให้สอดคล้อง พร้อมแนะ มรภ.จ้างคนให้ดูความจำเป็นและใช้ทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่า เหตุรัฐแบกรับภาระสูง 

วันนี้ (23 ธ.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) มี รศ.ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) พระนคร ในฐานะประธานให้การต้อนรับว่า ได้ฝากให้อธิการ มรภ.ทั้ง 40 แห่งไปดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตและการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ โดยเฉพาะสาขาด้านวิทยาศาสตร์ประเทศไทยขาดแคลนมาก แต่ในขณะที่บางสาขาผลิตบัณฑิตออกมาล้นกว่าตำแหน่งงานที่จะรองรับได้ ทำให้เด็กจบมาไม่มีงานทำ โดยเฉพาะผู้ที่จบสาขาศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์ เวลานี้มีจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อธิการ มรภ.ได้เสนอว่าอยากให้มีการประกาศจำนวนตัวเลขความต้องการบัณฑิตที่จบสาขาดังกล่าวที่ชัดเจนว่าในแต่ละปีต้องการเท่าไร โดยเฉพาะที่จะเข้าสู่โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานเพื่อที่จะได้ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องต่อความต้องการ 

นอกจากนี้ ได้ฝากให้ มรภ.ไปพิจารณาเรื่องการจ้างบุคลากรเพิ่มเติม เพราะเวลานี้รัฐบาลแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงมาก จึงต้องการให้การรับหรือบรรจุจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นและมีเหตุผลจริง ขณะเดียวกันหากทรัพยากรใดที่มีอยู่แล้วก็ควรจะนำมาใช้ร่วมกันให้คุ้มค่าที่สุด ทั้งนี้ ได้ฝากเรื่องการเก็บค่าบำรุงการศึกษาในหลักสูตรพิเศษด้วยว่าควรอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลไม่แพงจนมากเกินไป รวมทั้งขอให้ไปดูเรื่องงานวิจัย เพราะในขณะที่มหาวิทยาลัยต้องการงบประมาณวิจัยเพิ่มขึ้นแต่กลับไม่มีผลงานวิจัยที่จะสามารถนำไปต่อยอดและเป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตร ภาคการผลิต ภาคเศรษฐกิจที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศได้ แต่หากสามารถสร้างงานวิจัยขึ้นมาใหม่หรือย้อนไปนำงานวิจัยที่มีอยู่มาทำให้เกิดประโยชน์ได้ก็จะเป็นโอกาสที่ดีกว่า 

“ในเรื่องบุคลากรนั้นยังได้รับทราบปัญหาว่าใน มรภ.บางแห่งโดยเฉพาะ มรภ.ขนาดเล็กกำลังประสบปัญหาไม่สามารถดึงตัวบุคลากรของตนเองไว้ในระบบไม่ได้ เพราะบางรายพอได้รับการพัฒนาก็มักจะถูกสถาบันอื่นหยิบชิ้นปลามันไป หรือบางคนก็ตัดสินใจลาออกเพื่อไปราชการ เป็นต้น” นายพงศ์เทพกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งต้องการขอออกนอกระบบ ซึ่งบางแห่งเรื่องอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วตนก็ยินดีจะช่วยผลักดันให้ 

 

 

สพฐ.รับคผชกรณีพิเศษ25-27ธค55

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว6569 การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ

ที่มา  :  http://202.143.174.11/personnel/news2011/upfiles/615.pdf

สพฐ.เตรียมสอบคผชพิเศษ28พย.-4ธค.55

สพฐ.เตรียมสอบครูผู้ช่วยพิเศษรับ28พ.ย.-4 ธ.ค.55

ที่มา  :  เว็บไซต์ศูนย์ปฏิบัติการ สพฐ.

นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แจ้งในที่ประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2555 ที่ จังหวัดขอนแก่น เกี่ยวกับการเตรียมสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ โดยได้แจ้งที่ประชุมในเรื่องของกำหนดการสอบคัดเลือก ดังนี้

 30 วิชาเอก รับ 2,140 ครูผู้ช่วย เผยผู้มีสิทธิสอบบรรจุกว่า 2 หมื่นคน เล็งรับสมัคร 20 พ.ย.

ที่มา  :   หนังสือพิมพ์มติชน

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอปฏิทินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นพิเศษ หรือมีเหตุพิเศษ ว12 เช่น กลุ่มครูอัตราจ้าง ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนมาแล้ว 3 ปี และกลุ่ม ว13 พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างเหมาบริการ ครูอัตราจ้าง หรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณ หรือเงินรายได้ของสถานศึกษา ครูสอนศาสนาอิลสาม หรือวิทยากรอิสลามศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะ จ.ยะลา, นราธิวาส, ปัตตานี และ 4 อำเภอ ใน จ.สงขลา (อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย อ.เทพา และ อ.นาทวี) มาให้ตนพิจารณาแล้ว อยู่ระหว่างดูรายละเอียด และเบื้องต้นจะออกประกาศรับสมัครได้ประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายน โดยจะมีอัตราที่เปิดสอบบรรจุประมาณ 2,140 อัตรา ส่วนข้อสอบนั้น สพฐ.จะจัดทำคลังข้อสอบเอง ซึ่งคลังข้อสอบที่จัดทำจะให้เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศช่วยกันออกข้อสอบแห่งละ 2 ข้อ ส่งให้ สพฐ.เป็นผู้พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ กระบวนการสอบบรรจุ และประกาศผล จะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม

นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการ สพร.กล่าวว่า วิชาเอกที่เปิดสอบบรรจุมีจำนวน 30 กลุ่มวิชา ตามความประสงค์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่

  • ภาษาไทย

  • ภาษาอังกฤษ

  • ภาษาจีน

  • ภาษาญี่ปุ่น

  • คณิตศาสตร์

  • วิทยาศาสตร์

  • เคมี

  • ชีววิทยา

  • ฟิสิกส์

  • สังคมศึกษา

  • พลศึกษา

  • สุขศึกษา

  • ศิลปะ

  • นาฏศิลป์

  • ดนตรี

  • ดนตรีไทย

  • อุตสาหกรรม

  • เกษตรกรรม

  • คหกรรม

  • การเงิน/บัญชี

  • คอมพิวเตอร์

  • เทคโนโลยีทางการศึกษา

  • จิตวิทยาและการแนะแนว

  • บรรณารักษ์ ปฐมวัย

  • ประถมศึกษาทั่วไป

  • การศึกษาพิเศษ

  • กายภาพบำบัด และ

  • กิจกรรมบำบัด

สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบบรรจุ อาทิ สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) 135 อัตรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ตาก เขต 2 จำนวน 28 อัตรา, สพป.ระยอง เขต 1 จำนวน 20 อัตรา, สพป.สงขลา เขต 3 จำนวน 24 อัตรา, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 25 อัตรา, สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 23 อัตรา, สพป.ชลบุรี เขต 3 จำนวน 23 อัตรา, สพป.ภูเก็ต จำนวน 20 อัตรา, สพม.เขต 1 จำนวน 45 อัตรา เป็นต้น

“สำหรับการสอบคัดเลือกจะมี 2 ส่วน คือ การสอบ ภาค ก ความรอบรู้ ความรู้ ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ความถนัดและเจตคติต่อวิชาชีพครู และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู ส่วนภาค ข ประวัติและผลงาน โดยมีผู้มีสิทธิสอบบรรจุครั้งนี้ประมาณ 20,000 คน ซึ่งผู้ที่มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุครั้งนี้ของ ว12 สามารถสอบในเขตพื้นที่การศึกษาไหนก็ได้ที่เปิดสอบ ยกเว้นกรณีของ ว13 ที่ต้องสอบบรรจุในเขตพื้นที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ “

สมาชิกกบข.หนุนคลังแก้กฎบำนาญ

ที่มา  :  มติชนออนไลน์   วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09:31:28 น.

ประธานเครือข่ายสมาชิก กบข.หนุนคลัง แก้กฎบำเหน็จ-บำนาญให้เลือกแบบเดิมได้ แนะเปลี่ยนสูตรคำนวณใหม่ด้วย เลขาธิการกองทุนฯรับระบบเดิมได้เงินมากกว่า หากรับราชการเกิน 35 ปี 

น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม กรณีกระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแนวทางแก้ไขการจ่ายเงินบำนาญให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.ใหม่ หลังมีข้าราชการส่วนหนึ่งร้องเรียนว่า ผลการตอบแทนน้อยกว่าการจ่ายบำนาญแบบเดิม โดยจะให้เลือกว่าจะรับบำนาญกับ กบข.ต่อไป หรือจะกลับไปรับบำนาญแบบเดิมก็ได้ว่า สมาชิก กบข.ปัจจุบันมีจำนวน 1.2 ล้านราย มีข้าราชการที่รับราชการก่อนปี 2540 ที่เลือกเข้าเป็นสมาชิก กบข.ประมาณ 8 แสนราย ส่วนใหญ่เป็นครูมากกว่า 40% นอกจากนั้นเป็นข้าราการส่วนอื่นๆ รวมทั้งทหารด้วย โดยกลุ่มนี้จะมีสิทธิเลือกได้ว่า จะรับบำนาญแบบใด 

น.ส.โสภาวดีกล่าวว่า หากสมาชิกดังกล่าวจะเลือกแบบเดิมทั้งหมดจะไม่กระทบกับ กบข.มากนัก เพราะจะมีส่วนที่ กบข.ต้องจ่ายคืนสมาชิกเพียงเงินสะสม 3% ต่อเดือน พร้อมผลประโยชน์จากการลงทุนเท่านั้น ส่วนของเงินประเดิมที่รัฐจ่ายเป็นก้อนจูงใจให้เข้ากองทุนช่วงแรก กับเงินสมทบและเงินชดเชยอีก 5% นั้น สมาชิกที่จะเลือกไปใช้บำนาญแบบเดิมต้องคืนให้รัฐทั้งหมด ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าต้องคืนแบบใด อาจจะหักไปหลังจากเกษียณแล้วได้รับเงินก็ได้ โดยต้องรอความชัดเจนของนโยบายจากกระทรวงการคลังและรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง 

“ขณะนี้คงยังประเมินไม่ได้ว่า สมาชิก 8 แสนรายนี้จะกลับไปเลือกบำนาญแบบเดิมทั้งหมดหรือไม่ แต่ยอมรับว่าคงจะมีไม่น้อยที่คิดว่า ถูกหลอกให้เข้ามาเป็นสมาชิก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุราชการเหลือไม่มาก หรือรับราชการมานานกว่า 35 ปี หากใช้บำนาญแบบ กบข.จะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญน้อยกว่าสูตรเดิม ส่วนนี้อาจกลับไปใช้สูตรเดิม เพราะสูตรของ กบข.คำนวณอายุราชการต่อคนไว้ที่ 35 ปี บางกลุ่มอาจมีระยะเวลานานกว่านี้ เช่น กลุ่มทหารตามแนวชายแดนที่จะได้เวลาทวีคูณมากกว่าข้าราชการอื่นๆ หากเอาระยะเวลาทำงานมาคูณเงินเดือนสุดท้ายจะได้มากกว่าใช้สูตรของ กบข.” น.ส.โสภาวดีกล่าว 

น.ส.โสภาวดีกล่าวว่า ยอมรับว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนเฉลี่ยอาจไม่ถึง 8-9% เหมือนตอนที่ระบุไว้ โดยปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงต่อเนื่อง และการลงทุนในพันธบัตรมีผลตอบแทนเพียง 3% ทำให้ กบข.ต้องหาแนวทางบริหารเงินกองทุนที่มีกว่า 5 แสนล้านบาท ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด โดยเฉพาะการขอเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น รวมถึงมองว่าถึงเวลาต้องแก้ไขกฎหมาย กบข.ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กบข.เห็นด้วยกับกรมบัญชีกลางที่จะตั้งกองทุนและจัดสรรเงินงบประมาณเข้ามา บริหารให้เกิดประโยชน์อย่างน้อย 1 แสนล้าน เพื่อเตรียมพร้อมใช้เงินจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคต ที่คาดว่าปี 2578 จะใช้งบสูงถึง 7-8 แสนล้านบาท หากไม่เตรียมพร้อมอาจนำไปสู่ภาวะถังแตก และมีปัญหาเหมือนประเทศกรีซได้ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสูตรการคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญแบบเก่า คำนวณจากฐานเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณระยะเวลาราชการ หารด้วย 50 ขณะที่สูตรใหม่ของ กบข. ใช้เฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วยระยะเวลาราชการ หารด้วย 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของอัตราเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย 

นายวิศร์ อัครสันตติกุล ประธานองค์กรเครือข่ายสมาชิก กบข.แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกระทรวงการคลังจะเสนอขอแก้ไขกฎหมาย กบข.เข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้าว่า ในนามตัวแทนสมาชิก กบข.ขอชื่นชมและสนับสนุนเต็มที่ เพราะสมาชิกได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมานานแล้ว ที่สำคัญไม่เพียงแต่ให้ลาออกได้แล้วไปรับบำนาญสูตรเดิมปี 2494 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สิ่งที่สมาชิกเรียกร้องอีกคือ ให้แก้สูตรการคำนวณบำนาญตามมาตรา 63 ของ พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 จากในปัจจุบันที่ให้คำนวณเงินเดือนๆ สุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการ หารด้วย 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ควรแก้เป็นให้คำนวณเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการ หารด้วย 50 แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 85% เฉลี่ย 24 เดือนสุดท้าย และให้สมาชิกลาออกได้ไปรับบำนาญตามสูตรเดิม 

“กรณีที่เสียชีวิต ให้ทายาทได้รับประโยชน์ที่เป็นธรรม และให้มีผลย้อนหลังไปถึงสมาชิกที่เกษียณไปแล้ว เพราะมีสมาชิกที่เกษียณไปแล้ว โทรศัพท์มาหาตลอดเวลาว่าได้รับความลำบากในการเป็นอยู่มาก เพราะได้รับบำนาญเพียงน้อยนิด ไม่พอกับหนี้สิน ประกอบกับเศรษฐกิจฝืดเคืองขึ้น จึงขอให้กระทรวงการคลังดูแลในส่วนนี้ด้วย” นายวิศร์กล่าว 

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วย เพราะเดิมก่อนจะมี กบข.เมื่อเกษียณอายุราชการจะได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญอย่างเดียว แต่ช่วงหนึ่งรัฐบาลสนับสนุนให้ข้าราชการใส่เงินสมทบกองทุน กบข.ด้วย และบอกว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าบำเหน็จหรือบำนาญ เพราะนำเงินไปลงทุน แต่ช่วงที่ผ่านมาหลายคนมองว่า เงินที่นำไปลงทุนไม่เป็นไปตามที่ กบข.เคยบอก และเห็นว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น หากรัฐบาลให้ข้าราชการสามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ถือเป็นเรื่องดี 

“ผมไม่แน่ใจว่า รัฐบาลจะให้เลือกใหม่ เพราะจะเกิดความยุ่งยาก และต้องใช้เงินเยอะมาก หากข้าราชการส่วนใหญ่เลือกไปรับบำเหน็จหรือบำนาญอย่างเดียว แต่มีทางแก้ไข โดยหากรัฐบาลเห็นว่าระบบของ กบข.มีปัญหาตรงไหน ก็แก้ตรงนั้น เช่น ทุกคนกลัวว่า เงินที่ถูกหักไปลงทุนไว้กับ กบข.จะขาดทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง เมื่อได้คืนจะไม่เท่ากับที่ลงทุนไป ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่จะประกันเงินขั้นต่ำไว้ เพื่อความสบายใจ” นายสมคิดกล่าว 

นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลทำได้ถือเป็นเรื่องดีเพราะข้าราชการจะได้ประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ แต่ประเด็นสำคัญคือ รัฐจะนำเงินมาจากไหน เพราะหากจะกลับไปเป็นแบบเดิม เท่ากับรัฐจะต้องใช้เงินมหาศาล และคนที่ขาดทุนจาก กบข.ไปแล้ว จะต้องชดเชยให้ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ คิดว่าผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุดในเรื่องนี้คือข้าราชการครูที่มีอยู่จำนวนมาก 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คปร.คืนอัตราช้า ลุ้น426คาดพ.ย.บรรจุสควค.

ที่มา  :  สยามรัฐ   by kanvadee on Wed, 24/10/2012 – 17:47

คปร.คืนอัตรากำลังช้าซ้ำไม่พอ-ลุ้นก.ค.ศ.อนุมัติ 426 อัตรา

ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เมื่อวันที่ 24 ต.ค.55 กลุ่มตัวแทนนิสิต นักศึกษาทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษ ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) รุ่นที่ 14 ประมาณ 20 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม จากกรณีที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในตำแหน่งครูผู้ช่วย ล่าช้า โดยมีนายไกร เกษทัน ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. เป็นตัวแทนรับเรื่อง เนื่องจากนายชินภัทร ติดภารกิจเดินทางไปราชการต่างประเทศ 

นายจิโรจ จิ๋วแหยม ตัวแทนนิสิต นักศึกษาทุน สควค. กล่าวว่า โครงการ สควค.เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สพฐ. และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยให้ทุนการศึกษา 580 ทุนต่อปี แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 1 ปี และเมื่อสาเร็จการศึกษาแล้ว ให้บรรจุในเขตพื้นที่การศึกษา ตามภูมิลำเนาของผู้รับทุน ซึ่งในปีการศึกษา 2554 มีนักศึกษาทุน 541 คน และสำเร็จการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.55ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้เวลาผ่านไป 6 เดือนแล้ว มีนักศึกษาทุนได้บรรจุเป็นข้าราชการครู เพียง 189 คน ส่วนที่เหลือ 352 คน ยังไม่ได้บรรจุ ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาการให้ทุนการศึกษาของรัฐบาล ที่ระบุว่า “เมื่อผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาตามสัญญานี้แล้ว ผู้เข้ารับทุนต้องเข้ารับราชการเป็นครู/อาจารย์ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือหน่วยงานของรัฐ” 

นายจิโรจ กล่าวต่อไปว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้น ยังทำให้นักศึกษาที่รับทุนเกิดความเครียด เพราะส่วนมากมาจากฐานะครอบครัวที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำ และไม่สามารถไปทำงานที่อื่นได้เนื่องจากติดสัญญาทุน ทำให้ขาดรายได้และเป็นภาระของครอบครัว อีกทั้งขาดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพครู ขาดความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ของตนเอง จากการขาดความเอาใจใส่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่บรรจุนักศึกษาทุน เป็นข้าราชการ ต่างทราบมาก่อนว่าจะมีจำนวนผู้เข้ารับการบรรจุแต่ละปีเท่าใด แต่หน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ได้มีแผนรองรับ ฉะนั้นขอตำหนิการปฏิบัติงานของหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องกับการบรรจุครั้งนี้ ว่าไม่พึงตระหนักและไม่ได้เอาใจใส่ในผลประโยชน์ของทรัพยากรบุคคลของประเทศ อย่างไรก็ตาม ขอให้ สพฐ.เร่งรัดให้มีการบรรจุนักศึกษาทุน สควค. รุ่น 14 ที่เหลือทั้งหมดเข้ารับราชการครูโดยเร็วที่สุด เพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศ 

ด้านนายไกร กล่าวว่า ความล่าช้าการบรรจุในปีนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับการจัดสรรอัตราเกษียณมาจากคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) มาล่าช้ามากโดยได้รับอัตราในเดือน ก.ย. และอัตราที่ได้รับเมื่อเกลี่ยไปยังเขตพื้นที่ฯ ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติ กำหนดตำแหน่งจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จำนวน 426 อัตรา โดยมั่นใจว่าภายในเดือน พ.ย.นี้ จะบรรจุนักศึกษาทุน สควค.และครูพันธ์ใหม่ ได้อย่างแน่นอน

สกสค.พัฒนาครูE ทุ่ม30ล.เรียนออนไลน์

ที่มา  :  ประชาชาติธุรกิจ   ฉบับวันที่ 25 – 28 ต.ค. 2555

สกสค.ผุดโครงการพัฒนาศักยภาพครูสอนภาษาอังกฤษทุกสังกัด เทงบฯ 30 ล้านบาทซื้อบัตรเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ให้ครู 6 หมื่นคน ส่วนองค์การค้า คุรุสภาเห็นประโยชน์ เตรียมขยายผลเป็นนายหน้าขายบัตรให้ครู 

นางปราณี รัตนะ ผู้อำนวยการกลุ่ม ส่งเสริมสวัสดิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เปิดเผยว่า สกสค.ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมสวัสดิการพัฒนาศักยภาพครู นักเรียนด้านเทคโนโลยี และทักษะภาษาอังกฤษ ด้วยการจัดซื้อบัตรสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้ครูสอนภาษาอังกฤษได้เข้าไปศึกษา ซึ่งมีทั้งบทเรียนและแบบทดสอบ 12 ระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง ครอบคลุมทุกทักษะทั้งไวยากรณ์, การอ่าน และการฟัง 

“ครูภาษาอังกฤษทั้งประเทศมีอยู่ประมาณ 1 แสนคน แต่จัดสรรให้ได้เพียงแค่ 6 หมื่นคน ด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณที่มีประมาณ 30 ล้านบาท และการใช้งานที่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ต บางพื้นที่อาจไม่มีเครือข่ายรองรับ และเนื่องจากเป็นการเรียนออนไลน์ หากใช้พร้อมกันอาจมีปัญหาเรื่องระบบติดขัดได้ เพราะระบบการเรียนเชื่อมต่อกันทั้งหมด” 

อย่างไรก็ดี บัตรมีอายุการใช้งาน 1 ปี ซึ่งจะตั้งคณะกรรมการติดตามผลการใช้งาน แต่ต้องรอให้การแต่งตั้งผู้บริหารของคณะกรรมการ สกสค.ลงตัวเสียก่อนจึงสามารถดำเนินการต่อได้ นอกจากนี้องค์การค้าคุรุสภายังมีความสนใจนำบัตรนี้ไปเป็นสินค้าตัวอย่างด้วย 

ทั้งนี้ได้จัดสรรบัตรให้กับครูที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน(สพฐ.) 35,000 ชุด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 15,000 ชุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5,000 ชุด สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 3,000 ชุด และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 2,000 ชุด 

ขณะที่นายสมิต วิโรจน์วรรณ หัวหน้ากลุ่มระบบคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะคณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ ส่งเสริมสวัสดิการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนด้านเทคโนโลยีและทักษะภาษาอังกฤษ ระบุว่า โครงการติดตามผลที่เสนอไปยัง สกสค.มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือน ส.ค. 2555-ก.ค. 2556 แต้ยังไม่ได้อนุมัติ ทำให้การติดตามผลต้องเลื่อนออกไป 

“เราจะเข้าไปติดตามครูที่ได้รับบัตรแล้วว่าได้นำไปศึกษาเรียนรู้ หรือไปใช้ประกอบการสอนเด็กหรือไม่ โดยดูจากสถานการณ์จริง ซึ่งจะสุ่มตรวจในภาคเหนือ กลาง ตะวันอออก และตะวันออกเฉียงหนือ ภาคละ 4 ครั้ง งบประมาณในการติดตามผล 5.6 แสนบาท การใช้งานบัตรสามารถตรวจสอบได้จากระบบของบริษัท แต่การติดตามจะมีแง่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วย โดยจะนำมาจัดทำเป็นผลวิจัยเพื่อรองรับการใช้งาน หากมีการสานต่อโครงการนี้ในอนาคต” 

ส่วนนางสาวปริยาภรณ์ ชูทัพ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการศึกษา สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กล่าวว่า ตอนนี้กระจายบัตรไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว และแต่ละจังหวัดกำลังทยอยแจกให้ครบทุกโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรร จากการสอบถามเบื้องต้นพบว่าครูตอบรับดี เพราะเรียนรู้ได้ตามระดับความยากง่าย และเนื่องจากเป็นบทเรียนที่สามารถตอบโต้ได้ จึงทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ ทั้งยังนำบัตรไปแบ่งปันให้ครูวิชาอื่นได้เรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย

ดีเดย์ 5 พย.จับสลากร่วมโครงการครูมืออาชีพ

ที่มา  :  ASTVผู้จัดการออนไลน์  วันที่  24 ตุลาคม 2555 02:31 น.

ดีเดย์ 5 พ.ย.นี้ จับสลากเข้าร่วมโครงการครูมืออาชีพ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต “ศรีญาดา” ชี้ เป็นวิธีการที่โปร่งใส เป็นธรรมมากที่สุด 

ทพ.ญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตฯ เรื่อง กำหนดการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพโดยวิธีการจับสลาก เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ซึ่งในปีนี้มีผู้มีสิทธิ และได้รับการประกาศชื่อเข้าร่วมจับสลาก จำนวนกว่า 2,323 คน จาก 89 สถาบันอุดมศึกษา เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 829 คน ตามอัตราว่างที่จัดสรรมาให้ แบ่งเป็น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 750 อัตรา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 79 อัตรา ซึ่งการจับสลากจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ณ ศูนย์การประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต โดยผู้มีสิทธิ์ทุกคนจะต้องมารายงานตัว พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนที่ห้อง The Deck ชั้น 1 ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ตั้งแต่เวลา 08.30-10.00 น.หากคนใดไม่มารายงานตัวตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวจะถือว่าสละสิทธิ์การเข้าร่วมการคัดเลือกทันที 

“การจับสลากจะคัดเลือกเป็นวิธีการที่โปร่งใส และเป็นธรรมมากที่สุด ซึ่งคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ก็ใช้วิธีการจับสลากในการลงปฏิบัติงานในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ดังนั้น จึงอยากให้นำวิธีนี้มาใช้กับครูด้วย เพื่อที่จะได้เป็นต้นแบบในการดำเนินการในปีต่อไป อีกทั้งวิธีการนี้จะช่วยทำให้มีเรื่องร้องเรียนน้อย แต่จะมีความพึงพอใจมาก อย่างไรก็ตาม ในวันจับสลากนั้น ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ จะเดินทางมามอบโอวาทให้แก่นิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการด้วย” ทพ.ญ.ศรีญาดา กล่าว

สพฐ.สรุปสอบกรณีพิเศษ”ว.12″ กว่า2พันคน

ที่มา  :    มติชน  วันที่  24 ต.ค. 2555

น.ศ.สควค.จี้บรรจุแต่งตั้ง 24 ต.ค. โอดตกงาน 7 เดือน เหตุติดสัญญาทุน สพฐ.สรุปคัดเลือก ‘ว.12’ กว่า 2 พันคน

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเปิดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษและเหตุจำเป็น ว 12 เช่น กลุ่มครูอัตราจ้าง ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนมาแล้ว 3 ปีว่า สพฐ.ได้ รวบรวมข้อมูลที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) รวม 225 เขตทั่วประเทศ ได้แจ้งความต้องการเปิดสอบบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วยแล้วจำนวน 2,211 ตำแหน่ง โดยมีความต้องการเปิดสอบใน

  • วิชาเอกภาษาอังกฤษมากที่สุด ได้แก่ 231 อัตรา

  • คณิตศาสตร์ 205 อัตรา ปฐมวัย 162 อัตรา

  • คอมพิวเตอร์ 144 อัตรา

  • สังคมศึกษา 136 อัตรา

  • ภาษาไทย 134 อัตรา

  • วิทยาศาสตร์ 127 อัตรา

  • พลศึกษา 119 อัตรา

  • ประถมศึกษา 94 อัตรา

  • ดนตรี 51 อัตรา

  • ที่เหลือเป็นวิชาอื่นๆ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คหกรรม แนะแนว ครูพยาบาล ภาษาจีน เป็นต้น

นายไกรกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิชาทั่วไปและความต้องการบรรจุโดยที่ยังไม่ได้มีการระบุสาขาวิชารวมเกือบ 400 อัตรา ที่อยู่ระหว่างการเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นผู้พิจารณาในการกำหนดกลุ่มวิชาทั่วไป เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มครูอัตราจ้างที่ไม่ได้จบการศึกษาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มาโดยตรงมีกลุ่มวิชาเอกที่จะสอบบรรจุคราวนี้ได้ ทั้งนี้สำหรับคำขอของเขตพื้นที่การศึกษาที่เสนอมา 225 เขตนั้น เขตพื้นที่การศึกษาที่ขอเปิดสอบบรรจุมาก อาทิ

  • สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) 135 อัตรา

  • สพป.ตาก เขต 2 จำนวน 28 อัตรา,

  • สพป.ระยอง เขต 1 จำนวน 20 อัตรา,

  • สพป.สงขลา เขต 3 จำนวน 24 อัตรา,

  • สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 25 อัตรา,

  • สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 23 อัตรา,

  • สพป.ชลบุรี เขต 3 จำนวน 23 อัตรา,

  • สพป.ภูเก็ต จำนวน 20 อัตรา,

  • สพป.ชุมพร เขต 1 จำนวน 21 อัตรา,

  • สพป.นราธิวาส เขต 1 จำนวน 12 อัตรา,

  • สพม.เขต 1 จำนวน 45 อัตรา,

  • สพม.เขต 2 จำนวน 48 อัตรา,

  • สพม.เขต 18 จำนวน 33 อัตรา,

  • สพม.เขต 6 จำนวน 26 อัตรา,

  • สพม.เขต 4 จำนวน 23 อัตรา เป็นต้น

“อัตราที่แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาได้แจ้งความต้องการมานั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ฉะนั้นคงต้องรอข้อมูลอีกครั้งหลังจากที่ ก.ค.ศ.ได้พิจารณาการเปิด สอบกลุ่มวิชาทั่วไปแล้ว ซึ่งหลังจากนั้น สพฐ.จะได้กำหนดปฏิทินการรับสมัครและ สอบอีกครั้งว่าจะมีการเปิดสอบในกลุ่มวิชาเอกใดบ้าง” ผอ.สพร.สพฐ.กล่าว

ด้าน น.ส.ศิริพร พันธ์เพ็ชร ตัวแทนนักศึกษาทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) กล่าวว่า ในวันที่ 24 ตุลาคม ตนและกลุ่มนักศึกษาทุนโครงการ สควค.และครูพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะไปยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อขอความชัดเจนในการบรรจุนักศึกษาทุน สควค.และครูพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่ได้รับการบรรจุรวมประมาณ 400 กว่าคน ซึ่งพวกตน ต้องการกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนว่าจะได้รับการบรรจุเมื่อไรและหากมีปัญหาอะไรก็อยากจะให้ชี้แจงทำความเข้าใจด้วย เนื่องจากตอนนี้ทุกคนเดือดร้อนมากเพราะต้องว่างงานมากว่า 7 เดือนแล้ว จะไปทำงานที่ไหนก็ไม่ได้ เนื่องจากติดสัญญาทุนดังกล่าว ทั้งนี้คนที่ยังไม่ได้รับการบรรจุรู้สึกเสียกำลังใจมากและไม่รู้ว่าจะไปพึ่งใคร

ครู 94,675เฮ อนุมัติ1,754ล.ชดเชยงด.

ที่มา  :   โลกวันนี้   วันที่ 24 ต.ค. 2555

ครม. อนุมัติงบ 1,754 ล้านบาท ชดเชยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 94,675 คน ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลย้อนหลัง 1 มกราคมที่ผ่านมา

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการปรับปรุงเงินเดือนชดเชยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเงินเดือนของภาครัฐ 15,000 บาท ในระดับปริญญาตรีตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีข้าราชการครูที่ได้รับการปรับครั้งนี้ 94,675 คน

ทั้งนี้ แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มที่เงินเดือนเกิน 15,000 บาทไม่มาก หรือเงินเดือนไม่ถึงและทำงานมานานแล้ว ประมาณ 70,000 กว่าคน และกลุ่มครูผู้ช่วยที่ได้รับการบรรจุใหม่ในปีนี้แต่ยังไม่ได้รับการปรับเงินเดือนประมาณ 20,000 คน โดยจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา และจะใช้งบประมาณจำนวน 1,754 ล้านบาท ซึ่งการปรับเงินเดือนดังกล่าวจะเป็นผลดีกับข้าราชการครูเป็นอย่างมาก





ด้านนางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า การปรับปรุงเงินเดือนชดเชยนี้แบ่งเป็น กรณีกลุ่มที่บรรจุใหม่ในตำแหน่งครูผู้ช่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา จะมีการปรับบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรองใหม่ดังนี้ ปริญญาเอก อัตราใหม่ 19,100 บาท อัตราเดิม 13,730 บาท ปริญญาโทที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี อัตราใหม่ 16,570 บาท อัตราเดิม 11,200 บาท

ปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า อัตราใหม่ 15,430 บาท อัตราเดิม 10,190 บาท ปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี อัตราใหม่ 15,430 บาท อัตราเดิม 10,190 บาท ปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี อัตราใหม่ 12,530 บาท อัตราเดิม 9,140 บาท ประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี อัตราใหม่ 12,530 บาท อัตราเดิม 9,140 บาท และปริญญาตรี 4 ปี อัตราใหม่ 11,920 บาท อัตราเดิม 8,340 บาท ซึ่งอัตราเงินเดือนใหม่ที่ปรับจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555

สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 70,000 กว่าคน ในส่วนของผู้ที่เงินเดือนเกือบถึง 15,000 บาท หรือเงินเดือนเกินไปไม่มากนั้นจะปรับชดเชยเงินเดือนให้ใหม่ตามเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เช่น กรณีคนที่จบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เงินเดือนปัจจุบัน 14,660 บาท จะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนใหม่ 1 ขั้นครึ่ง เป็นเงิน 1,140 บาท คิดเป็นเงินเดือนใหม่ 15,800 บาท ส่วนกรณีเงินเดือน 11,920 บาท จะได้ปรับ 3 ขั้น เป็นเงิน 1,850 บาท คิดเป็นเงินเดือนใหม่ 13,770 บาท และจะได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวอีก 2,230 บาท เป็นต้น

“อัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่นี้กรณีคนที่ได้ไม่ถึง 15,000 บาท จะได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวทุกคนเพื่อให้มีรายได้ครบ 15,000 บาทตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนอัตราเงินเดือนระดับปริญญาตรีที่จะให้ได้รับ 15,000 บาทนั้น จะปรับให้เต็มขั้นในปี 2557 ตามนโยบายของรัฐบาล” นางรัตนากล่าว

ขณะที่นายสุบรรณ ไชยศิริโชติ รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน โดยเป็นการปรับเฉพาะปีงบ ประมาณ 2555 ส่วนปีงบประมาณ 2556 จะต้องเสนอต่อไป

ไร้”ตั๋วครู”มีใบอนุญาตสอนสอบ”คผช”ได้

ที่มา  :  สยามรัฐ Submitted by kanvadee on Thu, 18/10/2012 – 16:20

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ  เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)  เมื่อเร็วๆนี้ ว่า  ที่ประชุมอนุมัติให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วยจากเดิมที่ ก.ค.ศ.ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งไว้ คือ 1.มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด และ 2.มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยปรับในข้อ 2 เป็น มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน

     ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันผู้ที่จบปริญญาตรีขึ้นไป มีหลากหลายสาขาที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เครื่องยนต์ เครื่องกล เป็นต้น ซึ่งผู้จบสาขาเหล่านี้ไม่ได้จบวิชาชีพครู แต่สถานศึกษามีความจำเป็นต้องใช้คนเก่งๆเข้ามาจัดการเรียนการสอน จึงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีใบอนุญาตปฏิบัติการสอนจากคุรุสภา แต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ได้มีสิทธิเข้ารับการสรรหาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งครูผู้ช่วยได้

     “ต่อไปนี้จะมาสอบเข้ารับราชการเป็นครูผู้ช่วย ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมาก่อนก็สามารถมาสอบบรรจุได้ แต่ต้องมีใบอนุญาตปฏิบัติการสอน และระหว่างปฏิบัติงานในตำแหน่งครูผู้ช่วย ก็ต้องทำให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่หากภายใน 2 ปียังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็จะไม่สามารถเป็นข้าราชการต่อได้ ซึ่งเชื่อว่าการเปิดโอกาสครั้งนี้จะแก้ไขปัญหาครูขาดแคลนและทำให้ได้คนเก่งๆ เข้ามาสอบได้ โดยเฉพาะในระดับอาชีวศึกษาที่ขาดแคลนมาก ทั้งครูผู้สอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ทั้งนี้ ให้มีผลใช้ดำเนินการในการสอบบรรจุครั้งต่อไป” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

ผุดเกณฑ์วิทยใหม่วิทย์คณิตอังกฤษก่อน

ที่มา  :   ข่าวสดรายวัน  วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555  ปีที่ 22  ฉบับที่ 7995  




นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)  กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า  สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา  มีมติเห็นชอบในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะสายผู้สอน  และสายนิเทศก์การศึกษาแนวใหม่  ซึ่งจะเน้นการประเมินสมรรถนะครู  สพฐ.กำลังเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยจะเชิญนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ มาหารือ  เพื่อทำหน้าที่ประเมินสมรรถนะครู เบื้องต้น  จะเริ่มจากสาขาที่มีความพร้อม ประกอบด้วย  วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  และภาษาอังกฤษ

เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า  ทั้งนี้ จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย  สำหรับด้านภาษาอังกฤษจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสอนและประเมินสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ  รวมไปถึงสถาบันภาษาของต่างประเทศที่อยู่ในไทย  เช่น  บริติช เคานซิล  และเอยูเอ  ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญการประเมินสมรรถนะดังกล่าว  จะครอบคลุมไปถึงด้านการศึกษาพิเศษที่จะเข้ามาระดมความคิดและเตรียมความพร้อม เพราะในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถนะครูจะครอบคลุมครูผู้สอนทั้งประถมศึกษา มัธยมศึกษา และการศึกษาพิเศษ  ทั้งนี้ การประชุมจะมีขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนต.ค. และภายในเดือนพ.ย.จะมีข้อสรุปและแผนดำเนินการ เพื่อให้การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด

มติกคศ.คผช. อกคศ.ข ย้ายรองผอข.

ที่มา  :  ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๒๗๖/๒๕๕๕   ผลประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๕ 

(ดรุวรรณ บุญมาก  บัลลังก์ โรหิตเสถียร  สรุป/รายงาน)

ศึกษาธิการ – ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)  ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๕

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ ร่วมประชุม โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๕  เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๕ เฉพาะประเด็น

๑) ขออนุมัติปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย   จากการที่ ก.ค.ศ.ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยกำหนดคุณสมบัติเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งไว้ คือ ๑) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ๒) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูนั้น ในปัจจุบันผู้ที่จบปริญญาตรีขึ้นไป มีหลากหลายสาขาที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เครื่องยนต์ เครื่องกล ฯลฯ ซึ่งผู้จบสาขาเหล่านี้ไม่ได้ จบวิชาชีพครู แต่หน่วยงานหรือสถานศึกษามีความจำเป็นต้องใช้บุคคลดังกล่าวเข้ามาจัดการ เรียนการสอนในสถานศึกษา จึงเห็นควรเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้ที่มีใบอนุญาตปฏิบัติการสอนจากคุรุสภา แต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้มีสิทธิเข้ารับการสรรหาเพื่อบรรจุ และแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย      ที่ประชุมพิจารณาแล้ว อนุมัติให้ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วยตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ.เสนอ โดยปรับคุณสมบัติเฉพาะข้อ ๒) จากเดิม “มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เป็น “มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน” 

๒)  อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา  นายจินดา ฝั้นคำอ้าย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๒ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๒ 

 

๓)  อนุมัติย้ายและแต่งตั้งรอง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จำนวนทั้งสิ้น ๒๐๔ ราย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป 

๔)  คุณสมบัติของอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ กรณีมีอายุครบ ๗๐ ปีบริบูรณ์  ว่าจะพ้นจากการเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญฯ หรือไม่ ที่ประชุมมีมติว่า อนุกรรมการฯ ต้องมีอายุไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ ดังนั้นหากมีอายุเกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ ต้องพ้นจากการเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๘ (๒) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ 

โอกาสนี้ รมว.ศธ.มอบดอกไม้แสดงความยินดีต่อนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธาน ก.ค.ศ. และนางรัตนา ศรีเหรัญ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ ก.ค.ศ.คนใหม่    ประเด็นอื่นๆ “ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี” จะเผยแพร่ในที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ พร้อมสื่อมวลชนทุกฉบับ

ว26/55ครู&บุคลากรไปราชการเลื่อนขั้นได้

ว26/2555 การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย

ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย

ที่มา  :  203.146.15.33

ขรก.เลื่อนขั้นไปราชการ

โทรทัศน์ครูช่วยพัฒนาวอนรัฐคืนจอ

             

ที่มา  :  ไทยรัฐ  วันที่  13 ตุลาคม 2555  : 05.45 o.

จากการสัมมนาเรื่อง โทรทัศน์ครูในงานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 5 หรือ EDUCA 2012 รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนา ในฐานะที่ปรึกษาโครงการโทรทัศน์ครู กล่าวว่า จากการลงพื้นที่เยี่ยมโรงเรียนต่างๆที่ใช้โทรทัศน์ครูเป็นสื่อในการพัฒนาการสอน พบว่าทุกโรงเรียนมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ครูมีความมั่นใจขึ้น ผลิตสื่อการสอนให้เด็กมีความสุขในการเรียน และโรงเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในขั้นดีมาก

นางพรรณี สหเสวียนต์ ผอ.ร.ร.ธีระวัธน์บำเพ็ญ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า โรงเรียนนำโทรทัศน์ครูมาใช้เต็มรูปแบบ ซึ่งพบว่าครูคิดเก่ง คิดหลากหลาย และสอนเก่งมากขึ้น เด็กสนุก ผู้สอนเองก็เป็นสุขด้วย ด้านนางพิศเพลิน สาระสันต์ รอง ผอ.ร.ร.เทศบาลวัดแม่นางปลื้ม จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า โรงเรียนนำโทรทัศน์ครูไปปรับการสอนของครูซึ่งพบว่าครูกว่า 60% เปลี่ยนแนวคิดใหม่กระตือรือร้นในการที่จะคิดนวัตกรรมใหม่ ขึ้นมาเป็นสื่อการสอน ส่วนเด็กก็ตั้งใจเรียน มีความสุข และการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนนางจุฑาภัค มีฉลาด ผอ.ร.ร.วิชากร กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เหตุอุทกภัยปีที่ผ่านมา เครือข่ายโทรทัศน์ครูก็ลงพื้นที่ช่วยโรงเรียนที่ประสบภัยอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง  ซึ่งตนและเพื่อนๆครูก็อยากให้ทางรัฐบาล ได้ดำเนินโครงการโทรทัศน์ครูต่อ เพื่อการพัฒนาครูไปสู่ครูมืออาชีพอย่างแท้จริง.

ราชกฤษฎีกาเงินเดือนลาช่วยภริยาคลอด

พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ

และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 (ประกาศใช้วันที่ 03/10/2555)

ครูเฮ “เงินตกเบิกวิทยฐานะ”

 ครูเฮ “เงินตกเบิกวิทยฐานะ” ถึงมือ “สพฐ.” แล้ว เตรียมเบิกจ่าย สิ้นเดือนนี้รับเงินเดือนใหม่กันเลย

ที่มา  :   ศูนย์ปฏิบัติการ สพฐ. สำนักนโยบายและแผน สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ กทม.

ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. ได้กล่าวผ่านจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ ฉบับที่ 7/2555 (08/10/2555) เกี่ยวกับเงินตกเบิกวิทยฐานะ ดังนี้ 

 เงินตกเบิกวิทยฐานะ

ขณะนี้งบประมาณสำหรับเบิกจ่ายตกเบิกวิทยฐานะมาถึง สพฐ.เรียบร้อยแล้ว ผมประสานไปยังเจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องเงินตกเบิกวิทยฐานะของ สพร.(คุณเขมจิรา) ทราบว่า ขณะนี้ สพร.ให้ทุกเขตพื้นที่ยืนยันข้อมูลไปยัง สพฐ.ว่ามีครูและบุคลากรทางการศึกษาท่านใดบ้างที่จะได้รับเงินตกเบิกในครั้งนี้และจะได้รับเท่าไร โดยให้ยืนยันไปที่ สพฐ.ภายในวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา จากนั้น สพร.ก็จะแจ้ง สนผ.ที่ผมดูแลอยู่ว่าจะใช้เงินเงินเท่าไร(สนผ.เตรียมไว้พร้อมแล้วครับ) และขออนุมัติท่านเลขาธิการ เมื่อท่านเลขาธิการอนุมัติ ก็จะแจ้งเขตพื้นที่ให้ทำเรื่องเบิกเงินให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าว จากนั้นจะเร็วจะช้าก็อยู่ที่เขตพื้นที่แล้วละครับ เอ้า เริ่มตรวจสอบตั้งแต่ขั้นแรกเลย เขตแจ้งยืนยันไปยัง สพฐ.หรือยังเอ่ย และสิ้นตุลาคมนี้เงินเดือนและค่าตอบแทนวิทยฐานะก็จะปรับเป็นปัจจุบัน คือ รับอัตราใหม่กัน

จม.เปิดผนึก7/55 เฮ!ต่อทุกครูอัตรา

ewt_news.php?nid=1022&filename=index

ที่มา  :  ศูนย์ปฏิบัติการ สพฐ. สำนักนโยบายและแผน สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ กทม.

ละครเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กไม่เคารพครู

ที่มา : เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม 2555 เวลา 10:08 น.

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. นายพฤหัส พหลกุลบุตร หัวหน้าโครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง กลุ่มมะขามป้อม มูลนิธิสื่อชาวบ้าน กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 นี้ โครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  จะเน้นกิจกรรมส่งเสริมความรู้ของครูทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เกี่ยวกับการใช้ละครเป็นสื่อการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครู อาจารย์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมให้ครูลดบทบาทจากการเป็นผู้ออกคำสั่ง หรือลงโทษมาเป็นผู้แนะแนวทางแทน เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาเด็กไม่เคารพ ไม่ฟังและไม่กล้าที่จะปรึกษาครู ส่วนหนึ่งมาจากเด็กมองว่าครูเป็นผู้ออกคำสั่ง ทำให้เด็กไม่กล้าคิด หรือแสดงความเห็น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างครูกับนักเรียนได้

นายพฤหัส กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมอีกส่วนจะเน้นการพัฒนาเครือข่ายผู้นำกิจกรรมในแต่ละภูมิภาคเพื่อให้เป็นแกนหลักขับเคลื่อนกิจกรรมในการใช้ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน และสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สำคัญกลุ่มมะขามป้อมและสสส. ยังเร่งผลักดันแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมละครฯ เช่น การใช้ชีวิตในโลกโซเชียลมีเดียปัญหาสื่อลามก ปัญหายาเสพติด ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม เพราะในอนาคตสังคมจะมากด้วยข้อมูล การเติบโตของเยาวชนต้องมีทักษะในการคิด ตัดสินใจ และต้องรู้จักเลือกรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง ดังนั้น บทบาทของครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันโลกทันเด็ก เพื่อทำหน้าที่ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้เท่าทันสังคมและสื่อต่างๆด้วย

“ช่วงที่ผ่านมาโครงการฯได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ความสำคัญกับเครือข่ายท้องถิ่นและร่วมพัฒนาครูให้กลายเป็นที่ปรึกษาของเด็กและเยาวชน เพื่อลดปัญหาสังคม โดยในเร็วๆนี้ ทางโครงการฯก็จะมีกิจกรรมใหญ่ๆอีกหลายงาน อาทิ กิจกรรมการอบรมครูที่มีอยู่ต่อเนื่องในแต่ละภูมิภาค มหกรรม Asian Circus Festival หรืองานแลกเปลี่ยนทักษะด้านละครเพื่อการเรียนรู้กับนานาชาติในวันที่ 14ต.ค.นี้ ที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหาด้านสังคมจากนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีงานสัมมนาวิชาการด้านละครกับการทำงานเยาวชน ในวันที่ 25ต.ค.ที่ ลานสานฝันทีเค พาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย”หัวหน้าโครงการละครฯกล่าว

จัดสรรครูจ้างรร.ขาดครูงบ56

ที่มา  :   202.143.174.11/personnel

ครูต้องเข้มแข็งไม่ท้อ:ครูดีครูเด่น

ที่มา : เดลินิวส์  วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2555  เวลา 00:00 น. (อรุณี วิทิพย์รอด)

และผู้หนึ่งที่อุทิศทั้งจิตวิญญาณ ทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ และ สติปัญญาให้กับโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา  มายาวนานเท่าอายุการรับราชการ คือ อาจารย์ยินดี วรรณมณี ครูต้นแบบ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ผู้ซึ่งได้รับรางวัลเข็มคุรุสภาสดุดี ประจำปี 2554 จากนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่สมควรได้รับการยกย่อง นอกจากนั้น อาจารย์ยินดี ยังมีรางวัลเป็นหลักประกันความสามารถมากมาย อาทิ ครูต้นแบบ ครูเกียรติยศ ครูแกนนำ และเป็นครูต้นแบบปฎิรูปการศึกษา เป็นต้น

ผลงานที่โดดเด่นของ อาจารย์ยินดี  คือ การสร้างรูปแบบการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ คือ ให้เด็กรู้จักคิด วางแผน ออกแบบ ตรวจสอบ แก้ไข และรายงานผล  มีกระบวนการสอนแบบประสบการณ์ที่เน้นปฎิบัติ ทำให้เด็กนักเรียนที่นี่ทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสถานที่จริง วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์จริง  เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนให้ดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้  โดยการปรับปรุงการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต  นำความรู้และนวัฒนกรรมใหม่ ๆ มาใช้กับการเรียนการสอน  รูปแบบการสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริงและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถาวร

อาจารย์ยินดี เล่าว่า  ส่วนตัวอยากเป็นครูมาตั้งแต่เด็กๆ จึงตั้งใจสอบเข้าเรียนครู แม้ในระดับต้นของการศึกษาจะจบสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง จากวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช  แต่ก็ได้เบนเข็มเข้าสู่รั้ววิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช  จนกระทั่งสอบบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ระดับ 1 ที่โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาเมื่อปี 2526  ทำหน้าที่สอนวิชาเกษตร ด้วยความที่เป็นผู้อยู่ในชนบท  มองเห็นว่า  นักเรียนที่จบออกไปหากไม่สามารถเดินต่อด้วยการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจะทำอย่างไรกับชีวิตต่อไป จึงเกิดแรงบันดาลใจที่อยากทำให้เด็กเหล่านี้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเรียน การใช้ชีวิต และหน้าที่การงาน จึงเริ่มต้นพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง  รวมถึงลงมือปฎิบัติตามแนวคิด  ทั้งพัฒนารูปแบบการสอน  จนเมื่อเห็นว่าน่าจะเป็นรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียนแล้ว จึงได้ยึดแนวทางมาโดยตลอดพร้อมกับปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงฯ

“ การได้รับรางวัลเป็นเพียงการเชิดชูและประกาศเกียรติเราเท่านั้น  แต่หลักของคนที่ยึดอาชีพครูต้องคำนึงตลอดเวลาคือ  การพัฒนาความรู้ในทุก ๆ ด้าน  มองว่า  เด็กคืออนาคตและความหวังของชาติ  ถ้าเรามุ่งมั่นปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น ต้องเข้มแข็งและต่อสู้ในตัวของตัวเอง ไม่ท้อไปกับการเปลี่ยนแปลง  ไม่หลงระเริงกับรางวัลที่ได้รับ  ผมเชื่อว่าการศึกษาของประเทศไทยจะรุดหน้าไปได้มาก” อ.ยินดี กล่าวฝาก

จัดสรรอัตราจ้าง”คืนครูให้นร”งบ56

ที่่มา  :  202.143.174.11

ชมรมครูรากหญ้ายื่นสุชาติดูแลตก”คศ3″

ที่มา  :  www.moe.go.th 

ชมรมครูรากหญ้าแห่งประเทศไทย จำนวน ๗ คน นำโดยนายร่วมมิตร์ ธรรมสิงห์สุข ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองกก อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เข้าพบศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยื่นคำแถลงการณ์และข้อเสนอแนะของครูรากหญ้าแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕

นายร่วมมิตร์ ธรรมสิงห์สุข กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ต้องรับผิดชอบการพัฒนาคน สร้างคนในชาติให้มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศได้ ที่สำคัญต้องต้องมีความรู้คู่คุณธรรม เป็นที่เข้าใจในวงการศึกษาว่าการพัฒนาคนนั้นต้องใช้เวลา ใช้กระบวนการและวิธีการที่ดี มีประสิทธิภาพจึงจะสามารถยกระดับความรู้และยกระดับจิตวิญญาณของผู้คนในชาติให้สูงขึ้นได้ตามเป้าหมาย แต่ปัญหาคือการดำเนินการนั้นต้องใช้เวลาและกระบวนการที่หลากหลาย และผลสรุปของการปฏิบัติดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะเป็นนามธรรม ไม่ใช่ ๑+๑=๒ ไม่ใช่ลงทุนไปหนึ่งล้านบาทแล้วจะได้สิ่งของกลับมาในราคาหนึ่งล้านบาท ในการดำเนินการทางการศึกษาจึงไม่อาจอ้างข้อมูลในเชิงตรรกะได้อย่างเต็มปากเต็มคำมากนัก 

ด้วยเหตุนี้ ศธ.จึงเป็นกระทรวงที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ คอลัมนิสต์ สื่อสารมวลชน และนักการเมืองมาตลอด เท่าที่ทราบรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งใบปลิว บัตรสนเท่ห์ เป็นกระทรวงที่ใช้รัฐมนตรีเปลืองที่สุด ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือความต่อเนื่องของนโยบาย แนวคิด วิสัยทัศน์ กระบวนการทำงานต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนตามรัฐมนตรีอยู่ตลอดเวลา กำลังจะตั้งหลักก็เปลี่ยนอีกแล้ว เฉพาะต้องเปลี่ยนป้ายตามนโยบายของรัฐมนตรีคนใหม่ โรงเรียนก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรแล้ว ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือคุณภาพทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ตกต่ำ กำลังเริ่มเดินก็ต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ ดังนั้นการศึกษาของคนไทยจึงขาดทิศทางที่ชัดเจน ขาดยุทธศาสตร์ที่จะก้าวเดินอย่างมั่นใจได้ 

นายร่วมมิตร์ กล่าวด้วยว่า “จึงต้องการเห็นกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่พัฒนาคน สร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นกระทรวงที่เป็นแม่แบบที่ดี สร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องให้กับสังคม ท่านรัฐมนตรีสุชาติ อาจจะไม่ดีเลิศประเสริฐศรี พูดจาไม่ไพเราะถูกหู แต่สิ่งนี้คือธรรมชาติของคนที่ เป็นตัวตนของคนคนหนึ่ง ซึ่งอาจไม่เหมือนใคร แต่เราเชื่อว่าท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะอยู่กระทรวงศึกษาธิการต่อไป เพราะท่านมีนโยบายที่สำคัญ และชัดเจน คือ การบริหารงานบุคคลที่สุจริต โปร่งใส โยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม สอบแข่งขันวัดความสามารถด้วยตนเอง ไร้เส้นสาย ไม่ฝากฝัง ไม่โกงเงินประชาชน ไม่โกงเงินนักเรียน และมีความยุติธรรม” 

ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะให้ รมว.ศธ.พิจารณาใน ๔ ประเด็นดังนี้

๑. ควรลดการประชุมอบรมสัมมนาลง เนื่องจากครูต้องทิ้งห้องเรียนมากเกินไป 

๒. ควรยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กอย่างจริงจัง เห็นเป็นรูปธรรม 

๓. ควรรีบดูแลและเยียวยาครูในกลุ่ม คศ.๓ ที่ขอเลื่อนหรือขอมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ที่ไม่ผ่านผลงานด้านที่ ๓ ซึ่งมีจำนวนประมาณ ๘,๐๐๐ คนอย่างเร่งด่วน ครูขาดขวัญกำลังใจมาก 

๔. ขอสนับสนุนรัฐบาลดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าวต่อไป แต่ควรปรับปรุงระบบการจัดการให้รัดกุมยิ่งขึ้น 

สำหรับข้อเสนอการดูแลและเยียวยาครูในกลุ่ม คศ.๒ ที่ขอเลื่อนหรือขอมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ที่ไม่ผ่านผลงานด้านที่ ๓ จำนวนประมาณ ๘,๐๐๐ คน โดยชมรมฯ ต้องการให้ครูกลุ่มนี้ได้รับการเยียวยาด้วยการให้ไปอบรม ๕ วัน และนำผลงานวิชาการไปปรับปรุงแก้ไขร่วมกับกรรมการอ่านผลงาน ในลักษณะเดียวกับการเรียนในระดับปริญญาโทจนกว่าจะผ่านเกณฑ์ตามที่กรรมการกำหนด ซึ่งในประเด็นนี้ก็จะรับไว้พิจารณา และจะนำไปหารือในที่ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งต่อไป รมว.ศธ. กล่าวแสดงความขอบคุณต่อข้อเสนอแนะต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการมีและเลื่อนวิทยฐานะของครูผู้สอนนั้น เป็นเรื่องที่ ศธ.กำลังดำเนินการในเวลานี้ เพื่อต้องการให้ครูเลื่อนวิทยฐานะโดยลดการจัดทำเอกสารด้วยงานวิจัยจำนวนมากๆ ลงไป และเพื่อไม่ต้องการให้ครูทิ้งห้องเรียน โดยการประเมินแบบใหม่จะประกอบด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วนที่สำคัญ คือ ๑) ประเมินสมรรถนะครู ทั้งสมรรถนะด้านการสอน และสมรรถนะทางวิชาการ ๒) ประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน หรือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยเฉพาะผลการสอบในห้องเรียน รวมทั้ง O-Net หรือ National Test ของนักเรียน จะเป็นตัวชี้วัดผลงานจากการสอนของครู ซึ่งจะช่วยให้ครูกลับคืนสู่ห้องเรียน ผลงานได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม และยังทำให้มีกำลังใจในการสอนมากยิ่งขึ้น การดำเนินการเช่นนี้จะก่อให้เกิดข้อดีในส่วนของนักเรียนด้วย คือ ทำให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนและการสอบต่างๆ มากขึ้น ทำให้เรียนในหลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ ส่วนครูก็ต้องสอนตามหลักสูตรของประเทศ และทำให้มีความตั้งใจในการสอนมากขึ้น

 

แถลงการณ์ ครูรากหญ้าแห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอสนับสนุนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช

กระทรวงศึกษาธิการ นับว่าเป็นกระทรวงที่สำคัญกระทรวงหนึ่งในระบบบริหารราชการของไทย เป็นกระทรวงที่ต้องรับผิดชอบการพัฒนาคน สร้างคนในชาติให้มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนานาอารยะประเทศได้ ที่สำคัญต้องต้องมีความรู้คู่คุณธรรม    เป็นที่เข้าใจในวงการศึกษาว่าการพัฒนาคนนั้นต้องใช้เวลา ใช้กระบวนการและวิธีการที่ดี มีประสิทธิภาพจึงจะสามารถยกระดับความรู้และยกระดับจิตวิญญาณของผู้คนในชาติให้สูงขึ้นได้ตามเป้าหมายที่ทุกฝ่ายต่างวาดหวังไว้

ปัญหาก็คือว่าการดำเนินการนั้นต้องใช้เวลา ต้องใช้กระบวนการที่หลากหลาย และผลสรุปของการปฏิบัติดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะเป็นนามธรรม ไม่ใช่ ๑+๑=๒ไม่ใช่ลงทุนไปหนึ่งล้านบาทแล้วจะได้สิ่งของกลับมาในราคาหนึ่งล้านบาท ในการดำเนินการทางการศึกษาจึงไม่อาจอ้างข้อมูลในเชิงตรรกะได้อย่างเต็มปากเต็มคำมากนัก ด้วยเหตุนี้กระมังที่ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ จึงเป็นกระทรวงที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ คอลัมนิสต์ สื่อสารมวลชน และนักการเมืองมาตลอด เท่าที่ทราบรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนแล้วคนเล่าที่ได้เข้ามา เป็นเจ้ากระทรวงนี้ ต่างก็มักถูกวิพากษ์ วิจารณ์ ทั้งใบปลิว บัตรสนเท่ห์สารพัด กระทรวงนี้จึงเป็นกระทรวงที่ใช้รัฐมนตรีเปลืองที่สุด ปัญหาที่ตามมาก็คือความต่อเนื่องของนโยบาย แนวคิด วิสัยทัศน์ กระบวนการทำงานต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนตามรัฐมนตรีอยู่ตลอดเวลา กำลังจะตั้งหลักก็เปลี่ยนอีกแล้ว เฉพาะต้องเปลี่ยนป้ายตามนโยบายของรัฐมนตรีคนใหม่ โรงเรียนก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรแล้ว ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือคุณภาพทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ตกต่ำ กำลังเริ่มเดินก็ต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ ดังนั้นการศึกษาของคนไทยจึงขาดทิศทางที่ชัดเจน ขาดยุทธศาสตร์ที่จะก้าวเดินอย่างมั่นใจได้

ท่านรัฐมนตรีสุชาติ ธาดาธำรงเวช ก็เช่นกัน แม้คำนำหน้าชื่อของท่านจะนำหน้าด้วยคำว่าศาสตราจารย์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ระดับมือโปรของประเทศไทย ก็ไม่มีข้อยกเว้นถูกโจมตีจากหลายๆ ฝ่ายเช่นเดียวกัน

เป็นที่ทราบกันดีว่าท่านรัฐมนตรีท่านนี้เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจามะนาวไม่มีน้ำ เมื่อ สส.ขอเข้าพบ และขออะไรต่อมิอะไรที่มิชอบมิควร ท่านก็ปฏิเสธ และในบางครั้งก็ไม่ยอมให้เข้าพบ เมื่อสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ท่านก็มักตอบอย่างแรงๆ จึงไม่สบอารมณ์ของสื่อมวลชนมากนัก      แต่พี่น้องที่เคารพครับ พวกเราเป็นครูรากหญ้าไม่มีเส้น ต้องการเห็นกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่พัฒนาคน สร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นกระทรวงที่เป็นแม่แบบที่ดี สร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องให้กับสังคม ท่านรัฐมนตรีสุชาติ อาจจะไม่ดีเลิศประเสริฐศรี พูดจาไม่ไพเราะถูกหู แต่สิ่งนี้คือธรรมชาติของคนที่ เป็นตัวตนของคนคนหนึ่ง ซึ่งอาจไม่เหมือนใคร แต่เราเชื่อว่าท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะอยู่กระทรวงศึกษาธิการต่อไป เพราะท่านมีนโยบายที่สำคัญ และชัดเจน คือ การบริหารงานบุคคลที่สุจริต โปร่งใส โยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม สอบแข่งขันวัดความสามารถด้วยตนเอง ไร้เส้นสาย ไม่ฝากฝัง ไม่โกงเงินประชาชน ไม่โกงเงินนักเรียน และมีความยุติธรรม ซึ่งแค่นโยบายนี้ก็ถือว่าท่านสอบผ่านแล้ว ที่สำคัญท่านไม่ได้ประกาศนโยบายที่ดูสวยหรูเท่านั้น แต่ท่านคือผู้ลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งอาจยังไม่ส่งผล 100% ในตอนนี้ แต่จะได้กี่เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่า “ดีกว่า ดีแต่พูด

เราชาวครูรากหญ้าผู้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จึงหวังจะเห็นแนวทาง การย้าย การเลื่อนขั้นเงินเดือน การเลื่อนและพิจารณาตำแหน่งที่อิงอยู่กับระบบคุณธรรม ส่งเสริมคนดีมีความรู้ มีความสามารถ ซึ่งที่ผ่านมาเราเห็นความตั้งใจและความพยายามของท่านทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเราชาวครูรากหญ้า ครูไม่มีเส้นจะได้มีโอกาสที่ทัดเทียมกับคนอื่นบ้าง

ขอวิงวอน สส.ฝ่ายรัฐบาล สื่อสารมวลชน ขอให้มุ่งมั่นสนับสนุนและส่งเสริมให้รัฐบาล และรัฐมนตรีได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ขออย่าได้มุ่งที่ผลประโยชน์หมู่คณะ และความถูกใจของคนเพียงบางกลุ่ม การวิพากษ์วิจารณ์ขอให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันเราขอสนับสนุนสื่อมวลชนให้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และขอขอบคุณที่ให้ความสนใจต่อความเคลื่อนไหวของกระทรวงศึกษาธิการอย่างต่อเนื่อง และหวังว่าท่านคือผู้ที่จะช่วยเราตรวจสอบการบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการต่อไปอย่างสร้างสรรค์ และขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้

ท้ายที่สุดนี้ เราชาวครูรากหญ้าขอสนับสนุน ท่านรัฐมนตรีสุชาติ ธาดาธำรงเวช ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกต่อไปเพื่อสารต่อนโยบาย 31 ประการ ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน สร้างกระทรวงศึกษาธิการไทย ให้ใสสะอาด สร้างความโปร่งใส ให้ปราศจากการทุจริตคอรัปชั่นที่ฝังรากลึกอยู่กระทรวงศึกษาธิการ และสังคมไทยมาอย่างยาวนานให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับข้าราชการ เยาวชน และประเทศชาติสืบต่อไป

ข้อเสนอแนะ

1. ควรลดการประชุมอบรมสัมมนาลง เนื่องจากครูต้องทิ้งห้องเรียนมากเกินไป
2. ควรยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กอย่างจริงจัง และเห็นเป็นรูปธรรมสักที
3. ควรรีบดูแลและเยียวยาครูในกลุ่ม คศ.2 ที่ขอเลื่อนหรือขอมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ที่ไม่ผ่านผลงานด้านที่ 3 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8,000 คน อย่างเร่งด่วน ครูขาดขวัญกำลังใจมาก
4. ขอสนับสนุนรัฐบาลดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าวต่อไป แต่ควรปรับปรุงระบบการจัดการให้รัดกุมยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณ
ชมรมครูรากหญ้าแห่งประเทศไทย

มติกคศ.โอเน็ตขยับวิทยฐานะครู

ที่มา :  เดลินิวส์  ฉบับวันที่  2  ตค. 2555   (กรอบบ่าย)

ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการเรื่องการให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะด้วยการประเมินสมรรถนะ ตามที่ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เสนอ โดยให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมสำหรับครูในสังกัดต่าง ๆ และให้เสนอที่ประชุมพิจารณาในครั้งต่อไป 

ด้าน ดร.ชินภัทร กล่าวว่า การประเมินแบบใหม่ประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ 1. ประเมินสมรรถนะครู ทั้งด้านการสอนและสมรรถนะทางวิชาการ เพราะถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินคุณภาพของครู และ 2. ประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน หรือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยดูจากคะแนนความก้าวหน้าของผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต หรือการทดสอบระดับชาติ เช่น อาจพิจารณาจากคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 เป็นจุดตัด ซึ่งเป็นคะแนนที่บ่งบอกให้ทราบว่าผู้เรียนคนนั้น ๆ อยู่ในระดับที่เท่าใด เมื่อเทียบจาก 100 คน หากกลุ่มโรงเรียนใดได้คะแนนกรีนโซน เช่น อาจจะมากกว่า 70 ขึ้นไป ครูควรได้รับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือเชี่ยวชาญได้ โดยอาจจะจัดทำเพียงสาระนิพนธ์ประมาณ 50 หน้า ซึ่งบ่งบอกถึงวิธีการทำให้เปอร์เซ็นไทล์นักเรียนสูงขึ้น ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ได้เปอร์เซ็นไทล์ ต่ำกว่า 50 ถือเป็นกลุ่มเรดโซน ที่ต้องได้รับการดูแลและพัฒนา ทั้งนี้ ระดับการพิจารณาสมรรถนะทางวิชาการ อาจจะพิจารณาให้ครูเลื่อนเป็นชำนาญการโดยดูจากค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50, ชำนาญการพิเศษ ได้ค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 60 และเชี่ยวชาญ ได้ค่าเปอร์เซ็นไทล์ ที่ 70 เป็นต้น.

อบจ.โคราชสอบครูผช่ 87อ.19ก.

อบจ.นครราชสีมา เปิดสอบครูผู้ช่วย จำนวน 87 อัตรา 19 กลุ่มวิชา

ที่มา  :  www.koratpao.go.th

คุรุสภาอนุมัติ37ม.สอนป.บัณฑิต

คุรุสภาอนุมัติ 37 มหาวิทยาลัยเปิดสอน ป.บัณฑิตครู

 

ที่มา  :  สยามรัฐ  by kanvadee on Sun, 30/09/2012 – 15:42

นายปริญญา ประจง ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา (บอร์ดคุรุสภา) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้เชิญบอร์ดคุรุสภาชุดเก่าประชุม (ปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 16) เมื่อวันที่ 28 ก.ย.55 เนื่องจากมีวาระเร่งด่วนที่ต้องพิจารณาหลายวาระ เช่น เรื่องการรับรองสถานศึกษาเพื่อเปิดหลักสูตร ป.บัณฑิต หรือการอนุญาตให้ครูต่างชาติ ที่ไม่จบระดับปริญญา สามารถรับใบอนุญาตประกอบการสอนภาษาต่างประเทศ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน เป็นต้น 

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้การรับรองสถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)วิชาชีพครู  37  แห่ง

ได้แก่  ม.รามคำแหง ม.ศิลปากร ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  มหาวิทยาลัยราชภัฎ มรภ.มหาสารคาม  มรภ.ร้อยเอ็ด  มรภ.ลำปาง  มรภ.กาญจนบุรี  มรภ.กำแพงเพชร มรภ.จันทรเกษม  มรภ.เชียงราย  มรภ.เชียงใหม่  มรภ.เทพสตรี มรภ.พระนคร  มรภ.พระนครศรีอยุธยา  มรภ.พิบูลสงคราม  มรภ.ภูเก็ต  มรภ.ราชนครินทร์  มรภ.รำไพพรรณี  มรภ.ศรีสะเกษ  มรภ.สกลนคร  มรภ.สงขลา  มรภ.สวนดุสิต  มรภ.สุราษฏร์ธานี  มรภ.สุรินทร์  มรภ.หมู่บ้านจอมบึง  มรภ.อุดรธานี  มรภ.นครปฐม มรภ.นครราชสีมา มรภ.นครศรีธรรมราช  มรภ.นครสรรค์  มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มรภ.อุบลราชธานี  ม.การจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น  ม.เซนต์จอห์น  และ ม.วงษ์ชวลิตกุล

และยังรับรองการ  เปิด  ป.บัณฑิตทางบริหารการศึกษา  อีก 9 แห่ง  ได้แก่  มรภ.นครราชสีมา  มรภ.นครสรรค์  มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มรภ.พิบูลสงคราม  มรภ.มหาสารคาม  มรภ.สุรินทร์  มรภ.อุดรธานี  ม.ธุรกิจบัณฑิตย์  และ ม.วงษ์ชวลิตกุล 

นอกจากนี้ ยังมีมติให้ น.ส.รจนา วงศ์ข้าหลวง ผอ.สำนักยกย่องเชิดชูเกียรติวิชาชีพ รักษาการเลขาธิการคุรุสภา  ภายหลังเลขาธิการคุรุสภา หมดวาระในวันที่ 16 ต.ค.2555 จนกว่าจะได้เลขาธิการคุรุสภา คนใหม่

จดหมายเปิดผนึก6/55

article_20120930004713

ที่มา  :    http://www.plan.obec.go.th

อนุฯอกคศ.ขยายเวลาผอ.เขต/สมรรถนะครู

ผลประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 10/2555 (28 ก.ย.2555)

 ที่มา :  www.moe.go.th 

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

  • อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.

  • อนุมัติขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  • เห็นชอบในหลักการ “การให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ ด้วยการประเมินสมรรถนะ”

  • ย้ายและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (รอ update)

 

 l.  อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ. 

     ที่ประชุมอนุมัติตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 
     1) นายสุวัฒน์ มั่งมีทรัพย์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 
     2) นายอาทิตย์ ไชยเสนา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 
     3) นายณัฐชัย มาเมือง ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดพลงไสว เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 
     4) นายบุญเชิด มณีเขียว ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านลาดหิน เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

 

 2.  อนุมัติขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

     ด้วย สพฐ.มีความประสงค์ขออนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) ที่ดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปเป็นเวลา 1  ปี จำนวน 10 ราย เนื่องจากเห็นว่าข้าราชการดังกล่าวมีภารกิจที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับขณะนี้ ก.ค.ศ.ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสับเปลี่ยนหน้าที่หรือย้าย ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ส่วนราชการดำเนินการ    ที่ประชุมพิจารณาแล้ว อนุมัติให้ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 10 ราย อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมต่อไปเป็นเวลา 1 ปี ดังนี้ 
1)   นายจำนง ยอดขำ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 
       2)  นายธวัชชัย พิกุลแก้ว สพป.กาญจนบุรี เขต 4 
       3)  นายวินัย ทองรัตน์ สพป.ตรัง เขต 1 
       4)  นายคนึง ย้อยเสริฐสุด สพป.ตรัง เขต 2 
       5)  นายสุรเสน ทั่งทอง สพป.พิจิตร เขต 1 
       6)  นายยงยุทธ ทรัพย์เจริญ สพป.สมุทรปราการ เขต 1 
       7)  นายสุรพล น้อยแสง สพป.สระแก้ว เขต  1 
       8)  นายศักดิ์ชัย บรรณสาร สพป.สระแก้ว เขต  2 
       9)  นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 
    10)  นายวิทยา ศักดา สพป.สุราษฎร์ธานี เขต  1 
หมายเหตุ   รายที่ 1  ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่ออีก  1 ปี ครั้งที่ 2   ส่วนรายอื่นๆ ครั้งที่  1 

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการ “การให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ ด้วยการประเมินสมรรถนะ  (TPK Model)”  ตามที่ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอต่อที่ประชุม โดยให้ ก.ค.ศ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สพฐ. สอศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมสำหรับครูสังกัดต่างๆ และให้เสนอที่ประชุมพิจารณาในครั้งต่อไป    เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า การประเมินแบบใหม่จะประกอบด้วยองค์ประกอบ  2 ส่วนที่สำคัญ คือ

1)  ประเมินสมรรถนะครู ทั้งสมรรถนะด้านการสอน และสมรรถนะทางวิชาการ   เพราะสองส่วนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินคุณภาพของครู ซึ่งการพัฒนาครูเพื่อนำไปสู่การเลื่อนวิทยฐานะแบบใหม่ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน  ที่จะช่วยให้เกิดพลังในการพัฒนาครูเป็นอย่างมาก คือ

  • Teacher Training Institute  หรือสถาบันการผลิตและพัฒนาครู เช่น คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์แห่งประเทศไทย สถาบันทางวิชาการ 8 กลุ่มสาระ หรือแม้แต่หน่วยงานสอนภาษา เช่น AUA British Council สถาบันขงจื่อ ฯลฯ ก็จะเข้ามามีบทบาทในการผลิตและพัฒนาครูอย่างมีคุณภาพมากขึ้น

  • Certifying Body  หรือสถาบันรับรองสมรรถนะครู เช่น สสวท. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ จะเป็นหน่วยงานสำคัญในการรับรองสมรรถนะครูผู้สอนในสาขาวิชาต่างๆ

  • Awarding Body หรือสำนักงาน ก.ค.ศ. จะเป็นหน่วยงานในการประเมินสมรรถนะครู 

     

2) ประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน หรือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน  โดยดูจากคะแนนความก้าวหน้าของผลการสอบ O-Net หรือ National Test เช่น อาจพิจารณาจากคะแนน Percentile ที่ 50 เป็นจุดตัด (เปอร์เซ็นไทล์ เป็นคะแนนที่บ่งบอกให้ทราบว่าผู้เรียนคนนั้นๆ อยู่ในระดับที่เท่าใดเมื่อเทียบจาก ๑๐๐ คน)  หากกลุ่มโรงเรียนใดได้คะแนน Green Zone  เช่น  อาจจะมากกว่า ๗๐ ขึ้นไป  ครูควรได้รับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือเชี่ยวชาญได้  โดยอาจจะจัดทำเพียงสาระนิพนธ์ประมาณ ๕๐ หน้า  ซึ่งบ่งบอกถึงวิธีการทำให้ Percentile นักเรียนสูงขึ้น  ในขณะเดี่ยวกันกลุ่มที่ได้ Percentile ต่ำกว่า ๕๐ ถือเป็นกลุ่ม Red Zone ที่ต้องได้รับการดูแลและพัฒนา  ตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณา เช่น ระดับการพิจารณาสมรรถนะทางวิชาการ (Academic Competency) อาจจะพิจารณาให้ครูเลื่อนเป็นชำนาญการโดยดูจากค่า Percentile ที่ ๕๐, ชำนาญการพิเศษ ได้ค่า Percentile ที่ ๖๐, เชี่ยวชาญ ได้ค่า Percentile ที่ ๗๐ เป็นต้น

 สำหรับประเด็นการย้าย ผอ.สพท.ทั่วประเทศ จะเผยแพร่พร้อมสื่อหนังสือพิมพ์ 

นวรัตน์ รามสูต
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน

การเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง:ครูดีครูเด่น

ที่มา : เดลินิวส์  วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2555  เวลา 00:00 น.

วันนี้เราจะไปคุยกับครูจิราพร เหลืองอิงคะสุต ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านดู่ หมู่ 5 ต.บ้านขาว อ.เมือง จ.อุดรธานี ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเป็นหัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และบุคลากรเครือข่ายการนิเทศกลุ่มโรงเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ครูจิราพรเป็นผู้มีความสามารถ อันเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติงาน เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของการเป็น “แม่พิมพ์” ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และด้วยการเรียนรู้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง  จึงทำให้ครูจิราพรมีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับรางวัลเกียรติยศต่าง ๆ มากมาย  ทั้งระดับกลุ่ม จังหวัด และระดับประเทศ  โดยเฉพาะรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น “รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติพระนามาภิไธยย่อ สธ.” ระดับประเทศ จากคุรุสภา  จากผลงานการค้นคว้าวิจัย  เพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียน ให้อ่านออก เขียนได้ โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่าน และเขียนสะกดคำ

ครูจิราพรเล่าว่า ในการเป็นครูสอนจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้ จะต้องมีการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ อยู่เสมอ จึงได้ร่วมกับคณะครูพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาการศึกษา ให้สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล สังคมไทย และผู้เรียนให้มีศักยภาพในการแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมโลก ซึ่งปัจจุบันสื่อมีความหลากหลาย จึงต้องเน้นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียน และเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน นำมาประยุกต์สอน ทั้งการพูด การดู การฟัง การอ่าน การเขียนวรรณคดี วรรณกรรม เพียงแต่ครูและนักเรียน ร่วมกันทำความเข้าใจว่า สิ่งใดจะเกิดประโยชน์ให้รู้จักเลือกบริโภค และใช้เทคนิคในการสอนโดยการเลือกกิจกรรมการเรียน ที่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้เรียนอยู่เสมอ โดยมีกิจกรรมที่หลากหลาย มีการกำหนดเนื้อหา สาระ การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด รวมทั้งกระบวนการคิด และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

“การเป็นครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจ ในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์อย่างเสมอหน้า และสร้างความเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจของนักเรียนทุกคน พร้อมกับให้ความเป็นกันเองกับนักเรียน ด้วยการใช้คำพูดในการพูดคุยซักถาม ช่วยแก้ปัญหา

ส่วนตัวและปัญหาทางบ้าน ในขณะเดียวกันตัวครูเองด้วยการศึกษาหาความรู้ จากการเข้าอบรมสัมมนา เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง” ครูจิราพร กล่าวฝาก.

พีระ วีระชัย

กคศ.ชวนส่งภาพยกย่องครูชิง2.5แสนบ.

 ก.ค.ศ.จัดประกวดภาพถ่ายยกย่องเชิดชูเกียรติครู 

ที่มา  :   ASTVผู้จัดการออนไลน์   วันที่  27 กันยายน 2555 18:42 น

วันนี้ (27 ก.ย.) นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) แถลงข่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดโครงการประกวดภาพถ่ายยกย่องเชิดชูเกียรติครู เพื่อเชิดชูเกียรติพร้อมทั้งเสริมสร้างขวัญกำลังใจและความภูมิใจในวิชาชีพให้กับผู้ประกอบวิชาชีพครู ด้วยการจัดกิจกรรมให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนส่งภาพถ่ายนำเสนอแนวคิดและมุมมองประทับใจที่มีต่อครูเข้าประกวดชิงรางวัลเงินสด โล่ และเกียรติบัตรมูลค่ากว่า 255,000 บาท ทั้งนี้ การประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทนักเรียน ประเภทนิสิต นักศึกษา และประเภทประชาชนทั่วไป ซึ่งกติกาในการส่งผลงานเข้าประกวดนั้น ภาพที่ส่งเขาประกวดจะถ่ายจากกล้องถ่ายรูปชนิดใดก็ได้ กรณีที่เป็นกล้องดิจิตอลต้องมีความละเอียด 5 ล้านพิกเซลขึ้นไป ไม่จำกัดเทคนิคของการถ่ายภาพ แต่ห้ามตัดต่อแต่งเติมรูปเดิมของภาพถ่าย ที่สำคัญ ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดนั้น จะต้องเป็นภาพที่ไม่เคยได้รับรางวัล หรือทำการประกวดมาก่อน และต้องสามารถสื่อสารตามหัวข้อที่กำหนด ซึ่งผู้ส่งภาพเข้าประกวดแต่ละรายสามารถส่งภาพถ่ายเข้าประกวดได้ไม่เกิน3 ภาพ และสามารถได้รับรางวัลสูงสุดเพียง 1 รางวัล ผู้เข้าประกวดประเภทนักเรียน และนิสิต นักศึกษา ต้องระบุชื่อสถานศึกษา และชื่ออาจารย์ผู้รับรอง 

       
       “ส่วนเงินนั้น แต่ละประเภทมีรางวัล 8 รางวัล คือ รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และรางวัลชมเชย 5 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร โดยมีกำหนดเปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม จนถึง 30 พฤศจิกายน 2555 และจะทำการประกาศผลในวันที่ 17 ธันวาคม 2555 นี้ สำหรับพิธีมอบรางวัลกำหนดจัดขึ้นในวันครูคือวันพุธที่ 16 มกราคม 2556 ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ” นางศิริพร กล่าว
       
       ผู้สนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ค.ศ.อาคารรัชมังคลาภิเษก ชั้น 5 กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 หรือส่ง ทางไปรษณีย์ที่ตู้ ปณ.32 ปณฝ.สาธุประดิษฐ์ กรุงเทพฯ 10124 สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.otepc.go.th หรือโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณประทวน มูลหล้า โทร.02-280-3226-7 หรือ คุณวัลลยา พรมงาม โทร.083-666-3696

สพฐ.ยกเลิกว4663/อัตราจ้างคืนครูงบ56

สพฐ.สั่งยกเลิกหนังสือฉบับนี้แล้ว

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 4691 เรื่อง ยกเลิกหนังสือ สพฐ.

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 4663 ลงวันที่ 27 ก.ย.2555

เรื่อง จัดสรรอัตราจ้างโครงการคืนครูให้นักเรียน ปีงบประมาณ 2556

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 4691 เรื่อง ยกเลิกหนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 4663 ลงวันที่ 27 ก.ย.2555 เรื่อง จัดสรรอัตราจ้างโครงการคืนครูให้นักเรียน ปีงบประมาณ 2556

 

กคศ.จัดตำแหน่ง/ระดับบุคลากรศึกษา


กคศ_จัดตำแหน่ง55

ที่มา  :  http://203.146.15.33

ขาดครู2แสน สพฐ.สอบพิเศษ1.2พันอ.

สพฐ.สอบบรรจุพิเศษ1.2พันอัตรา-ให้สิทธิ์เอกบริหาร-ท่องเที่ยว

ที่มา  :  สยามรัฐ  

  เมื่อวันที่ 26 ก.ย.55 นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ว่าที่ประชุมได้เห็นชอบการปรับเพิ่มกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติ่ม ในปีงบประมาณ2556-2559 ซึ่งได้มีการเสนอให้ปรับเพิ่มอัตรากำลังอีก จำนวน 2,940 อัตรา โดยเพิ่มในกรอบอัตราพนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไป ตำแหน่งครูผู้สอน จากกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้เดิม 20,183 อัตรา ทำให้มีกรอบอัตรากำลังกลุ่มดังกล่าว รวม 23,123 อัตรา จำแนกเป็นอัตรากำลังที่ทดแทนลูกจ้างประจำที่มีลักษณะที่ไม่ใช่งานจ้าง เหมาบริการ 425 อัตรา และทดแทนลูกจ้างชั่วคราว 22,698 อัตรา

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่จะมีข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัด สพฐ.เกษียณอายุราชการปกติ และเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือระหว่างปี 2555-2565 เป็นจำนวนมากนั้น เป็นเรื่องของนโยบายว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด สพฐ.ได้ประเมินพบว่าจะมีข้าราชการครูในสังกัดหาย ไปประมาณ 200,000 แสนกว่าคน จากจำนวนทั้งหมดในปัจจุบัน ประมาณ 4.3 แสนกว่าคน

“เรื่องนี้ถือเป็นวิกฤตการณ์ในอนาคต ที่จะต้องมีนโยบายว่าจะบริหารจัดการอย่างไร และคิดว่าคงไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบปกติอย่างที่เคยทำ โดยใช้วิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุข้าราชการครูเข้ามาทดแทน ต้องใช้ระยะเวลานาน กว่าที่ข้าราชการครูจะสั่งสมประสบการณ์จนกระทั่งมีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน” นายชินภัทร กล่าว

ด้านนายไกร เกษทัน ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สพฐ. กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.กำลังขอข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ว่าต้องการอัตรากำลังในสาขาวิชาเอกใด เพื่อพิจารณากำหนดการสอบคัดเลือกบุคคล เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย ในกรณีพิเศษและเหตุจำเป็น ว12 ประมาณ 1,200 อัตรา โดยผู้มีสิทธิ์สอบนั้นต้องเป็นกลุ่มครูอัตราจ้างสอนที่ปฏิบัติหน้าที่มาไม่น้อยกว่า 3 ปี และเปิดโอกาสให้ไปสอบคัดเลือกลงในเขตพื้นที่การศึกษาใดก็ได้ ที่ได้รับการจัดสรรอัตราสอบคราวนี้ ส่วนวิชาเอก ที่เปิดสอบนั้นจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาบริหารธุรกิจ บริหารการท่องเที่ยว ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีสิทธิ์สอบด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา มีการเรียกร้องจากกลุ่มนี้ที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในสถานศึกษา โดยปัจจุบันมีผู้ที่จบในสองสาขาวิชาเอกนี้ประมาณ 2 พันคน

“ส่วนการสอบนั้นจะใช้แนวทางเดียวกับการสอบครูผู้ช่วย ที่ผ่านมา คือจะมีข้อสอบส่วนกลางไปให้เขตพื้นที่ฯ ดำเนินการสอบในภาค ก และ ข  ทั้งนี้ สพฐ.จะเร่งทำรายละเอียดแล้วจะเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.เห็นชอบต่อไป และคาดว่าจะดำเนินการรับสมัครและสอบได้ในช่วงปิดภาคเรียน เดือน ต.ค.นี้” ผอ.สพร. กล่าว

สพฐ.ต่อจ้าง6.5หมื่นอ.งบ56

สพฐ.อนุมัติต่อสัญญาจ้าง 6.5 หมื่นอัตราปีงบประมาณ 2556

ที่มา  :  มติชนรายวัน  19 กันยายน  2555  และ   kruwandee.com

“นายอนันต์ ระงับทุกข์” รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ได้ทำหนังสือที่ ศธ. 04006/2048 แจ้งไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกเขต ว่า พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ที่จะประกาศ ใช้บังคับในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

 สพฐ.ได้ตั้งงบประมาณเพื่อจ้างบุคลากรปฏิบัติงานให้ราชการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2555 โดยจะจัดสรรงบประมาณปี 2556 ให้เขตพื้นที่การศึกษาต่อสัญญาจ้างรายเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป โดยการต่อสัญญาจ้างนี้ จะต่อสัญญาให้แก่บุคลากรปฏิบัติงานกลุ่มต่างๆ อาทิ ครูอัตราจ้าง บุคลากร พนักงาน ลูกจ้างชั่วคราว เป็นต้น จำนวน 65,103 อัตรา ประกอบด้วย 

 1.แผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษาผลผลิตผู้จบการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 14,305 อัตรา ได้แก่

      ครูรายเดือนแก้ปัญหาสถานศึกษาขาดแคลนครูขั้นวิกฤต 8,180 อัตรา

      นักการภารโรง 4,600 อัตรา
  บุคลากรที่ขาดแคลนบุคลากรในเขตที่ขาดแคลนบุคลากร 1,311 อัตรา
  ครูและบุคลากรในโรงเรียนตามพระราชดำริ 214 อัตรา

 2.โครงการครูคืนถิ่นให้นักเรียน 39,496 อัตรา ได้แก่

     ครูธุรการ 14,532 อัตรา

       นักการภารโรง 8,745 อัตรา
  ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ 15,860 อัตรา
  ครูดูแลนักเรียนประจำพักนอน 164 อัตรา
  เจ้าหน้าที่ ประจำห้องวิทยาศาสตร์ 195 อัตรา

 3.โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

       ครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3,972 อัตรา

 4.โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2,040 อัตรา ได้แก่

       วิทยากรสอนอิสลามศึกษา 1,340 อัตรา
  พนักงานรักษาความปลอดภัย 700 อัตรา และ

 5.โครงการพัฒนาครูทั้งระบบ จ้างครูสาขาขาดแคลน 5,290 อัตรา โดยให้เขตพื้นที่การศึกษาต่อสัญญาจ้างตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป

 นอกจากการต่อสัญญาจ้างดังกล่าวแล้ว เร็วๆ นี้ ยังมีข่าวดีตามมาอีก ที่ นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) ระบุว่าจะจัดสรรอัตราเกษียณอายุราชการปกติ ปีงบประมาณ 2554 บางส่วนที่คณะ กรรมการกำหนดเป้าหมายและกำลังคน ภาครัฐ (คปร.) คืนมาให้ สพฐ. 3,913 อัตรา นำไปสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ และเหตุจำเป็น ว12 เช่น กลุ่มพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำด้วย คาดว่าจะกำหนดอัตรากำลัง และปฏิทินการสอบคัดเลือกได้เร็วๆ นี้

 ส่วนเพื่อนครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ก็มีข่าวที่น่ายินดีเช่นกัน จากการออกมาเปิดเผยของ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ระบุว่า “นาย สุชาติ ธาดาธำรงเวช” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามในหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติเปลี่ยนสถานภาพลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานราชการสังกัด สอศ. 19,998 อัตรา ประกอบด้วย พนักงานราชการทั่วไปสายผู้สอน 8,595 อัตรา และพนักงานราชการทั่วไปสายสนับสนุน 11,403 อัตรา รวม 19,998 อัตรา

 “การขออนุมัติกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการดังกล่าว เป็นการขอเพิ่มเติมจากกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการรอบที่ 3 ปีงบประมาณ 2556-2559 ที่ได้ขออนุมัติไว้แล้ว 5,310 อัตรา เนื่องจากจำนวนกรอบอัตรากำลังที่ขอไป อยู่บนฐานอัตรากำลังพนักงานราชการเดิม รอบที่ 2 ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้นของสถานศึกษาในสังกัด สอศ.ทุกแห่ง และทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคนเป็นจำนวนมาก” นายชัยพฤกษ์กล่าวทิ้งท้าย   นับเป็นข่าวดีๆ ของเพื่อนครูในยามนี้

สอบ9ม.รับตั๋วครู สช.ชี้แก้ป.บัณฑิต

แนะสอบเทียบ9มาตรฐานรับตั๋วครู สช.ชี้ช่องแก้ป.บัณฑิตชะงัก-รอบอร์ดคุรุสภาใหม่

ที่มา  :  ข่าวสดออนไลน์  วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

 

นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีโครงการพัฒนามาตรฐานความรู้ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน รุ่นที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูในสถานศึกษาเอกชนที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สามารถเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครู เพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ และแก้ปัญหาครูเอกชนขาดแคลนนั้น สำหรับในรุ่นที่ 2 ทาง สช.ได้เสนอรายชื่อเพื่อให้คณะกรรมการคุรุสภาได้พิจารณาแล้ว แต่เนื่องจากคณะกรรมการคุรุสภาชุดปัจจุบันครบวาระไปแล้ว จึงต้องรอส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการคุรุสภาชุดใหม่ ที่ยังสรรหาไม่เสร็จพิจารณาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเห็นว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ทางสช.จึงเสนอให้ครูเอกชนที่เตรียมเข้าร่วมโครงการ ในรุ่นที่ 2 เข้ารับการอบรมกับสถาบันเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีก่อน เพื่อไม่ให้เสียเวลาในระหว่างรอแต่งตั้งบอร์ดคุรุสภาชุดใหม่

เลขาธิการ กช. กล่าวต่อว่า สถาบันเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี คือสถาบันกลางในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ที่จัดตั้งโดยคุรุสภา โดยครูเอกชนที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรของสถาบันเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จะต้องผ่านการอบรมทั้งสิ้น 60 ชั่วโมงต่อ 1 มาตรฐานความรู้ หากเคยผ่านการอบรมมาตรฐานไหนมาแล้วก็ไม่ต้องอบรมซ้ำ จากนั้น เมื่อครบทั้ง 9 มาตรฐานความรู้ที่กำหนด จึงเข้าสู่การทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด ถ้าผ่านได้รับใบอนุญาต ในทันที ซึ่งตนเห็นด้วยกับการอบรมเพื่อสอบเทียบมาตร ฐานความรู้ ในการขอรับใบอนุญาตนี้ เพราะ หากให้ครูเอกชนไปเรียน ป.บัณฑิต เหมือนโครงการ รุ่นที่ 1 ซึ่งต้องเสียเวลา 1 ปี และเสียค่าใช้จ่ายในการเรียน 30,000 บาท แต่การสอบมาตรฐานนี้อาจใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายน้อย กว่า จึงเหมาะสมกับครูเอกชนที่มีประสบการณ์สอนอยู่แล้ว

วิจัยชี้ผลิตครูคณิตหลักสูตรป.บัณฑิต4+1

วิจัยชี้ไทยผลิตครูคณิตฯ ควรใช้หลักสูตรป.บัณฑิต4+1แยกชัดประถม-มัธยม

ที่มา  :    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  14 กันยายน 2555 19:51 น.

สสวท.เสนอผลวิจัยผลิตครูคณิตศาสตร์ร่วมกับนานาชาติ TEDS-M เร่งไทยสร้างครูเก่ง ผลวิจัยชี้ ควรใช้หลักสูตรป.บัณฑิตในการผลิตครูคณิตศาสตร์ แยกระดับให้ชัดประถม-มัธยม และควรใช้ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีเข้าเรียนในหลักสูตรผลิตครู

ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า สสวท. ได้เข้าร่วมวิจัยกับสมาคม IEA (International Association for the Evaluation of Educational Achievement) เพื่อประเมินความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปีสุดท้ายของหลักสูตรผลิตครู ตามโครงการ TEDS-M (Teacher Educational Development Study-Mathematics) โดยมี 17 ประเทศที่เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ บอสวานา แคนาดา ชิลี จีน-ไทเป จอร์เจีย เยอรมนี มาเลเซีย นอร์เวย์ โอมาน ฟิสิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย สิงคโปร์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และสหรัฐอเมริกา โดยการวิจัยในประเทศไทยได้เก็บข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2551 จากนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ของหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตร ป.บัณฑิต จำนวน 1,312 คน ในมหาวิทยาลัย 45 แห่งที่ผลิตครูคณิตศาสตร์

ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี กล่าวต่อว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า หลักสูตรผลิตครูคณิตศาสตร์ของประเทศที่เข้าร่วมวิจัย แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1) หลักสูตรผลิตครูเพื่อสอนคณิตศาสตร์ได้ทุกชั้น เช่น หลักสูตรผลิตครูของประเทศไทย และ 2) หลักสูตรผลิตครูเพื่อสอนคณิตศาสตร์เฉพาะระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา เช่น หลักสูตรผลิตครูของจีน-ไทเป ซึ่งนักศึกษาของ จีน-ไทเป มีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านสูงเป็นอันดับหนึ่งทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

ผลการประเมินของประเทศไทยพบว่า 1) ในระดับประถมศึกษา นักศึกษาของหลักสูตรผลิตครูมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในเนื้อหาคณิตศาสตร์และความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ 2) ในระดับมัธยมศึกษา นักศึกษาของหลักสูตรผลิตครูมีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ 3) นักศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิต มีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านสูงกว่านักศึกษาหลักสูตร 5 ปี ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 4) ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาของนักศึกษามีผลโดยตรงต่อคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้าน

จากผลการประเมินชี้ให้เห็นว่า ควรใช้หลักสูตรป.บัณฑิตในการผลิตครูคณิตศาสตร์โดยให้นักศึกษาเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์) 4 ปีและเรียนวิชาการสอนคณิตศาสตร์อีก 1 ปี นอกจากนี้ควรใช้หลักสูตรผลิตครูเพื่อสอนคณิตศาสตร์ที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา เพื่อเตรียมครูให้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนของแต่ละระดับ และควรใช้ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีเข้าเรียนในหลักสูตรผลิตครู

ครูอัตรจ้างจี้1.5หมื่น บรรจุ พนง/ครูผช

ครูอัตราจ้างนับหมื่นจี้ศธ.ต่อสัญญา จ่ายเงินเดือน1.5หมื่น

บรรจุ′พนง.-ครูผช.′สพฐ.ชี้เตรียมงบ684ล.แล้ว

ที่มา  :  มติชนออนไลน์  วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 11:45:26 น.

เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอมรรัตน์ ทองสาดี ประธานชมรมครูอัตราจ้างแห่งประเทศไทย พร้อมตัวแทนครูอัตราจ้างจากโรงเรียนต่างๆ ในโครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 หรือ SP2 ประมาณ 100 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อขอให้ต่อสัญญาจ้างครูอัตราจ้างต่อไป โดยมีนายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และนายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) รับเรื่องแทน

นายอมรรัตน์กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ใช้งบประมาณตามโครงการ SP2 จ้างครูอัตราจ้างตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ 5,290 อัตรา และโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 3,323 อัตรา เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2552 และทำสัญญาจ้างปีต่อปี แต่เมื่อเร็วๆ นี้ สพฐ.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดที่ ศธ.04010/ว1156 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 และด่วนที่สุดที่ ศธ.04006/ว1036 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ให้จ้างครูอัตราจ้างถึงสิ้นเดือนกันยายน 2555 เท่านั้น เนื่องจากในปีงบประมาณ 2556 สพฐ.ไม่มีงบจ้างครูอัตราจ้างแล้ว จากหนังสือดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการศึกษา ทั้งกับโรงเรียนและนักเรียน เช่น ขาดแคลนบุคลากรด้านการสอน ฯลฯ ดังนั้น พวกตนจึงได้เดินทางเพื่อยื่นหนังสือและข้อเรียกร้องดังนี้ 1.ขอให้ต่อสัญญาจ้างให้กับครูอัตราจ้างทั้ง 2 โครงการทุกปี โดยไม่ตัดโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบออกจาก สพฐ.โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในกลุ่มของลูกจ้างชั่วคราว และต่อสัญญาจ้างโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้กับบุคลากรเดิม โดยไม่ต้องสอบคัดเลือกใหม่ และโอนการดูแลมาอยู่ที่ สพฐ. พร้อมกันนี้ขอให้ทำตามสัญญาที่นายไกรเคยให้ไว้กับกลุ่มลูกจ้างชั่วคราวเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา คือลูกจ้างทุกคนในโครงการจะได้ทำสัญญาจ้าง 3 ปีต่อครั้ง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน

นายอมรรัตน์กล่าวต่อว่า 2.ขอให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาให้ครูอัตราจ้างทั้ง 2 โครงการ อยู่ในหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด และให้ได้รับค่าครองชีพ 15,000 บาท ตามนโยบายรัฐบาล และได้รับค่าครองชีพย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป เหมือนลูกจ้างโครงการอื่นโดยไม่เลือกปฏิบัติ 3.ครูอัตราจ้างที่ทำงานครบ 3 ปี ขอบรรจุเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานราชการ เพื่อให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่การงาน และเป็นกำลังใจในการทำหน้าที่ และ 4.เมื่อเป็นพนักงานราชการครบ 5 ปี ขอบรรจุเข้ารับตำแหน่งครูผู้ช่วย เพื่อให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่การงาน เป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่

นายอนันต์กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้เตรียมงบ 684 ล้านบาท เพื่อจ้างครูอัตราจ้างจากทั้ง 2 โครงการแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ทำหนังสือแจ้งไปที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ต่างๆ ส่วนกรณีที่ขอให้ปรับเพิ่มเงินเดือนเป็น 15,000 บาท ตามนโยบายรัฐบาลนั้น ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) หาก ครม.เห็นชอบก็เบิกจ่ายได้ทัน เพราะงบดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 วาระแล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเรียกร้องที่ให้บรรจุครูอัตราจ้างทั้งหมด เข้าสู่ตำแหน่งพนักงานราชการตาม ว.12 นั้น คงต้องไปดูระเบียบของ ก.ค.ศ.ซึ่งทุกอย่างคงต้องเป็นไปตามระเบียบ โดย สพฐ.จะทำหนังสือสอบถามไปยัง ก.ค.ศ.ให้พิจารณาว่ากรณีดังกล่าวจะดำเนินการได้หรือไม่

กบข.8แสนเฮสิทธิบำนาญสูตรเดิม

สมาชิก กบข. 8 แสนคนเฮ!

มีสิทธิกลับไปรับบำนาญสูตรเดิมได้ หลังกระทวงคลังปล่อยให้เลือกอิสระ

                                                                                                  

ที่มา  :  มติชนออนไลน์  วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 10:00:41 น.

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาแนวทางให้สมาชิก กบข.เลือกว่าจะรับบำนาญตามสูตรการคำนวณบำนาญแบบเดิม หรือแบบ กบข. ว่ามีสมาชิกของ กบข.ประมาณ 8 แสนราย จากสมาชิกทั้งสิ้น 1.2 ล้านราย ที่สามารถเลือกได้ว่าจะกลับไปใช้การคำนวณสูตรบำนาญแบบเดิม เพราะเป็นการดึงเข้ามาอยู่ในระบบของ กบข.ที่ไม่ได้รับรู้เงื่อนไขที่ดีพอ ซึ่งเป็นการตั้งสมมติฐานผลตอบแทนจากการลงทุนของ กบข.ที่ 9% เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวอัตราดอกเบี้ยในตลาดประมาณ 16% แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลงจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ผลตอบแทนของ กบข.นับจากก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 เฉลี่ยเพียง 7% เท่านั้น

น.ส.โสภาวดีกล่าวต่อว่า กบข.เองพยายามที่จะหาผลตอบแทนให้สมาชิกมากขึ้น ด้วยการปรับพอร์ตการลงทุน ไปลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนที่สูง อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 5% เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลไทย ที่ผลตอบแทนอยู่ที่ 3% หรือการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนมากขึ้น แต่ก็ทำได้จำกัด เพราะกฎหมายกำหนดให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงไม่น้อยกว่า 60% ของพอร์ตการลงทุนรวม และลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ไม่เกิน 40% เท่านั้น เมื่อเทียบกับกองทุนเพื่อการเกษียณอายุของต่างประเทศแล้วจะเห็นว่าสัดส่วนกลับกันกับของไทย จึงมีแนวคิดที่จะแก้กฎหมายให้สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องอยู่ในระดับที่ปลอดภัยด้วย

“วิธีที่กระทรวงการคลังเลือก น่าจะเป็นวิธีที่จะทำให้สมาชิกมีโอกาสได้ทบทวนและยุติธรรมกับเขา ที่ก่อนหน้านั้นถูกหลอกเข้ามาอยู่ในระบบ กบข. เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่ภายหลังข้อมูลบางอย่างมากขึ้น จะได้พิจารณาความต้องการที่แท้จริงของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง โดยคนรับราชการเกิน 38 ปีขึ้นไป หากกลับไปใช้ระบบเดิม จะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะสูตรการคำนวณของ กบข.จะกำหนดเพดานอายุราชการไม่เกิน 35 ปี รวมถึงข้าราชการทหารที่จะมีเรื่องวันทวีคูณด้วย ส่วนคนที่รับราชการไม่นานและเหลืออายุราชการอีกมาก การอยู่ใน กบข.จะได้ประโยชน์มากกว่า” น.ส.โสภาวดีกล่าว

รักวัวให้ผูก รักลูกให้…

เสนอปรับสุภาษิต  รักวัวให้ผูก รักลูกให้…

ที่มา  :  ไทยรัฐออนไลน์  31 สค 2555 (05.30 น .)

ครูต้องไม่หยุดนิ่ง:ครูดีครูเด่น

ที่มา  :  เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2555 เวลา 00:00 น.   พลพิบูล เพ็งแจ่ม

แมท วอร์ม อัพ ถูกวิจัยพัฒนาขึ้นโดยคณะครูโรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา กรุงเทพฯ ซึ่งมี ครูพรรณี อุ่นละม้าย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากคุรุสภาให้ได้รับรางวัลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณสมควรได้รับการยกย่อง ประจำปี 2554 เป็นกำลังสำคัญอยู่เบื้องหลังการวิจัยพัฒนานวัตกรรมชิ้นนี้

ครูพรรณี เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันอายุ 33 ปี จบปริญญาตรี สาขาการสอนคณิตศาสตร์ จากคณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งครูพรรณี เล่าว่า โดยส่วนตัวสนใจด้านคณิตศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก และเห็นว่าการที่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบคณิตศาสตร์เพราะน่าเบื่อ ครูสอนแบบเดิม ๆ ให้ทำแบบฝึกหัดมาก ๆ ซ้ำไปซ้ำมา บวก ลบ คูณ หาร รูปแบบโจทย์ไม่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนล้าเกินไป อีกทั้งเด็กไทยมักจะอ่อนภาษาไทย ทำให้ตีความโจทย์ไม่แตก เมื่อเจอโจทย์ปัญหาที่ต้องตีความก่อนก็จะเป็นปัญหามาก จึงคิดอยากหาวิธีสอนคณิตศาสตร์แบบใหม่ที่ไม่น่าเบื่อ และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้รู้สึกสนุกกับการเรียน

“คณิตศาสตร์ดูเหมือนยาก แต่เราสอนให้เป็นเรื่องง่าย ๆ ได้ เพราะจริง ๆ แล้ว ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา เราทุกคนก็ต้องเจอกับการใช้ตัวเลขทั้งนั้น เช่น นาฬิกา ป้ายประชาสัมพันธ์ หรือแผ่นพับโฆษณาต่าง ๆ ดังนั้นจึงคิดนำตัวเลขที่อยู่ในชีวิตประจำวันมาตั้งเป็นโจทย์ให้เด็กแก้ปัญหา เพื่อให้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว ส่วนแมท วอร์ม อัพ ก็คือการอุ่นเครื่องให้เด็กก่อนเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบฝึกที่รวบรวมความรู้ที่จะใช้สำหรับการเรียนในวันนั้น ๆ มีทั้งการคิดเลขเร็ว โจทย์ปัญหา และคำถามท้าทายที่เป็นการดึงเชาว์ปัญญาของเด็กแต่ละคนออกมา แต่ทั้งหมดจะมีแค่  5-6 ข้อ ใช้เวลาทำแค่ 10 นาที เด็กจึงรู้สึกสนุก ไม่เครียด มีทัศนคติที่ดีกับการเรียนคณิตศาสตร์ และเฝ้ารอที่จะได้ทำแบบฝึกเหล่านี้ ซึ่งการให้เด็กได้ทำแบบฝึกทุกวัน แต่ทำแค่วันละน้อยๆ ก็คือการทบทวนความรู้ จนเกิดความเข้าใจที่แท้จริง และสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นความรู้จะไม่ยั่งยืน เรียนไปแล้วก็ลืม ซึ่งในงานวิจัยหลายแห่งก็ยืนยันว่า สิ่งที่เรียนมาถ้าไม่ได้ทบทวนอย่างต่อเนื่อง แค่ 2 สัปดาห์ก็ลืมแล้ว” ครูพรรณี อธิบาย

ครูพรรณี ยังบอกอีกว่า ครูต้องสังเกตผู้เรียนเป็นรายคน เพราะเด็กมีความหลากหลาย คนไหนเก่งก็ส่งเสริม ส่วนคนที่อ่อนก็ไม่ทิ้ง เหมือนหมอรักษาคนไข้ก็ต้องดูเป็นราย ๆ จะรักษาเหมือนกันไม่ได้ อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจริงในสังคมที่มีความหลากหลาย รู้จักมีน้ำใจช่วยเหลือกัน เพราะเราจะเก่งอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้  นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือ ครูจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก และมีการทำวิจัยพัฒนาปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง ห้ามหยุดนิ่ง เพราะโลกยังพัฒนาเปลี่ยนไป แล้วครูจะไม่ยอมพัฒนาตัวเองได้อย่างไร.

ขรก.เฮ บช.กลางเตรียมประกันโรคร้าย

ที่มา :  มติชนออนไลน์

    นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า เพื่อดูแลข้าราชการในการรักษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากได้ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชนร่วมทำการรักษา ยอมรับว่า โรงพยาบาลภาคเอกชนในเขตกรุงเทพฯ อาจมีปัญหาขาดทุน แต่ในต่างจังหวัดยังได้กำไรเพื่อดูแลการรักษาโรคภัยร้ายแรง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ และโรคต่าง ๆ  จึงได้เจรจากับ บริษัท ทิพยประกันภัยจำกัด และเครือข่าย ทำการประกันภัยโรคร้ายแรงให้ข้าราชการ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันแทน แม้เบี้ยประกันจะสูง แต่ก็ต้องหาทางช่วยเหลือ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ หากชัดเจนบริษัทประกันภัยต้องว่าระบบเชื่อโยงข้อมูลกับโรงพยาบาลนับพันล้านบาท

    สำหรับนโยบายของรัฐบาลในการรัดกุมค่าเบิกจ่ายค่ายาที่แพงเกินความจำเป็นต่อโรคนั้น หลังจากประสานกับโรงพยาบาลต่าง ๆ แล้ว ได้ทำให้ยอดการเบิกค่ายาที่จำเป็นและเหมาะสมกับโรคที่รักษา ด้วยการใช้ยาราคาถูกแต่ได้ผลการรักษาเช่นเดียวกัน ได้ทำให้ยอดการเบิกจ่ายลดลงในงบประมาณปี 55  ปัจจุบันมียอดการเบิกจ่ายแล้วประมาณ 51,000 ล้านบาท จากยอดที่ของบประมาณไว้ทั้งหมด 61,800 ล้านบาท สำหรับในปี 56 ขอเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลไว้ 60,000 ล้านบาท

  จาก สำนักข่าวไทย

ครูสอบวัดผลผ่านไม่ถึงครึ่งแห่ซ่อม

ที่มา  :  เดลินิวส์  วันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2555  เวลา 17:22 น.

วันนี้ (7ส.ค.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากที่ สทศ.เปิดรับสมัครทดสอบสมรรถนะครูทางด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 วันที่  18 ส.ค.นี้ มีผู้สมัคร   8,528 คน ผู้สมัครเพิ่มขึ้นมากจากสมัครสอบครั้งที่ 1 ที่มีเพียง  2,302 คน  ดังนั้น สทศ.เปิดสนามสอบเพิ่มขึ้นในจังหวัดที่มีผู้สมัครสอบมากกว่า 300 คน  จากเดิมมีสนามสอบ 4 จังหวัดหลัก คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และกรุงเทพมหานคร  เพิ่มอีก 8 จังหวัด นครสวรรค์ นครพนม มุกดาหาร นครราชสีมา สระแก้ว  ฉะเชิงเทรา  หนองคายและบุรีรัมย์  เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าสอบมากที่สุด

รศ.ดร.สัมพันธ์  กล่าวต่อไปว่า  จากจำนวนครูที่เข้าสอบมากขึ้น  แสดงว่าครูให้ความสนใจในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน  รวมทั้งยังรองรับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในการนำคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษา จะต้องทำให้การวัดและประเมินการเรียนของนักเรียนมีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วประเทศด้วย 

สำหรับผลการทดสอบสมรรถนะครูทางด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 1พบว่ามีครูที่ทำคะแนนผ่านเกณฑ์เกินร้อยละ  60 จำนวน 743 คน หรือแค่ 30 % จากผู้เข้าสอบ  2,055 คน   ขณะที่ช่วงคะแนนสอบที่ครูทำได้มากที่สุดคือ30.01-40.00 จำนวน   1,185  คน  หรือร้อยละ  57.66  ของผู้เข้าสอบ ดังนั้นครูจะต้องปรับการวัดและประเมินผลการเรียน โดยนำผลสอบโอเน็ตของนักเรียนมาช่วยปรับปรุงจุดเด่นจุดด้อยการเรียนการสอนด้วย  เพื่อให้การวัดและประเมินผลการเรียนมีมาตรฐานมากขึ้น.

สพฐ.อบรมTablet“ครูป้า”ไม่ทัน

สพฐ.อบรมครูใช้แท็บเล็ตเจอปัญหา “ครูป้า” ไม่ทันเทคโนโลยี

 ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 สิงหาคม 2555 15:19 น


แท็บเล็ตล็อต 3 กว่า 6 หมื่นเครื่องถึงไทยเข้าคิวรอตรวจสอบแล้ว ส่วนล็อต 2 เริ่มจัดส่งตั้งแต่ต้นสัปดาห์ขณะที่ล็อต 3 คาดจัดส่งได้สัปดาห์ถัดไป ขณะที่ ผอ.สทร.รับการอบรมมีปัญหาล่าช้า เพราะครู ป.1 ส่วนใหญ่เป็น ครูป้า อาจจะล่าช้าในการเรียนรู้เทคโนโลยี ยันเร่งมืออบรมเตรียมพร้อมให้ครูสอนเด็กด้วยแท็บเล็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ คาด อบรมแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัทพัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้จัดส่งเครื่องแท็บเล็ตตามโครงการ One Tablet per Child ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ทั่วประเทศ ได้ทยอยจัดส่งเครื่องแท็บเล็ต ล็อต 2 จำนวน 73,000 เครื่อง ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจรับของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที ) แล้ว โดยเริ่มจัดส่งตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ไปยังจังหวัดลำดับถัดไป ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครนายก และ นครปฐม

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม ได้มีการจัดส่งแท็บเล็ตไปแล้วกว่า 100,000 เครื่อง จากยอดสั่งซื้อทั้งหมด ประมาณ 800,000 เครื่อง โดยจัดส่งล็อตแรกไป 55,000 เครื่อง ล็อต 2 จำนวน 73,000 เครื่อง และขณะนี้ แท็บเล็ต ล็อต 3 อีกจำนวน 63,000 เครื่อง มาถึงไทยแล้ว กำลังรอเข้าสู่การตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจรับของไอซีที คาดว่า จะตรวจสอบเสร็จภายในสัปดาห์นี้ และเริ่มจัดส่งได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งจังหวัดที่จะได้รับแท็บเล็ต ล็อต 3 ได้แก่ นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี นราธิวาส น่าน บึงกาฬ และบุรีรัมย์

ด้านนายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนแทน (สทร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้เร่งจัดส่งเครื่องแท็บเล็ตเต็มที่ คาดว่า จะกระจายเครื่องแทบเล็ตในระยะ 1 จำนวน 380,000 เครื่อง ได้ครบถึงจังหวัดอุบลราชธานี ภายในเดือนตุลาคมนี้ ทั้งนี้ จะช้าหรือเร็วก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาการสุ่มตรวจเครื่องแท็บเล็ต และการตรวจรับของไอซีทีด้วย ส่วนการเตรียมพร้อมให้ครูนั้น ขณะนี้วิทยากรแกนนำขั้นเทพที่ สพฐ.ได้ทำการอบรมไปแล้วนั้น กำลังเริ่มอบรมศึกษานิเทศก์ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดพิษณุโลก ส่วนจังหวัดที่ได้อบรมศึกษานิเทศก์ไปแล้วนั้น จะเริ่มทยอยอบรมครู ป.1 จนครบทุกโรงเรียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้

“การอบรมครู สพฐ.ยังไม่พบปัญหาใหญ่ เนื่องจากเข้าใจว่า ครูชั้น ป.1 ส่วนใหญ่เป็นครูอาวุโส หรือ ครูป้า การเรียนรู้เทคโนโลยีย่อมมีความล่าช้าอยู่บาง แต่ก็เชื่อว่า ครูที่ผ่านการอบรมแล้ว จะสามารถนำเครื่องแท็บเล็ตไปใช้สอนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะช้าไปบ้าง ส่วนปัญหาที่พบหลังจากการจัดอบรมครู คือ เรื่องของงบประมาณที่ สพฐ.ได้จัดสรรจำนวน 170 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเฉพาะอบรมครูในสังกัด สพฐ.เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สพฐ.ต้องอบรมครูทุกสังกัดตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่ง สพฐ.ได้จัดอบรมให้ แต่ค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นต้นสังกัดนั้นๆ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง” นายเอนก กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม :   ASTVผู้จัดการออนไลน์

ครูต้องทำให้ดีที่สุด:ครูดีครูเด่น

ที่มา : เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2555 เวลา 00:00 น. ชาญฤทธิ์ มณีจอม

“ครู” ถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ระบบการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า หากประเทศใดมี “ครู” ที่มีคุณภาพ ย่อมเป็นเครื่องการันตีได้ถึงแนวโน้มในการมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ… เหมือนอย่าง ครูบุญโชติ แสงคำ วัย 58 ปี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านม่วงสามปี อ.ลี้ จ.ลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป)ลำพูน เขต 2 ที่ถือได้ว่าเป็นครูที่มีคุณภาพน่ายกย่องอีกท่านหนึ่ง และเป็น 1 ในจำนวน 15 ครูดีทั่วประเทศ ที่ได้รับเกียรติบัตร และเข็มเชิดชูเกียรติ รางวัลคุรุสภา ประจำปีการศึกษา 2554 ในฐานะ “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของอาชีพ ประเภท ครูผู้สอน” ระดับประเทศ จากนายกรัฐมนตรี เมื่อวันครู 16 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา
ปัจจุบันครูบุญโชติ ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะดนตรี ซึ่งครูบุญโชติ ให้แง่คิดของการจัดการเรียนการสอนไว้ว่า การจัดการเรียนการสอน ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพ โดยผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล สนับสนุนให้มีการปฏิบัติจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดความนิยมและนิสัยในการปฏิบัติ จนกลายเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียน

” จากการที่นักเรียนได้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรีปฏิบัติ ยังทำให้นักเรียนมีสมาธิเกิดปัญญาในการศึกษาเรียนรู้ในกลุ่มสาระอื่น ๆ ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนั้นยังทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนบุคลิกลักษณะนิสัยเป็นคนดี เป็นผู้มีความสุภาพเรียนเรียบร้อย มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส มีความสุขสนุกสนาน มีความอ่อนน้อมอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ และผู้อาวุโสกว่า มีความกตัญญูต่อครูอาจารย์ และจะเป็นคนดีของสังคมประเทศชาติต่อไป” ครูบุญโชติ กล่าว

และด้วยบ้านพักอาศัยที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน ครูบุญโชติ จึงใช้เวลาว่าง และวันหยุดประจำสัปดาห์ สละเวลามาช่วยฝึกสอนซ่อมเสริมให้กับเด็กนักเรียน ทั้งด้านดนตรี และด้านวิชาการ โดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ จนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทุกกลุ่มสาระที่ได้รับมอบหมายมีคะแนนอยู่ในระดับร้อยละ 75 ขึ้นไปทุกสาระ ซึ่งสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ และสูงกว่าระดับประเทศ จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กนักเรียน และบุคคลทั่วไปในละแวกนั้น จนเป็นที่กล่าวถึง และที่สำคัญที่ครูบุญโชติเน้นย้ำก็คือ การมีความเป็นอยู่โดยยึดถือศีล 5 เป็นหลักและปฏิบัติตนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด

ครูบุญโชติยังได้รับเกียรติบัตรและรางวัลอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น รางวัลครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัล เหรียญทอง, เหรียญเงิน,เหรียญทองแดง ระดับภาคเหนือ “การแข่งขันเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยจำนวน 9 ประเภท และประเภทวงดนตรี จำนวน 2 วง รางวัลครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัล เหรียญทอง, เหรียญเงิน,เหรียญทองแดง ระดับภาคเหนือ “การแข่งขันเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยจำนวน 5 ประเภท และประเภทวงดนตรี จำนวน 1 วง รางวัลครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัล ระดับภาคเหนือ ระดับดีเด่นการแข่งขันวงดนตรีพื้นบ้านล้านนาภาคเหนือ เป็นต้น รางวัลเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูบุญโชติ แสงคำ ครูโรงเรียนบ้านม่วงสามปี จังหวัดลำพูน ผู้ถือคติที่ว่า “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”

ครูเฮ ไฟเขียวร่างงด.สูงกว่าขั้นต่ำ

ครม. ไฟเขียวร่าง ก.ค.ศ.เงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำ

ที่มา  :  โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 17:15 น.

        ครม.ไฟเขียวร่าง กฎ ก.ค.ศ.เงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูง พร้อมมอบ ก.ค.ศ.แก้ไขเกณฑ์สรรหา ผอ./รอง ผอ.โดยเฉพาะประเด็นผู้ขึ้นบัญชีถูกตัดสิทธิ์เมื่อไม่ได้บรรจุใน ร.ร.ในเลือกไว้

 ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการ ร่าง กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือขั้นต่ำกว่า หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่..) พ.ศ….ตามที่ ศธ.เสนอ ซึ่งจะมีผลให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับขวัญและกำลังใจและสิทธิประโยชน์อย่างเป็นธรรมเสมอภาคกันยิ่งขึ้น ดังนี้

        1.  ครูผู้ช่วยเมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้วจะได้รับการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.1 ตามที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด โดยไม่ต้องใช้ตารางเทียบขั้นเงินเดือนเหมือนเดิม

        2.  กรณีครูผู้ช่วยเมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยแล้วให้ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยได้ โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนอันดับ คศ.1 ในขั้น หรืออัตราเงินเดือนเท่าเดิม รวมทั้งกรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาทด้วย เช่น ข้าราชการครูวุฒิปริญญาเอกเมื่อเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยหรือ อัตรา 17,690 บาท เมื่อมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ไปรับเงินเดือนอันดับ คศ.1 ในอัตรา 17,910 บาท และเลื่อนสูงต่อไปได้

        3.  ครูที่เงินเดือนถึงขึ้นสูงของอันดับ คศ.2 และ คศ.3 หรือ คศ.4 จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนต่อไปได้โดยให้ไปรับเงินเดือนในอันดับถัดไปได้อีกหนึ่งอันดับ ซึ่งในขั้นตอนต่อไปจะต้องเร่งส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป

ขณะนี้ได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาการปรับแก้หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการสถานศึกษาใหม่ โดยสาระหลักที่จะให้ปรับแก้นั้นจะเป็นในเรื่องของการเลือกบรรจุและแต่งตั้ง จะต้องปรับแก้ไม่ให้ผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้ถูกตัดสิทธิ์หากไม่สามารถที่จะเลือกบรรจุแต่งตั้งในโรงเรียนที่เลือกไว้ได้ เนื่องจากการสอบขึ้นบัญชีนี้จะมีระยะเวลา 2 ปี ดังนั้น จึงไม่ควรจะมาตัดสิทธิ์กันเพียงวันเดียว เพราะสาเหตุที่ผู้สอบขึ้นบัญชีไม่สามารถเลือกโรงเรียนที่จะบรรจุได้ ซึ่งเรื่องนี้คาดว่าน่าจะต้องใช้เวลาในการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อรักษา สิทธิ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สอบขึ้นบัญชีได้

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า การเสนอให้ปรับแก้หลักเกณฑ์ครั้งนี้เป็นเพราะมีผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้ในคราวนี้ ได้ร้องเรียนมาที่ตนเพื่อขอให้ปรับหลักเกณฑ์ในคราวนี้ แต่ก็ได้แจ้งไปว่าไม่สามารถปรับในครั้งนี้ ดังนั้น ตนจึงให้ปรับหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งในครั้งต่อไป ส่วนกรณีมีผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้ไปฟ้องร้องศาลปกครองกลางเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ ก.ค.ศ.หรือ สพฐ.ไม่ให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีในเขตพื้นที่การศึกษาของผู้ ที่สอบขึ้นบัญชีได้ แต่ไม่ได้เลือกสถานศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้งและขอให้ออกคำสั่งให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชการครูฯนั้นเป็นสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ แต่ ศธ.คงจะไปพิจารณาช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ดังนั้น คงต้องรอดูหากศาลปกครองกลางจะมีคำพิพากษาออกมาเช่นไร 

ครม.ปล่อยเลื่อนขั้นสูงอัตโนมัติ

ขอขอบคุณข่าวจาก  :  เว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

ครม.ปล่อยเลื่อนขั้นสูงอัตโนมัติ

วันที่ 3 ก.ค.55 นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่ ) พ.ศ.(…)  ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ซึ่งจะมีผลให้ข้าราชการครูฯ ได้รับขวัญกำลังใจและสิทธิประโยชน์อย่างเป็นธรรมเสมอภาคกันยิ่งขึ้น ดังนี้

1.ครูผู้ช่วย เมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.1 ตามที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด โดยไม่ต้องใช้ตารางเทียบขั้นเงินเดือน 

     2.กรณีครูผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยแล้ว ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วย โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนอันดับ คศ.1 ในขั้นหรืออัตราเงินเดือนเท่าเดิม รวมทั้งกรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือน แรกบรรจุวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาทด้วย เช่น ข้าราชการครู วุฒิปริญญาเอก เมื่อเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วย หรืออัตรา 17,690 บาท เมื่อมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน ให้ไปรับเงินเดือนอันดับ คศ.1ในอัตรา 17,910 บาท และเลื่อนสูงต่อไปได้

     และ 3.ครูที่เงินเดือนถึงขึ้นสูงของอันดับ คศ.2 และ คศ.3 หรือ คศ.4 จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนต่อไปได้ โดยให้ไปรับเงินเดือนในอันดับถัดไปได้อีกหนึ่งอันดับ ซึ่ง ก.ค.ศ.จะเร่งส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาต่อไป

ครม.อนุมัติร่างกฎ ก.ค.ศ.ฯ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำฯ

 ที่มา  :  moe.go.th

                  สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ๒ เรื่อง คือ อนุมัติร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ  


        ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

        สาระสำคัญของร่างกฎ ก.ค.ศ.

  • กำหนดให้การถูกลดขั้นเงินเดือน การเปลี่ยนตำแหน่ง ย้าย หรือโอน ได้รับเงินเดือนในขั้นอัตราตามที่กำหนด (ร่างข้อ ๑ และ ๒)

  • กำหนดให้ครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนในขั้นหรืออัตราตามที่กำหนด (ร่างข้อ ๓)

  • กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและวิทยฐานะสูงขึ้น ได้รับเงินเดือนในขั้นหรืออัตราตามที่กำหนด (ร่างข้อ ๔)

  • กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับปริญญาประกาศนียบัตร คุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่ง ก.ค.ศ. รับรอง หรือได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิ เพิ่มขึ้น หรือสูงขึ้น ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นหรืออัตราเงินเดือนตามที่กำหนด (ร่างข้อ ๕ และ ๖)

  • กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับเงินเดือนของตำแหน่งวิทยฐานะในอันดับ คศ.๒ คศ.๓ หรือ คศ.๔ ตลอดจนผู้ที่ต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุและได้รับเงินเดือนในอันดับดังกล่าวได้รับเงินเดือนในอันดับตามที่กำหนด (ร่างข้อ ๗)

  • กำหนดให้หากมีกรณีอื่นที่ต่างไปจากที่กฎ ก.ค.ศ.นี้กำหนดให้ ก.ค.ศ.เป็นผู้วินิจฉัย (ร่างข้อ ๘)

  • กำหนดบทเฉพาะกาล ที่เกี่ยวกับการได้รับเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม และผู้ที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ คศ.๓ หรือ คศ.๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ ตลอดจนการใดๆ ที่ดำเนินการตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ.๒๕๕๓ หรือที่เคยดำเนินการตามกฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าว (ร่างข้อ ๙-๑๒)